ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.หลายดัชนีกลับมาปรับดีขึ้น

30 ส.ค. 2567 | 18:04 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ส.ค. 2567 | 18:47 น.

ธปท. ชี้ยังมีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการระยะต่อไป เกาะติด “ผลการเร่งเบิกจ่าย มาตรการรัฐ การฟื้นตัวภาคส่งออกและความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์” หลังเศรษฐกิจเดือนก.ค. สัญญาณหลายดัชนีปรับดีขึ้น ความเชื่อมั่นลดลงจากความกังวลเศรษฐกิจไทย จะขยายตัวต่ำ

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ และ โฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า  เศรษฐกิจไทยเดือนกรฎาคมกลับมาขยายตัวได้บ้าง จากเดือนก่อนหน้า ที่ชะลอตัว  โดยเดือนก.ค.การส่งออกสินค้าเป็นปัจจัยเคลื่อนหลักและส่งผลต่อเนื่องหลายภาคส่วน

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.หลายดัชนีกลับมาปรับดีขึ้น

โดยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค. ปรับดีขึ้นหลังจากชะลอลงเดือนก่อน ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศทั้งการส่งออกสินค้า และรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องขยายตัวได้

แต่ยังเห็นบางสินค้าถูกกดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และอุปสงค์ที่ยังต่ำ  ขณะที่ภาคการลงทุนเอกชนปรับดีขึ้น การบริโภคเอกชนทรงตัวแต่เห็นความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภคลดลงจากความกังวลในภาพรวมของเศรษฐกิจที่อาจจะขยายตัวได้ต่ำ 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น ตามหมวดอาหารสด จากผลของฐานที่ต่ำ และราคาผลไม้  และเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากหมวดอาหารสำเร็จรูปเป็นหลัก

ทั้งนี้ เดือนก.ค.ภาพรวมดัชนีต่างๆมีสัญญาณที่ดีจากหลายดัชนีเริ่มกลับมาปรับดีขึ้น   หลักๆมาจากอุปสงค์ด้านต่างประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำปรับเพิ่มขึ้น(ปัจจัยชั่วคราวที่มีการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อลดความเสี่ยงจากการแออัดของท่าเรือก่อนที่จะถึงฤดูกาลส่งออก) 

การส่งออกที่ดีขึ้นได้ส่งผลต่อดียังภาคการผลิตอุตสาหกรรม  รวมถึงการขนส่ง  ขณะภาคท่องเที่ยวนั้น รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้นตามค่าใช้จ่ายต่อหัว แม้เดือนนี้จำนวนนักท่องเที่ยวทรงๆ   

ในส่วนอุปสงค์ในประเทศนั้น  การลงทุนภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่การบริโภคการเอกชนยังทรงๆ   สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรปรับดีขึ้นจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวนาปรังที่เลื่อนมาเก็บเกี่ยวในเดือนนี้(เนื่องจากก่อนหน้าได้รับผลจากสถานการณ์แอลนิโญ)

ระยะต่อไปยังมีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ  ขณะที่ภาคส่งออกสินค้าและ  การผลิตภาคอุตสาหกรรมน่าจะทยอยฟื้นตัว ซึ่งต้องติดตามอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และบางอุตสาหกรรมยังมีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับสูง 

ทั้งนี้  ธปท.จะต้องติดตามผลของการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ  มาตรการของภาครัฐ การฟื้นตัวของการส่งออกและความขัดแย้งด้านทางภูมิรัฐศาสตร์    อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นเดือนส.ค.ทั้งปัจจุบันและอนาคต มีแนวโน้ม”ทรงตัว” 

ปัจจุบันแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ตามความเชื่อมั่นภาคการผลิต และภาคที่ไม่ใช่การผลิตก็มีความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่อง และต่ำกว่าระดับ 50ทุกหมวดธุรกิจ  ส่วนระยะ 3เดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นก็มีแนวโน้มปรับลดลงเช่นกัน

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.หลายดัชนีกลับมาปรับดีขึ้น

รายละเอียดบางเซ็กเตอร์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. ประกอบด้วย   การส่งออก (เมื่อหักทองคำ  ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้ว) เพิ่มขึ้น 2.8% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อลดความเสี่ยงจากความล่าช้าทางเรือ   หมวดที่เห็นการส่งออกเพิ่มขึ้น

เช่น อิเล็กทรอนิกส์(ตามการส่งออกชิ้นส่วนสื่อสารไปมาเลเซีย แผงวงจรรวมทั้งไปมาเลเซียและยุโรป รวมทั้ง คอมพิเวเตอร์ไปไต้หวันและฮ่องกง   สินค้าเกษตรแปรรูป ,  ยางสังเคราะห์ ,ปลากระป๋อง , ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี  แต่หมวดที่ปรับลดลงคือ รถกระบะ ไปอินเดีย ฟิลิปปินส์ 

