ธปท.เผยเดือนมิ.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่หวือหวา จับตา 3ปัจจัย

03 ก.ค. 2565 | 19:26 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.ค. 2565 | 04:28 น.

ธปท.เผยกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่หวือหวา จับตา "ต้นทุนและราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น-ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน-การฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค. ดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งบริโภคเอกชน-ลงทุน -ส่งออกสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับดีขึ้น โดยเฉพาะอุปสงค์ต่างประเทศ “ส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยว”

 

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน  โดยเครื่องชี้การบริโภค  การลงทุนภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในเอเซีย  

ธปท.เผยเดือนมิ.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่หวือหวา จับตา 3ปัจจัย

โดยเฉพาะเดือนพ.ค.อุปสงค์ต่างประเทศทยอยฟื้นตัวทั้ง การส่งออกขยายตัว 11.3%มูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำ 13.4% เพิ่มขึ้นเทียบจากเดือนก่อนที่ 3.5%โดยเฉพาะส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปจีน

 

 และจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาค่อนข้างมากทั้งการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างประเทศประมาณ 5.2แสนคน โดยช่วง 5เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วจำนวน 1.3ล้านคน

 

ด้านการบริโภค โต 0.6%ซึ่งเป็นการเติบโตจากทุกหมวด เช่น สินค้าคงทนหมวดบริการกลับมาดีขึ้น ซึ่งเดือนพ.ค.เป็นเดือนแห่งภาคบริการทั้งโรงแรม  อัตราการเข้าพักแรม  ขนส่งสินค้าดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวจากเดือนก่อนและจำนวนผู้ประกันตนทยอยฟื้นตัว

ธปท.เผยเดือนมิ.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่หวือหวา จับตา 3ปัจจัย

สำหรับภาคการลงทุนขยายตัว 0.6%เติบโตขึ้นจากเดือนเม.ย. สะท้อนจากการนำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคม ยอดจดทะเบียนแทรกเตอร์และรถบรรทุก

 

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นการลงทุนปรับลดลงด้านการผลิต ความเชื่อมั่นการลงทุนที่ไม่ใช่การผลิตแต่อยู่เหนือระดับ 50 ขณะความเชื่อมั่นภาคการค้าและค้าปลีกสะท้อนราคาที่สูง ประชาชนใช้จ่ายลดลง    

 

การลงทุนด้านก่อสร้างสะท้อนยอดขายวัสดุปรับลดลงจากเดือนก่อน  แต่พื้นที่ก่อสร้างขยายตัวจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างโรงงานและที่อยู่อาศัย

 

ทั้งนี้ หมวดที่ได้รับแรงกดดันจากการขาดแคลนวัตถุดิบ  เช่น  หมวดยานยนต์  หมวดอิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะฮาร์ตดิสไดร์ฟ  แม้จะเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.แต่ยังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เพราะเดือนเม.ย.ที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก   ส่วนหมวดที่ขยายตัวเช่น อาหารและเครื่องดื่ม กับ ปิโตรเลียม

 

 

 ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนหดตัว เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน เห็นได้จาก รายงานลงทุนรัฐบาลกลางหดตัว -4,1%และรายงานลงทุนของรัฐวิสาหกิจปรับลด 10.8% เนื่องจากสาเหตุจากความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการคมนาคมกับโครงการระบบส่งไฟฟ้า โดยรายจ่ายประจำทรงตัว 0.2%  

 

ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น โดยเดือนพ.ค.ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบเดือนเม.ย.ที่ขาดดุล 3.1พันล้านดอลลาร์ สาเหตุของการขาดดุลเพิ่มมาจากขาดดุลบริการ  รายได้  และเงินโอน ตามการส่งกลับกำไร  เงินปันผลของธุรกิจต่างชาติในไตรมาสที่2  

 

ส่วนค่าเงินบาทอ่อนค่าลงด้วยปัจจัยสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และเป็นการอ่อนค่าระดับกลางเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคและข้อมูลถึงวันที่ 23มิ.ย.เงินบาทยัง “อ่อนค่าลง”จากดอลลาร์แข็งค่า

 

หลังจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เร่งขึ้นดอกเบี้ยและมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอทำให้นักลงทุนระมัดระวังในการลงทุน โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่และรวมไทยด้วย  จึงส่งผลสกุลเงินของประเทศในภูมิภาคอ่อนค่าลงต่อเนื่อง

ธปท.เผยเดือนมิ.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่หวือหวา จับตา 3ปัจจัย

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ นางสาวชญาวดี ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ค.เร่งขึ้นมากถึง 7.1%จาก4.65%เดือนก่อน หลักๆ มาจากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน  โดยเฉพาะมีการปรับเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้า(FT)รอบเดือนพ.ค.ถึงเดือนส.ค.และราคาน้ำมันดิบขายปลีกที่ปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

 

นอกจากนี้ผลของการทยอยลดการอุดหนุนของราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ และการเพิ่มขึ้นของอาหารสดที่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อหมูเป็นสำคัญ

 

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.28%เพิ่มขึ้นจาก 2.0% ในเดือนก่อน มาจากการปรับขึ้นของราคาในหมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ตามต้นทุนที่เพิ่มและราคาน้ำประปา(จากปีก่อนมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพภาครัฐ)

“จากการสอบถามผู้ประกอบการเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1-20มิ.ย.2565ผู้ประกอบการบอกว่าภาพรวมธุรกิจมีแนวโน้มของการปรับตัวดีต่อเนื่อง  แต่ยังมีประเด็นต้นทุนและราคาสินค้าที่สูงขึ้นจึงกดดันการฟื้นตัวอยู่ แนวโน้มเดือนมิ.ย.ยังคงจับตาการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนกับราคาสินค้า,ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนจะคลี่คลายได้เร็วแค่ไหนและการฟื้นตัวนักท่องเที่ยวและภาคบริการ”

 

สำหรับเดือนมิ.ย.ในแง่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจากเครื่องชี้เร็วทั้ง Google Ability ,การเดินทางช่องทางต่างๆและจากการสอบถามผู้ประกอบการเพิ่มเติม พบว่ากิจกรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่หวือหวาแต่ยังไปได้  โดยเห็นได้จาก

  1. กลุ่มภาคการผลิตธุรกิจปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะส่งออกอาหารซึ่งได้อานิสงค์จากหลายประเทศระงับการส่งออกอาหาร
  2. ภาคบริการดีขึ้นต่อเนื่องทั้งโรงแรม  ร้านอาหาร  ขนส่งสินค้าซึ่งมาจากนักท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
  3. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบ แต่ทรงตัวจากค่าครองชีพที่สูงและความกังวลจากเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น
  4. กลุ่มก่อสร้างการลงทุนที่ฟื้นตัว แต่ได้รับแรงกดดันจากราคาค่าวัสดุก่อสร้าง
  5. ภาคการค้านั้น สินค้าอุปโภคบริโภคได้รับแรงกดดันจากราคาที่ทยอยปรับเพิ่มและกำลังซื้อที่อ่อนแอ   อย่าง สินค้าคงทน รถยนต์บางรุ่นปรับตัวดีขึ้น แต่บางรุ่นมีชะลอการจอง ส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อเปราะบาง และยอดผลิต/การจัดส่งต้องใช้เวลาในการส่งมอบ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