20 สิงหาคมของทุกปี เป็น วันยุงโลก (World Mosquito Day) เราทราบกันดีว่า ยุง ไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับมนุษย์เท่านั้น แต่ ยุง ยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ด้วย บางโรคส่งผลกระทบทำให้เสียชีวิตได้ เมื่อยุงกัดคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อจะนำพาเชื้อโรคระหว่างที่ดูดเลือดและส่งต่อเชื้อไปสู่คนอื่นได้โดยการกัด สำหรับโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง นั้น ก็มีหลายโรคที่ต้องระวัง
มียุงก้นปล่องเป็นพาหนะนำโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ซีดลง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ถ้าเป็นชนิดรุนแรงอาจมีอาการไตวาย ตับอักเสบ ปอดผิดปกติ และอาจมีความผิดปกติทางสมองที่เรียกว่า มาลาเรียขึ้นสมองได้
โรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ หลังจากที่ถูกกัดประมาณ 3-8 วันจะเริ่มมีอาการของไข้เลือดออกเกิดขึ้น อาทิ มีไข้สูงเกือบตลอดเวลา, มีผื่นแดงหรือจุดเลือดออกตามตัว, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดกระดูก, เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา
หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดเลือดออกผิดปกติ และอาการช็อกได้ส่วนมากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดออกมากผิดปกติหรือมีอาการช็อก ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อซ้ำเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อซ้ำจะมีอาการรุนแรงมากกว่า
อาการระยะแรกหลังจากรับเชื้อ ผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ดี อาการแรกที่พบ มักจะมีไข้ ปวดศีรษะ ในรายที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณมาก รับเชื้อเข้าไปในเด็กเล็ก โอกาสที่จะมีอาการทางสมองก็มากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลุกลี้ลุกลน สับสน
ถ้ามีอาการอักเสบของเนื้อสมองมากขึ้น การทำงานของสมอง อาจจะมีอาการชักได้ และอาจจะมีอาการซึมลงหรือไม่รู้สติ บางรายอาจจะมีความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่พอ
มียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค หลังจากได้รับเชื้อไวรัสซิกาสามารถแสดงอาการได้เร็วที่สุด 3 วันและช้าที่สุด 12 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงประมาณ 4-7 วัน อาการที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในช่วง 2-5 วันแรก
อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ มักเป็นไข้ต่ำ ๆ มีผื่นแดงตามบริเวณลำตัวและแขนขา รวมถึงอาจมีผื่นที่ฝ่ามือได้ เยื่อบุตาอักเสบ(ตาแดงแต่ไม่มีขี้ตา) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะอาจมีต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง โดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง บางรายอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งพบได้ราว 24:100,000 โดย 80 % ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาจะไม่แสดงอาการก็ได้
เมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายที่มีเชื้อชิคุนกุนยาไวรัสกัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 2 – 5 วัน เมื่อครบระยะฟักตัว ผู้ป่วยจะมีอาการแสดง เริ่มจากมีไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว
ผิวหนังจะมีสีแดงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในชั้นผิวหนังมีการขยายตัว, มีผื่นแดงเล็กๆ ตามตัว หรือบางครั้งอาจมีผื่นแดงเล็ก ๆ ตามแขนขาได้ มีอาการปวดตามข้อ และมักมีอาการปวดหลายข้อพร้อมกัน
นอกจากนี้อาจมีอาการป่วยซึ่งไม่ใช่อาการเฉพาะของการติดเชื้อชิคุนกุนยา เช่น ปวดศีรษะ เยื่อบุตาแดง รวมทั้งอาการอื่น ๆ เช่น อาการปวดข้อ ปวดศีรษะ นอนไม่ค่อยหลับ อาการเหล่านี้อาจคงอยู่ยาวนานในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน ส่วนอาการปวดข้อ มักจะเป็นอยู่นาน บางรายอาจนานถึง 2 ปี
โรคเท้าช้าง ที่พบในไทย เกิดจากเชื้อพยาธิตัวกลม 2 ชนิด ชนิดที่1 คือ วูเชอรีเรีย แบนครอฟไต (Wuchereria bancrofti) พบในจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดกับพม่า ชนิดที่ 2 ชื่อ บรูเกีย มาลาไย (Brugia malayi) พบทางภาคใต้ของไทย
ทั้ง 2 ชนิดมียุงเป็นพาหะนำโรคโดยพยาธิจะไปเจริญเติบโตในระบบน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอุดตันเรื้อรัง ส่งผลให้แขน ขา หรืออวัยวะเพศบวมโต
1. สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หรือหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงชุม
2. นอนในมุ้งที่สามารถป้องกันยุงเข้ามากัดได้ หรือ มุ้งชุบสารกำจัดแมลง
3. คว่ำภาชนะหรือสิ่งของที่มีน้ำขัง และปิดฝาภาชนะที่ใช้เก็บน้ำเพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ของยุงเนื่องจากยุงจะวางไข่ในน้ำ
4. ติดมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน
5. ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลการกำจัดยุงให้กับบ้านและชุมชน
6. ใช้ยาจุดกันยุงหรือเครื่องดักยุงเวลากลางคืน
7. ฉีดหรือทายากันยุง
ทั้งนี้ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้และเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังไล่ยุงว่า โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 แบบตามสารออกฤทธิ์ซึ่งต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. คือ
1.มีสารเคมีเป็นสารออกฤทธิ์ เช่น ดีอีอีที (DEET) เอทิลบิวทิลอะซีทิลอะมิโนโพรไพโอเนต (Ethyl butylacetyl aminopropionate) และอิคาริดิน (Icaridin) จึงต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากแสดงเลขทะเบียน อย. วอส. ในกรอบเครื่องหมาย อย.
2. มีน้ำมันตะไคร้หอม หรือ Citronella oil เป็นสารออกฤทธิ์ ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อ อย. ดังนั้น จึงแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากแสดงเลขที่รับแจ้ง (xxx/yyyy)
ทั้งนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังไล่ยุง ส่วนใหญ่ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี จึงควรดูข้อจำกัดของอายุเด็กในการใช้ผลิตภัณฑ์บนฉลาก ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และห้ามนำไปใช้ทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ก่อนใช้ควรทดสอบการแพ้ โดยการทาหรือพ่นที่บริเวณข้อพับหรือท้องแขน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองจึงใช้บริเวณอื่น อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณแผล ล้างมือทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย