หยุด! 11 นิสัยแย่ๆ เร่งสร้าง Soft Skill ก่อนลูกน้องหนีหมด

18 มิ.ย. 2565 | 15:24 น.
อัปเดตล่าสุด :18 มิ.ย. 2565 | 22:37 น.
1.0 k

ต่อให้เก่งขั้นเทพ แต่มีพฤติกรรมแย่ๆ คนรอบข้างต้องถอยหนี เพราะไม่ใช่แค่ “ความสามารถ” เท่านั้นที่เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสำเร็จให้องค์กรหรือธุรกิจ ยิ่งตำแหน่งสูงมากขึ้นเท่าไหร่ "ความเก่งอาจไม่สำคัญเท่าทักษะ"

การพัฒนา Soft skill ในการบริหารคน บริหารงาน และการทำงานเป็นทีม สำคัญมากๆ สำหรับผู้นำ และการทำงานเป็นทีมในองค์กร จากบทความ 11 bad personality traits that can turn people off and hurt your career ของ Deep Patel  ได้ระบุ 11 นิสัยแย่ๆ ที่เป็นพิษต่อเพื่อนร่วมงาน และเป็น "ภัย" ต่อการทำธุรกิจ คุณมีนิสัยแบบนั้นอยู่ในตัวเองหรือเปล่า

 

  • โมโหร้าย ความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ (Low emotional intelligence.)

ต่อให้คุณมี IQ ฉลาดล้ำโลก ก็ไม่สามารถอยู่รอดในสนามธุรกิจได้ ถ้าขาด EQ (Emotional Quotient) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคุณมี "ความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ" นั่นหมายความว่า คุณไม่มีทักษะการสื่อสาร เป็นคนไม่น่าเชื่อถือ คนรอบข้างขาดความเชื่อมั่นในตัวคุณ และยังส่งผลเสียต่อธุรกิจ เพราะทักษะเหล่านี้ จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารกับทุกคน 

 

คนที่มี EQ ดีจะสามารถเข้าอกเข้าใจคนอื่น รู้ทันอารมณ์ของตัวเอง รวมถึงรับรู้ถึงอารมณ์และความต้องการของคนรอบข้างได้อย่างดี ทำให้คุณรู้วิธีที่จะสร้างแรงจูงใจให้เพื่อนร่วมงานหรือพนักงานทำในสิ่งที่คุณต้องการ ยิ่งมี EQ ดี ก็ยิ่งทำให้การสร้างทีมเวิร์คเป็นไปได้อย่างใจ 

  • แขวะมันทุกเรื่อง (Chronic sarcasm)

น่าเบื่อมาก หากเจอพวกชอบจิกกัดไปเรื่อย ใช่ มันอาจเป็นความบันเทิงเล็กๆ ในออฟฟิศ แต่ถ้ามากเกินไป หรือล้ำเส้น คุณก็อาจกลายเป็นตัวน่ารังเกียจ การสร้างเรื่องตลกจากข้อด้อยของคนอื่น ไม่ได้ทำให้คุณดูฉลาด แต่จะทำให้คุณดูแย่มากขึ้นเรื่อยๆ

  • ไม่รู้จัก “ความยืดหยุ่น” (Inflexibility)

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเปิดใจรับข้อเสนอแนะ มันคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในธุรกิจได้  

 

ใช่! การวางแผนและการจัดตารางเวลาเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ แต่คุณต้องรู้จักชั่งน้ำหนักความสำคัญ ไม่ใช่ยึดติดอยู่กับหลักการที่ตั้งไว้เสมอไป บางครั้งบริษัทที่ประสบความสำเร็จ อาจต้องใช้ความยืดหยุ่นและค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ทำงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ไม่ใช่ทำตัวเป็นปัญหา

  • สัญญาไม่เป็นสัญญา (Not following through) 

คำสัญญาที่ล้มเหลวและความเป็นผู้นำที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ความน่าเชื่อถือของคุณลดลง หากคุณต้องการรักษาอิทธิพลของตนเองและได้รับความเคารพจากผู้อื่น คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะทำตามที่พูด 

  • ใจร้อน (Impatience)

ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจมักขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา การรู้ว่าเมื่อใดควรก้าวกระโดดและเมื่อใดควรยืนหยัด วิเคราะห์และพิจารณาทางเลือกของคุณ การตัดสินใจเหล่านี้จำเป็นต้องมีความสามารถในการถอยหลังและมีความอดทนในการไตร่ตรองในภาพรวม

 

  • ควบคุมมันซะทุกอย่าง (Being a control freak)

คุรเป็นมนุษย์บ้าอำนวาจ ต้องควบคุมด้วยตัวเองซะทุกอย่างหรือเปล่า หากทุกอย่างเป็นไปได้อย่างใจที่คุณคิด นั่นคงเป็นโลกที่สุดแสนจะเพอร์เฟคของคุณ แต่ไม่ใช่สำหรับคนอื่น และนั่นก็ไม่ใช่ความสำเร็จขององค์กร 

การเป็นคนที่คลั่งไคล้การควบคุม ขัดขวางความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว คุณจะถูกครอบงำโดยความรู้สึกของตัวเองโดยสมบูรณ์แบบจะเกิดอะไรขึ้นถ้าแทนที่จะพยายามควบคุมทุกอย่าง แต่คุณยอมเปิดใจรับสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ลองดูและดูว่าการปล่อยวางจะปลดปล่อยได้แค่ไหน

 

  • ไม่รู้จัก ความเห็นอกเห็นใจ (Lacking empathy) 

การมองไม่เห็นหัวคนอื่น ดูถูกความคิดคนอื่น โดยขาดความเห็นอกเห็นใจ ทัศนคติเหล่านี้ เป็นพิษและคุณกำลังทำให้บริษัทเสียหาย ความเห็นถากถางดูถูกทำให้คุณดูเป็นฝ่ายรับและโกรธ การเอาใจใส่ช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกเชื่อมโยงและเข้าใจ 

นิสัยปากเสีย ทำให้คุณดูเป็นคนเกรี้ยวกราดไม่น่าเข้าใกล้ ในทางกลับกัน การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักเข้าอกเข้าใจคนอื่น จะดึงดูดให้ใครๆ ก็อยากเข้าหาคุณ เพราะมันทำให้พวกเขารู้สึกดี รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และยังสามารถสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้ด้วย

  • ใจคอคับแคบ (Being closed-minded)

ผู้นำประเภทนี้ เชื่อว่าพวกเขามีคำตอบสำหรับทุกสิ่ง ดังนั้น เขาจึงยากจะฟังสิ่งที่คนอื่นพูด 

คุณจะเป็นผู้นำที่ดีขึ้นและธุรกิจของคุณจะเติบโต หากรู้จักเปิดใจรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับอัตตาของคุณ แต่จะเปลี่ยนมุมมองทางธุรกิจทั้งหมดของคุณได้ อย่าให้ทัศนคติที่ดื้อรั้นหรือใจแคบ ขัดขวางไม่ให้คุณได้ยินแนวคิดนอกกรอบและการตัดสินใจที่ดีกว่า 
 

  • หงุดหงิด บ่นไปเรื่อย (Constant complaining) 

ไม่มีใครชอบคนมองโลกในแง่ร้าย หากคุณบ่นอยู่เสมอ คุณไม่เพียงแค่ทำให้คนอื่นผิดหวัง คุณยังทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้คนอื่นหมดพลังในการสร้างงานที่ดีไปด้วย 

หากคุณใช้พลังทั้งหมดไปกับบ่นและคร่ำครวญ คุณกำลังเสริมสร้างทัศนคติเชิงลบในตัวเองและขับไล่คนอื่นออกไป สังเกตว่า คุณพูดอะไรในแง่ลบบ่อยแค่ไหน  หากคุณไม่สามารถสนทนาโดยไม่บ่นได้ แสดงว่าคุณมีปัญหา

 

  • ใช้อำนาจควบคุม (Managing with fear)

การบริหารจัดการ ควบคุมคนอื่นด้วยความกลัว จะสร้างวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนความสงสัยและความโกรธ ซึ่งไม่มีใครอยากยอมรับในความผิดพลาด แสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ ทั้งหมดนี้ เพราะกลัวว่าจะถูกปฏิเสธหรือถูกตำหนิ 

บริษัทที่ประสบความสำเร็จมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีต่อสุขภาพ มีความสุข และสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสร้างงานที่ดีและสามารถสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งได้

