ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics โดยระบุว่า
5 สายพันธุ์ย่อยจากสมาชิกใน "ซุปโอมิครอน" ที่ต้องเฝ้าติดตาม
เนื่องจากหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และดื้อต่อยาฉีดประเภทแอนติบอดี
สำเร็จรูปเกือบทุกประเภท และเสี่ยงสูงที่จะมีวิวัฒนาการต่างออกไปจากตระกูลโอมิครอน
สายพันธุ์ย่อยใน “ซุปโอมิครอน” ช่วงนี้มีการกลายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว พบแล้วมากกว่า 300 สายพันธุ์ย่อย (sublineages)
เหตุใดศูนย์จีโนมฯและทั่วโลกกำลังติดตาม 5 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยกล่าวคือ
เพราะเนื่องจากผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่าทั้งห้าสายพันธุ์ย่อยนี้หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
โดยเฉพาะโอมิครอน BQ.1.1.10 (BQ.1 ที่จีโนมบางตำแหน่างขาดหายไป: Y144del)
และดื้อต่อยาฉีดประเภทแอนติบอดีสำเร็จรูปเกือบทุกประเภท
จากการคำนวณรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมเปรียบเทียบระหว่าง "โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป" กับ "โอมิครอนสายพันธุ์หลักในปัจจุบัน BA.5" ที่ระบาดไปทั่วโลกพบว่าทั้ง 5 สายพันธุ์ย่อยมีความการเปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า BA.5 ด้วยกันทั้งสิ้น
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกจึงลงความเห็นว่าควรติดตามเฝ้าระวัง 5 สายพันธุ์นี้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการกลายพันธุ์ต่อเนื่องเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ทางองค์การอนามัยโลกอาจต้องกำหนดอักษรกรีกเรียกต่างไปจากโอมิครอน
อย่างไรก็ดีในขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่พบความแตกต่างของบรรดาสายพันธุ์ย่อยในซุปโอมิครอนที่ก่อโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม
อนึ่งโอมิครอนทั้ง 5 สายพันธุ์ย่อย XBB, XBB.1, CH.1.1, BA.4.6.3 และ BQ.1.1.10 (จากข้อมูลในจีซ่าด) ยังไม่พบการระบาดภายในประเทศไทย
ในขณะที่โอมิครอน "BA.2.3.20" ซึ่งมีรายงานว่าพบในประเทศไทย 2 รายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 ไม่มากประมาณ 64% หลบเลี่ยงภูมิคุ้มได้ในระดับหนึ่ง
แต่น้อยกว่า XBB, XBB.1, CH.1.1, BA.4.6.3 และ BQ.1.1.10 (ภาพ2) นอกจากนี้ "BA.2.3.20" ยังไม่ดื้อต่อยาฉีด“เอวูเชลด์” ซึ่งเป็นแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) ที่ประเทศไทยมีใช้อยู่