ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

13 ก.ย. 2564 | 14:59 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ย. 2564 | 01:22 น.
687

ร่วมอาลัย ทมยันตี ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตแล้ว ในวัย 85 ปี เพจดัง โบราณนานมา ยกย่องประวัติ เปิดผลงานประพันธ์ดัง ผ่าน 6 นามปากกาแฝง มี คู่กรรม เป็นเรื่องดังก้องชื่อ

13 กันยายน 2564 - วงการนักเขียน ศิลปินแห่งชาติ และ แฟนคลับหนังสือ ร่วมอาลัย ทมยันตี - คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์  เสียชีวิต ในวัย 85 ปี อย่างสงบในวันนี้ 

 

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊กดัง 'โบราณนานมา' ซึ่งมีผู้ติดตาม ราว 9 แสนคน ได้ระบุถึง ชีวประวัติของ “ทมยันตี” ศิลปินแห่งชาติ ผู้ประพันธ์ผลงานดังอย่าง “คู่กรรม” ผ่านเรื่องเล่า นามปากกาแฝง 6 ชื่อ เพื่อร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียของวงการนักเขียนไทยไว้น่าสนใจดังนี้ ...

 

“คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์” หรือในนามปากกาที่เรารู้จัก “ทมยันตี  (อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี)” หรือนามปากกาอื่น ๆ เช่น นามปากกาที่เป็นที่รู้จัก คือ ลักษณวดี, กนกเรขา, โรสลาเรน, วัสสิกา, มายาวดี และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๕ ผลงาน เช่น คู่กรรม, ทวิภพ, ค่าของคน, อุบัติเหตุ, ดาวเรือง, ล่า, เวียงกุมกาม, นากพัทธ์, พิษสวาท, ดั่งดวงหฤทัย, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, เลือดขัตติยา, ใบไม้ที่ปลิดปลิว และอื่น ๆ ซึ่งมีการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายยุคหลายสมัย

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

“คุณหญิงวิมล” จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จากนั้นศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายหลังเปลี่ยนมาศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอเป็นนักโต้วาทีของมหาวิทยาลัย ร่วมทีมกับสมัคร สุนทรเวช และชวน หลีกภัย

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

เธอใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านหนังสือในห้องสมุดหลายแห่ง เธอตัดสินใจไม่ไปสอบเพื่อรับปริญญา ทำให้เธอสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแทน ในขณะศึกษาระดับชั้นปีที่สาม เพื่อนของเธอได้ชักชวนให้ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยและวิชาประวัติศาสตร์ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เธอจึงลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพครู และเขียนหนังสือไปพร้อม ๆ กัน ต่อมาเธอจึงเลิกสอนหนังสือและหันมาเขียนหนังสือเพียงอย่างเดียวจนถึงปัจจุบัน

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

 

เริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ ๑๔ ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และได้เขียนเรื่องสั้นต่อเนื่องอยู่ถึง ๑๑ ปี ขณะที่เริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง ในฝัน เมื่ออายุ ๑๙ ปี ใช้นามปากกา โรสลาเรน ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

“คุณหญิงวิมล” นิยมใช้สำนวนภาษาตามแบบหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) และนักเขียนสตรีรุ่นเก่าอย่าง ร. จันทพิมพะ นวนิยายหลายเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น คู่กรรม ทั้งสองภาค ดั่งดวงหฤทัย ทวิภพ คำมั่นสัญญา ดาวเรือง รอยอินทร์ ร่มฉัตร เลือดขัตติยา ในฝัน เป็นต้น นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ คู่กรรม ภาคหนึ่ง

 

“คุณหญิงวิมล” มีนามปากกา ๖ ชื่อ ได้แก่

๑. โรสลาเรน เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “กุหลาบราชินี” ใช้เขียนเรื่องรักพาฝันหรือจินตนิยาย วิมลกล่าวว่านามปากกานี้นำมาจากชื่อนางเอกซึ่งเป็นนักร้องโอเปร่าในเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ นามปากกานี้ใช้ครั้งแรกในนวนิยายเรื่อง “ในฝัน”

 

๒. ลักษณวดี ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย คำว่า “ลักษณวดี” มีความหมายว่า “นางผู้มีลักษณะดี , นางผู้งามเลิศ” วิมลนำชื่อ “ลักษณวดี” ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีและเป็นมเหสีของพระลอดิลกราชจากวรรณคดีเรื่อง “ลิลิตพระลอ”

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

๓. กนกเรขา ใช้สำหรับแต่งเรื่องตลกเบาสมอง คำว่า “กนกเรขา” แปลว่า “อักษรอันวิจิตร” วิมลนำชื่อ “กนกเรขา” ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีเรื่อง “กนกนคร” ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม คือ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) มาใช้เป็นนามปากกา

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

๔. ทมยันตี (อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี) แปลว่า “นางผู้มีความอดทนอดกลั้น” เป็นนางในวรรณคดีเรื่อง “พระนลคำหลวง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนามปากกาที่ใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งแต่งเรื่องราวแนวจิตวิญญาณ วิมลเริ่มใช้นามปากกานี้ในการประพันธ์นวนิยายเรื่อง “รอยมลทิน” เป็นเรื่องแรก

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง

๕. มายาวดี ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน ความเชื่อต่าง ๆ และเคยใช้นามปากกานี้เขียนคอลัมน์ “สนธยากาล” ลงในนิตยสารขวัญเรือน (ภายหลังนิตยสารขวัญเรือนได้เลิกกิจการ คุณหญิงวิมลได้เขียนเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นลงในเพจเฟซบุ๊กชื่อ “ล้านนาเทวาลัย”

 

๖. วิม-ลา เป็นนามปากกาล่าสุดของคุณหญิงวิมล ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน ความเชื่อต่าง ๆ ลงในเพจเฟซบุ๊กชื่อ "ล้านนาเทวาลัย" โดยเริ่มเขียนเผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ 

ทมยันตี ผู้ประพันธ์ดัง ก้องชื่อ คู่กรรม ในวันล่วงลับ เปิด 6 นามปากกาแฝง