ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ความผันผวนไม่เลิกราของโอมิครอน (Omicron)
BQ.1 และ BQ.1.1 และ XBB และ XBB.1 และสายย่อยๆ น่าจะเป็นตัวหลักในเวลาต่อไป
โดยที่ขณะนี้ในหลายๆประเทศ เป็นตัวหลักแล้ว และทำให้วัคซีนรวมทั้งยาและแอนติบอดีที่ใช้อยู่ขณะนี้ทั้งหมดอาจมีปัญหา รวม evusheld ที่เป็นประเภทมีฤทธ์ได้ยาวนาน
โดยสรุป
เช่นเดียวกับ BA.1 และ BA.2
BA.2 เป็นแม่ของ BA.5 และเป็นย่าของ BQ.1
BA.2 ให้ลูกๆดองกันเอง BA.2.10.1 ดองกับ BA.2.75 เป็น XBB
ดังนั้น XBB กับ BQ.1 เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จากนั้น BQ และ XBB ก็มี ไมเนอร์ บ้าง เมเจอร์ เชนจ์ บ้าง ไปอีก
และหนีภูมิทั้งหลายในมนุษย์ได้ดี ทั้งวัคซีนธรรมดา และรุ่นใหม่ bivalent ที่ฉีดกระตุ้น แล้วในอเมริกา
ทั้งนี้ การติดเชื้อตามธรรมชาติจะสามารถลดความรุนแรงและการตายได้ดีกว่าวัคซีน (ไม่ได้สนับสนุนให้ไปติดเชื้อ)
แต่วัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะได้ผลจำกัดและมีระยะเวลาที่ยังมีประสิทธิภาพอยู่
แม้จะไม่นานนัก ยังอาจจำเป็นสำหรับผู้เปราะบางสูงอายุ ตามความสมัครใจ โดยชั่งประโยชน์ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ช่วงสัปดาห์นี้ เป็นช่วงที่ดูเหมือนมีอาการหนักมากขึ้น (การติดหนาแน่นมาระยะหนึ่งแล้ว)
และถึงแม้ในหลอดทดลองดูเหมือนว่าโควิดรุ่นหลัง จะไม่ลงเซลล์ทางเดินหายใจส่วนล่างหรือปอด โดยกระจุกอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนต้น
แต่ในสถานการณ์จริงไง มนุษย์จะซับซ้อนกว่าและขึ้นอยู่กับปริมาณของไวรัสและการโต้ตอบของมนุษย์ที่ติดเชื้อว่าไวแค่ไหนและถูกจังหวะถูกเวลาหรือไม่ และเกิดปะทุการอักเสบมากมายเพียงใด
สุดท้ายอย่าลืมว่า อาการของโรคไม่ได้มีที่ทางเดินหายใจอย่างเดียว
แต่กระทบอวัยวะอื่นได้ ทั้งระบบสมอง หัวใจและหลอดเลือดและระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น