หากมีผู้นำ หรือหัวหน้าแบบนี้ องค์กรไม่มีทางสร้างอะไรดีๆ หรือประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้อย่างแน่นอน

  • หลงตัวเองสุดขั้ว (Narcissism)

คนหลงตัวเองเป็นพิษต่อธุรกิจอย่างมาก เพราะอัตตาที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้พวกเขาไม่ฟังคนอื่น ใครก็ตามที่ขัดแย้งกับพวกเขา พวกเขาไม่ต้องการได้ยิน สิ่งที่คนอื่นพูด หากไม่สอดคล้องกับความคิดของพวกคุณ คุณจะปฏิเสธทันที และอาจทำร้ายเขาโดยไร้เหตุผลที่ถูกต้อง 

แนวทางที่ยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่เพียงปฏิเสธโอกาสในการแบ่งปันแนวคิดที่อาจสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเท่านั้น คุณยังทำร้ายองค์กรของคุณและทำให้ทุกคนที่คุณทำงานด้วยผิดหวัง ลองนึกถึงคนอื่นบ้าง อาชีพและธุรกิจของคุณจะรุ่งโรจน์


เจ้าของกิจการ หรือผู้นำทั้งหลาย อย่าคิดว่าเป็นเจ้าของหรือเป็นหัวหน้าแล้วจะทำอะไรก็ได้ ลองทบทวนตัวเอง และเปลี่ยนเสียก่อนที่ธุรกิจพังคามือ เพราะไม่ยอมเลิกพฤติกรรมแย่ๆ 

การจะบริหารงานให้สำเร็จ นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง สลิงชอท กรุ๊ป  ได้เขียนบทความ ยกตัวอย่างความสำเร็จของทีมวอลเล่ย์หญิงไทย ที่เอาชนะทีมวอลเลย์บอลหญิงของจีน ที่มีดีกรีเป็นที่ 2 ของโลก เป็นเรื่องที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับสาวๆ นักตบทีมไทย
 
แต่อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้!
 
สาวนักตบลูกยางทีมชาติไทยสามารถเอาชนะทีมชาติจีนไปได้ 3:2 เซ็ท แบบลุ้นกันทุกเม็ด พวกเธอมีอะไรที่พวกเราเรียนรู้ได้บ้าง
 

  1. ความไว้เนื้อเชื่อใจและการทำงานเป็นทีม : นักกีฬาทุกคนไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน สามารถรับส่งบอลได้อย่างสบายใจ ไม่หวาดระแวงว่าใครจะทำพลาด และถึงแม้จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง ก็ไม่มีใครโทษใคร
  2.  การปรับแก้ระหว่างทาง : แน่นนอนเกมการเเข่งขัน ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาย พวกเธอช่วยกันคิดหาทางออกและแก้ปัญหาระหว่างทาง ทีละเปราะๆ แบบไม่ย่อท้อ
  3.  การวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตัวบุคคล : โค้ชสลับสับเปลี่ยตัวผู้เล่นได้อย่างเหมาะสม ไม่ดันทุรังใช้ตัวหลักที่เล่นดีแต่เหนื่อยล้าแบบไม่ลืมหูลืมตา ในทางกลับกันก็ให้ความมั่นใจกับน้องๆ มือใหม่ ที่ดูเหมือนเกร็งๆ ให้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
  4.  การมีสติและความรอบคอบ : สังเกตได้ว่านักกีฬาทุกคนเล่นกันอย่างใจเย็น รอบคอบ แม้จะตามหลังอยู่ 2:1 เซ็ต ก็ยังคงเดินหน้าเล่นตามแผนที่วางไว้ เล่นไปยิ้มไป เล่นไปหัวเราะไป จนฝั่งตรงข้ามสงสัยว่า “ทำไมอารมณ์ดีจัง”
  5.  ผู้นำที่คอยส่งเสริมทีม : โค้ชคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้เล่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สร้างความกดดันเพิ่มเติมให้กับทีม แนะนำทางออกแทนการตำหนิที่เล่นผิดพลาด

 
ชีวิตการทำงาน ก็ไม่ต่างกัน ความสำเร็จของทีมงาน เกิดขึ้นได้ด้วยการเลียนแบบความสำเร็จของทีมนักกีฬา