วัคซีนฝีดาษลิงชนิดใหม่เป็นบบไหน ฉีดยังไง มีประสิทธิภาพแค่ไหน ดูเลย

01 มิ.ย. 2565 | 21:22 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มิ.ย. 2565 | 04:22 น.
2.1 k

วัคซีนฝีดาษลิงชนิดใหม่เป็นบบไหน ฉีดยังไง มีประสิทธิภาพแค่ไหน ดูเลยที่นี่มีคำตอบ หมอยงเผยความยุ่งยากในการควบคุมโรค

วัคซีนฝีดาษลิงปัจจุบันมีกี่ชนิด ประสิทธิภาพดีแค่ไหน เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่โรคฝีดาษลิงเริ่มแพร่กระจายไปหลายประเทศ


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า

 

ฝีดาษวานร  วัคซีน 3rd generation
 

ใช้สายพันธุ์ Vaccinia มาดัดแปลงพันธุกรรม (Modified Vaccinia Ankara) 

 

ผลิตโดย Bavarian Nordic ใช้ชื่อ MVA-BN เป็นไวรัสมีชีวิต ทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่สามารถแบ่งตัวได้ 

 

ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สร้างภูมิต้านทาน ไม่เกิดตุ่มหนอง

 

ประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับวัคซีนในอดีต

 

ให้ได้ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ไม่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดในสตรีตั้งครรภ์ (ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้) ให้ได้ในแม่ที่กำลังให้นมบุตร 
 

ต่างกับวัคซีนใน Generation ที่ 1 และ 2 ที่ใช้ปลูก 

 

วัคซีนนี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์  

 

ผู้ที่ปลูกฝีมาแล้ว ให้ครั้งเดียว

 

ผู้สัมผัสโรค ให้ภายใน 4 วัน ป้องกันการติดเชื้อได้ หรือลดอาการโรคลง 

 

ในยุโรป (Imvanex)  ในอเมริกา (Jynneos) 

 

ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน มาใช้ในประเทศไทย

 

วัคซีนป้องกันฝีดาษลิงชนิดใหม่เป็นบบไหน ฉีดยังไง

 

หมอยงยังโพสต์ด้วยว่า

 

ฝีดาษวานร  2022   ความยุ่งยากในการควบคุมโรค

 

ฝีดาษวานรที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%  และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี 

ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ 

 

  • อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย 

 

  • ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก  30% เกิดในที่ลับ  บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์

 

  • โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

 

  • ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน 

 

  • ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะ ที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป