“ดร.ศุภวุฒิ” ชี้ทางออกหนี้สาธารณะ-ปล่อยเงินเฟ้อ 5%รัฐจัดเก็บภาษีได้ 7%

21 ส.ค. 2565 | 15:05 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ส.ค. 2565 | 22:21 น.

ดร.ศุภวุฒิ จี้รัฐจัดสรรทรัพยากร-เพิ่มศักยภาพแข่งขัน เหตุไทยขาดทั้งพลังงาน-แรงงาน-ชี้ทางออกรัฐแก้ปัญหาหนี้สาธารณะปล่อยเงินเฟ้อ 5%อานิสงค์จัดเก็บภาษีได้เพิ่มราว 7%

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวในงาน"โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) ปี 2565 Next chapter for wealth : เปิดโลกสร้างความมั่งคั่งสู่ความมั่นคง" ภายใต้หัวข้อ "การเงินดี สุขภาพดี ชีวิตดี"

โดยระบุว่า ภาพรวมปีนี้คาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจของไทย(จีดีพี)  จะอยู่ที่ 3% ปีหน้าจะเติบโตได้ 4.3% โดยภาคการท่องเที่ยวจะเป็นเพียงความหวังเดียวในการขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ปีนี้ครึ่งปีแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 2 ล้านคน คาดว่าครึ่งปีหลังจะเข้ามาอีก 6-8 ล้านคน สมมติค่าใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท จะเป็นรายได้ 3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2% ของจีดีพี

และในปี 2566 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 20 ล้านคน เม็ดเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 5-6% ของจีดีพี  ซึ่งไม่น่าจะง่ายที่จะจีดีพีไทยจะฝืนเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงขา

 

สำหรับประเทศไทย ช่วงก่อนโควิด-19 ปี 2559-2562 ไทยขาดดุลเงินสดราว -3.1% ของจีดีพี จากการที่รัฐบาลอุ้มเศรษฐกิจ  แม้ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้อุ้มแต่แตะเบรกไม่อยู่เหมือนอยู่ในห้องICU   ช่วงการระบาดของโควิด-19 ภาระหนี้สาธารณะต่อจีดีพียิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

เห็นได้จากสัดส่วนจาก 24% เพิ่มเป็น 53% รัฐบาลกระเป๋าฉีก ปัจจุบันรัฐบาลมีหนี้อยู่ประมาณ 8.92 ล้านล้านบาท จากภาระหนี้สาธารณะจำนวน 10.12 ล้านล้านบาท จากมูลค่าจีดีพีของไทยอยู่ที่ 16.62 ล้านล้านบาท

 

 

  

สิ่งที่น่าเป็นห่วง ต่อไปภาระในการบริหารหนี้ของรัฐบาลจะแพงขึ้น จากการออกตราสารหนี้หรือบอนด์ใหม่  โดยเฉพาะจะมีตราสารหนี้ของรัฐบาลจะครบกำหนดในปี 2567-2568  ซึ่งช่วงนั้นหากอัตราดอกเบี้ยสูงก็จะทำให้รัฐบาลเหนื่อย

“ดร.ศุภวุฒิ” ชี้ทางออกหนี้สาธารณะ-ปล่อยเงินเฟ้อ 5%รัฐจัดเก็บภาษีได้ 7%

สำหรับทางออกในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะต่อจีดีพีนั้น ประเทศพัฒนาหลายประเทศส่วนใหญ่เสี่ยงที่จะให้อัตราเงินเฟ้อสูงเพื่อทำให้หนี้ต่อจีดีพีร่วงลง เพราะการปล่อยให้เงินเฟ้อสูงนิดหน่อยรัฐบาลจะแก้ปัญหาหนี้สาธารณะต่อจีดีได้ เช่นเงินเฟ้อ 5% รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มประมาณ 7%

 

ด้านทิศทางเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนั้น ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% จากระดับ 0.50% เป็น 0.75% เงินเฟ้ออยู่ที่ 7.6% ที่สำคัญธปท.ประเมินว่าเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ 1-3%ในปี2566 ดังนั้นต้องรอกลางปีหน้าจึงจะรู้ว่าเอาเงินเฟ้ออยู่หรือไม่   กรณีกระทรวงพาณิชย์ประเมินเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 6-7% โดยส่วนตัวมองดอกเบี้ยนโยบายควรจะสูงกว่านี้  

“ ที่สำคัญทางการยืนยันว่า เงินเฟ้อจะปรับลงมาเอง กลางปีหน้าก็จะรู้ว่าเงินเฟ้อเอาอยู่หรือไม่  สมมติถ้าเอาเงินเฟ้อไม่อยู่เงินเฟ้อปีหน้าอยู่ที่ 5% เริ่มจะฝังราก หากดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่กว่า 1.0%ซึ่งเวลาจะหักหัวเงินเฟ้อลง ดอกเบี้ยนโยบายต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ ไม่งั้นเศรษฐกิจจะแฮงค์แน่  

 ถ้าเป็นผมจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากกว่านี้ เหมือนประกันชีวิตตัวเองไว้นิด   อย่างสหรัฐคาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3.50% ของเราก็น่าจะประมาณนั้น  ถ้าไม่ขึ้นแล้วกลางปีหน้าเงินเฟ้อยังอยู่ที่ 5%รัฐบาลใหม่เข้ามาตอนนั้นจะเหนื่อย”

 

นายศุภวุฒิกล่าวถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ว่า สัดส่วนการค้าต่อจีดีพีของไทยร่วงต่อเนื่อง  สะท้อนความสามารถในการ แข่งขันระดับหนึ่ง   ส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยว และไทยพึ่งพลังงานมีสัดส่วนการใช้พลังงาน 3.5% ซึ่งมากกว่าสหรัฐเกือบ 3 เท่า  โดยไทยมีแก๊สธรรมชาติอันดับ 44 ของโลก ไทยผลิตแก๊สฯเป็นอันดับที่ 22 ของโลกแต่ไทยบริโภค 13.5% ของโลก(ตัวเลข ณ ในไตรมาส 1 ปีที่ผ่านมา) ทั้งนี้มีการประเมินว่าไทยจะเหลือแก๊สธรรมชาติเหลือใช้เพียง 4 ปี ซึ่งแนวโน้มจะต้องนำเข้าแก๊สธรรมชาติเหลวซึ่งราคาที่แพงมาก

 

นอกจากนั้นไทยยังมีปัญหาเรื่องแรงงาน สังคมผู้สูงอายุ แรงงานจะหายไปประมาณ 10 ล้านคนใน 30 ปีข้างหน้า ฉะนั้นไทยขาดทั้งพลังงานและแรงงานขณะเดียวกันด้านภาคเกษตร  แต่แนวโน้มผลผลิตธัญพืชและราคาสินค้าปรับลดลงและต่ำกว่าโลก  

 

ขณะที่ไทยประกาศเป้าหมายจะเป็นมหาอำนาจด้านอาหารในปี 2030  แต่หากเทียบกับประเทศญี่ปุ่นมูลค่าของภาคเกษตรไทยอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ใช้แรงงานคนกว่า 10.6ล้านคนและใช้พื้นที่กว่า 105ล้านไร่ 

ส่วนญี่ปุ่นมีมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ มีผลผลิตมากกว่าไทย 7 พันล้านดอลลาร์และใช้คนในภาคเกษตร 2.1 ล้านคน ใช้พื้นที่ดินแค่ 26 ล้านไร่

 

“ จริงๆเมืองไทยมีศักยภาพด้านการแปรรูป เลี้ยงไก่  เลี้ยงกุ้ง  แต่ต้องใช้อาหารกุ้งอาหารไก่จากต่างประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ข้าวโพด  ถั่วเหลือง ผลิตไม่พอ และนำเข้าปุ๋ยอีก 95% แนวโน้มภาคเกษตรของไทยจะลำบากหลังโควิด-19  ท่ามกลางตลาดโลกขาดแคลนด้านอาหาร ดังนั้น โจทย์ของไทยควรจัดสรรทรัพยากรให้ถูกต้องก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยและผลตอบแทนเพิ่มด้วย”

 

----

 

-ทั้งนี้จากข้อมูลธนาคารโลก (World Bank)  ระบุว่า ภาพการเติบโตของโลกเปลี่ยนไปโดยไหลลงมาจากก่อนหน้าและหลังโควิด-19ยังคงปรับลดลงต่อ โดยเฉพาะไทยเป็นประเทศที่มีการฟื้นตัวแย่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งในอดีตปี2554 เศรษฐกิจไทยโตสวนเศรษฐกิจโลกเพียงครั้งเดียว

 

ที่สำคัญอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มไหลลงต่อเนื่องจากปัญหาความขัดแย้ง ภูมิรัฐศาสตร์ เห็นได้จากจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วหลักๆ รวมกัน 3ประเทศคือ สหรัฐ  ยุโรป ญี่ปุ่นเหลือไม่ถึง 50%ของจีดีพีโลกจากที่เคยสูงถึง 60%

 

โดยตอนนี้จีนมีสัดส่วนเป็น 15.26%ของจีดีพีโลกและญี่ปุ่นอีก 5%ทำให้ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพมากขึ้น  โดยเฉพาะไต้หวันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเซีย ด้วยตัวเลขการส่งออกไปจีน 28% รวมฮ่องกง และนำเข้าจากจีนกว่า 20%ที่สำคัญกว่า98%ต้องนำเข้าพลังงานฟอสซิล

 

ทั้งนี้ใน 10ปีข้างหน้าไต้หวันจะยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้ เนื่องจากทั่วโลกต้องใช้อุปกรณ์  หรือชิ้นส่วนเซมิคอนดักต์เตอร์กว่า 50% ซึ่งไต้หวันเป็นประเทศหลักในฐานะผู้ผลิตชิปพวกนี้และมีส่วนแบ่งการทางการตลาดสูงถึง 63% เฉพาะบริษัทรายใหญ่ชื่อTSMCในไต้หวันเพียงบริษัทเดียวกินส่วนแบ่งทางการตลาด 54% ขณะที่จีนมีส่วนแบงก์ตลาดเพียง 5%