นอกจากนี้ภาคการผลิตอุตสหกรรมยังได้รับผลดีจากการส่งออก โดยขยายต่อเนื่อง 2.5%จากเดือนก่อน โดยหมวดที่ปรับเพิ่มขึ้นคือ หมวดยานยนต์  หมวดยาง  และพลาสติกส์ขยายตัวจากการผลิตถุงมือยาง ยางแผ่น ยางแท่ง จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น 

และหมวดที่ขยายตัวได้ดีจากเครื่องจักร ทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า และหมอแปลง จากความต้องการทั้งในและต่างประเทศ  และหมวดที่ปรับลดลงเดือนก.ค. คือ หมวดปิโตรเลียม (ถ้าดูยอดขายหน้าโรงกลั่นขยายตัวได้เนื่องจากที่ผ่านมา สะสมสต็อคไว้เยอะ มีการนำสต็อคออกมาขาย จึงเห็นว่า แม้ยอดการผลิตจะลดแต่ยอดขายยังดี)

สำหรับการส่งออกภาคบริการนั้น พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 3.1ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก 2.7ล้านคนในเดือนก่อน  หลักๆมาจากนักท่องเที่ยวจีน  ยุโรป  มาเลเซีย  โดยตั้งแต่ต้นปีถึงล่าสุด (1 ม.ค. - 25 ส.ค. 67) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม 23.1 ล้านคน

หลังปรับฤดูกาลจำนวนนักท่องเที่ยวทรงตัวจากเดือนก่อน  ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ปรับลดลงคือ ตะวันออกกลาง  อิเดีย ส่วนกลุ่มที่เพิ่มขึ้นคือ จีน มาเลเซีย รัสเซีย  เยอรมนี  ส่วนรายได้ของนักท่องเที่ยวปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามค่าใช้จ่ายต่อหัวที่เพิ่มขึ้น    โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียและเยอรมนี  

ดัชนีภาคบริการขยายตัว 0.8% กิจกรรมภาคการค้าเพิ่มขึ้นตามภาคค้าส่ง-ค้าปลีก  จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค  การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น รวมถึงยอดจำหน่ายรถยนต์

ส่วนภาคขนส่งปรับเพิ่มขึ้นจากธุรกิจค้าส่งสินค้า  ซึ่งได้รับอานิสงก์จากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และผลผลิตเกษตรที่ดีขึ้น รวมถึงธุรกิจขนส่งผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นตามการเดินทางของประชาชน

ส่วนธุรกิจโรงแรม  ร้านอาหาร เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มขึ้นเดือนก.ค.

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.หลายดัชนีกลับมาปรับดีขึ้น

สำหรับการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อย 0.3%ถือว่าทรงตัวจากเดือนก่อน-0.7% โดยเพิ่มขึ้นจากหมวดขนส่งผู้โดยสาร, หมวดสินค้ากึ่งคงทน, (จากปริมาณนำเข้าสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม) หมวดสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นจากยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล  ขณะที่ยอดขายรถกระบะยังปรับลดลงตามความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน ซึ่งในภาพรวมหมวดนี้การบริโภคยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

หมวดสินค้าไม่คงทนนั้นเดือนก.ค.ปรับลดลงตามปริมาณการจำหน่ายเชื้อเพลิง ,ราคาเฉลี่ยน้ำมันกลุ่มเบนซินที่เพิ่มขึ้นและปริมาณการใช้ไฟปรับลดลงมาจากอูณหภูมิที่ปรับลดลงจากเดือนก่อน แต่ยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคยังเพิ่มขึ้นในหมวดอาหารสำเร็จรูป และของใช้ในบ้าน

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับลดลงต่อเนื่องทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและระยะข้างหน้า  โดยผู้บริโภคกังวลต่อค่าครองชีพเพิ่ม  เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า  ปัจจัยการเมือง สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลก รวมทั้งความยืดเยื้อทางความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ 

อย่างไรก็ดีผู้บริโภคยังมีความหวัง จากมาตรการภาครัฐ   มาตรการกระตุ้นเที่ยวเมืองรอง ,ภาคอสังหาริมทรัพย์ และแนวโน้มรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว และราคาสินค้าเกษตรหลายหมวดอยู่ในระดับที่สูงอย่างน้อยช่วยผยุงความเชื่อมั่น

สำหรับตลาดแรงงานปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน  ทั้งภาคการผลิตและบริการ เห็นได้จากจำนวนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เพิ่มขึ้น ทั้งภาคการผลิต  อาหาร  เคมีภัณฑ์  และภาคบริการก็เพิ่มขึ้นจากสาขาบริหารราชการ (ผลดีจากพ.ร.บ.งบประมาณปี2567กลับมามีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และส่งบวกต่อสาขาโรงแรม การขนส่ง)

ส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงาน(ม.38) ทั้งจำนวนรวม และรายใหม่ เพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและบริการ โดยเฉพาะสาขามีเดียและการเงิน(เห็นดิจิทัลไลเซชั่นเข้าไปค่อนข้างเยอะ)  ค้าปลึก  ค้าส่ง  และการผลิตยานยนต์เหล่านี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

อย่างไรก็ตาม ดัชนีเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 6.0%จากเดือนก่อน -1.5% โดยการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์  และการก่อสร้าง  โดยการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบย่อย ทั้งการนำเข้าสินค้าทุน (จากการนำเข้าเครื่องมือ ,เครื่องจักรที่ใช้ในงานทั่วไป)

ยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น  ส่วนยอดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากหมวดมอเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ่า  ส่วนการลงทุนด้านการกก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างเป็นสำคัญ(จากพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย,พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน) ส่วนยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากยอดจำหน่ายเสาเข็ม  คอนกรีต และเครื่องสุขภัณฑ์ 

ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนภาคการผลิตปรับลดลงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  การผลิตเหล็ก และการผลิตอาหาร  ส่วนความเชื่อมั่นด้านการลงทุนที่ไม่ใช่ภาคการผลิตปรับลดลงจากภาคอสังหาริมทรัพย์และการค้า

ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน ขยายตัว 1.5%และ 22.8% ตามลำดับ  โดยรายจ่ายประจำนั้นขยายตัวตามการเบิกจ่ายเงิน บำเหน็จ  ค่ารักษาพยาบาลราชการ  รวมถึงค่าตอบแทนพนักงานของรัฐ  

สำหรับรายจ่ายลงทุนขยายตัวตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านคมนาคมและด้านชลประทาน     แต่รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจหดตัว 10.5%เป็นการหดตัวตามการเบิกจ่ายในโครงการลงทุนด้านคมนาคมเป็นสำคัญ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.83% เพิ่มขึ้นจาก 0.62%เดือนก่อน  หลักๆมาจากอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสด  ( หมวดอาหารสดนั้น ผลของฐานต่ำในปีก่อนและราคาผลไม้ที่เพิ่มขึ้นตามผลผลิตลดลงจากเหตุภัยแล้ง ส่วนหมวดพลังงานลดลงจากราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน ที่อาจมีผลของฐานสูงในปีก่อน แต่ราคาน้ำมันเบนซินยังเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก)  

และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่  0.52% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 0.36% มาจากเงินเฟ้อหมวดอาหาร ตามราคาอาหารสำเร็จรูป  ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารปรับลดลงจากเดือนก่อนตามราคาของใช้ส่วนตัว(จากที่ผู้ประกอบการมีโปรโมชั่น)

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.หลายดัชนีกลับมาปรับดีขึ้น

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ค.เกินดุลที่ 0.3พ้นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 2.0พันล้านสหรัฐ หลักๆมาจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลง จากการนำเข้ามูลค่ามากขึ้นเป็นหลัก  ขณะที่ดุลบริการรายได้และเงินโอนยังขาดดุลใกล้เคียงเดือนก่อน ส่วนหนึ่งมาจากรายรับที่ปรับตัวดีขึ้นตามรายรับภาคการท่องเที่ยว แต่ก็มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าตามปริมาณนำเข้า

สำหรับค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐนั้น ตั้งแต่เดือนก.ค.-26ส.ค.67 เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นตามการปรับเพิ่มคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ปีนี้ว่ามีจำนวนครั้งมากขึ้นจากคาดการณ์ไว้เดิม  ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอลงกว่าที่คาด

ขณะเดียวกันสกุลเงินในภูมิภาคและเงินบาทได้รับปัจจัยแข็งค่าเพิ่มเติมจากทั้งการแข็งค่าของเงินเยน  หลังจากที่ธนาคารญี่ปุ่น(บีโอเจ)ปรับเพิ่มดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด และราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น สำหรับ ดัชนีค่าเงินบาทปรับเพิ่มขึ้น(ล่าสุดถึงวันที่ 26ส.ค.)เฉลี่ยแข็งนำสกุลเงินในภูมิภาค