ยอดสินเชื่อเดือนต.ค. 67 ขยายตัว 10.7 ล้านล้าน หนุนกลุ่มแบงก์น่าสนใจ

24 พ.ย. 2567 | 14:14 น.
อัปเดตล่าสุด :24 พ.ย. 2567 | 14:14 น.

เปิดยอดสินเชื่อเดือน ต.ค.67 เพิ่มขึ้น 0.2% ในรอบ 6 เดือน แตะ 10.7 ล้านล้าน จากสินเชื่อรายใหญ่ นำโดย BBL, KBANK และ TISCO พร้อมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนที่จะเติบโตขึ้นในปี 68 หนุนกลุ่มแบงก์ยังน่าสนใจ แนะนำ BBL KBANK KTB เด่น

บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดมุมมองต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (แบงก์) ว่า ทางฝ่ายมองว่าเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (Overweight) หุ้นกลุ่มแบงก์ หลังจากที่สินเชื่อ ต.ค. 67 ทั้ง 7 ธนาคารที่ทางฝ่ายดูแล อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นในรอบ 6 เดือนที่ 0.2% จากเดือนก่อน จากสินเชื่อรายใหญ่ ขณะที่สินเชื่อภาครัฐทรงตัว ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง

โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น 1.6% จากเดือนก่อน จากสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ รองลงมาเป็น KBANK, TISCO เพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนก่อน จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ส่วนสินเชื่อรายย่อยและ SME ยังคงหดตัวลง

ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุดจากเดือนก่อน คือ KKP 0.7% จากเดือนก่อน ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น TTB ลดลง -0.5% จากเดือนก่อน จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย แต่สินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น

ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน ต.ค. 24 อยู่ที่ 12.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8% จากเดือนก่อน โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ KTB เพิ่มขึ้นถึง 5.7% จากเดือนก่อน จากเงินฝาก CASA ของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ รองลงมาเป็น SCB, KKP เพิ่มขึ้น 3.5%, 3.4% ตามลำดับ จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ KBANK ลดลง -3.7% จากเดือนก่อน จากเงินฝากประจำที่ลดลง

ทางฝ่ายมองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร และเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน ต.ค. 67 ที่กลับมาฟื้นตัวในรอบ 6 เดือนได้ที่ 0.2% จากเดือนก่อน จากเดือน ก.ย. 24 ที่ลดลง 0.5% จากเดือนก่อน โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลง และจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

ทั้งนี้ คาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 67 ตามโครงการใหญ่ๆ ของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ทางฝ่ายยังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 67 ของกลุ่มไว้ที่ 1% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน (10 เดือนแรกปี 67 อยู่ที่ -1.6% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน)

ด้าน NPL คาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯ จำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 67 จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 66

ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน ต.ค. 67 ทางฝ่ายให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็นมากกว่าตลาด เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 67-68 จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน

ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) โดยทางฝ่ายยังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้ในเดือน ต.ค. 67

หุ้นเด่นกลุ่มแบงก์

  • KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท กำไรสุทธิปี 67 อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ 18% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 จะเพิ่มขึ้นจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่จะลดลงจากไตรมาสก่อน จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้
  • KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท คุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไรำตรมาส 4/67 จะเพิ่มขึ้นจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.64x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

ปี 68 กลุ่มแบงก์น่าสนใจ

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ฝ่ายวิจัยมองว่ากลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่น่าสนใจในปี 68 จากธีมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนที่จะเติบโตขึ้นในปีหน้า โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มธนาคาร จาก 3 เหตุผล ได้แก่

  1. แนวโน้มการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนจะออกมามากขึ้นในปีหน้า
  2. แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ก็จะทยอยฟื้นตัวด้วยเช่นกัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  3. Scope for upside สำหรับ NIM กลุ่มธนาคาร เพราะ Fed น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม

ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงเลือก BBL, KBANK และ KTB เป็น top picks