กลุ่มหุ้นร.พ.ดิ้นหนีกฎเหล็ก คุมราคายา ตั้งสำรองปกส. ชี้ BCH โตโดดเด่น

06 มิ.ย. 2562 | 06:47 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มิ.ย. 2562 | 13:34 น.
1.6 k

 

นักวิเคราะห์มองหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลเป็นลบหลังรัฐบังคับใช้มาตรการคุมราคายา, เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ คาดปรับขึ้นค่ารักษายาก ด้านร..รับประกันสังคมต้องตั้งสำรองค่าใช้จ่ายเพิ่ม ชี้ BCH โตโดดเด่นสุดในกลุ่มรับประกันสังคม

จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่มีมลพิษ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์มากขึ้น แต่โรคภัยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในกลุ่มโรงพยาบาล ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพ และยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้หายจากอาการเจ็บป่วย แม้บางแห่งจะมีค่ารักษาแพงก็ตาม

นางสาวปิยะฉัตร รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ออกมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับราคายา, เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันหลังประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 มองว่าเป็นลบต่อกลุ่ม เนื่องจากสะท้อนธุรกิจโรงพยาบาลจะถูกกํากับดูแลโดยกระทรวงพาณิชย์ด้วย นอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล ทำให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนทุกรายต้องปฏิบัติตามกฎ กลุ่มหุ้นร.พ.ดิ้นหนีกฎเหล็ก  คุมราคายา ตั้งสำรองปกส. ชี้ BCH โตโดดเด่น

อย่างไรก็ตาม คาดว่ากฎในปัจจุบันจะมีผลกระทบจํากัดต่อการดําเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน แต่กฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของกลุ่มซึ่งการเพิ่มความโปร่งใสของราคาจะไม่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญของจํานวนผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลเอกชน แต่อาจทําให้การเพิ่มราคาขึ้นไปอีก ทำได้ยากมากขึ้น ทั้งนี้ยังคงมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่มการแพทย์ แม้จะเชื่อว่าราคาหุ้นในกลุ่มถูกปรับลดไปแล้วตั้งแต่ต้นปีนี้ เพื่อสะท้อนสถานการณ์เรื่องการควบคุมด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น

 

 

บทวิเคราะห์บล.ไทยพาณิชย์  จำกัด มองว่า ในไตรมาส 2 ปี 2562 กรณีเลวร้าย บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) (บมจ.) (BCH ) ต้องตั้งสํารองค่าใช้จ่ายจํานวน 60 ล้านบาท จากการที่สํานักงานประกันสังคมจ่ายเงินจริงสําหรับการให้บริการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยแบ่งเป็นการตั้งสํารองเต็มจํานวน 40 ล้านบาท สําหรับจํานวนเงินจ่ายจริงที่ตํ่ากว่าที่บันทึกเป็นรายได้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 และ 20 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 50% สําหรับจํานวนเงินจ่ายจริงตํ่ากว่าที่บันทึกเป็นรายได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2560 ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบจะลดน้อยลง เพราะจะได้รับการชดเชยบางส่วนจากรายได้การรักษาโรคเรื้อรัง 26 โรค

รายงานข่าวจากตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1 ปี 2562 บจ.ในกลุ่มโรงพยาบาล 5 แห่ง คือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) (BDMS), บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) (BCH), บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (BH), บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) (PR9) และ บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) (VIBHA) มีกำไรสุทธิรวม 9,964.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,503.96 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2561 ที่มีกำไรสุทธิที่ 4,460.38 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ BDMS จำนวน 5,519.61 ล้านบาท

 

บทวิเคราะห์บล. เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ในปี 2562 กําไรสุทธิของกลุ่มโรงพยาบาล จะเติบโต 49% หรือ 23,226 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกําไรจากการขายหุ้น บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) (RAM) ของ BDMS ที่สูงถึง 6,000 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายพิเศษตาม ... คุ้มครองแรงงานใหม่ ที่บันทึกในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้รวม 826 ล้านบาท คิดเป็นผลกระทบ 4.6% ของกําไรจากการดําเนินงาน โดย PR9 ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการมีพนักงานที่ทํางานมานาน ส่วน BCH และ บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) (CHG) กระทบน้อยสุด

นอกจากนี้หากพิจารณาเฉพาะกําไรจากการดําเนินงานปกติปี 2562 คาดจะเติบโต 8.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการเติบโตตามปกติ โดยในงวดไตรมาสแรกปีนี้กําไรของ BCH จะเติบโตโดดเด่นสุดอย่างน้อย 203% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากทุกกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งกลุ่มประกันสังคมจะเติบโตตามจํานวนผู้ประกันตนที่เพิ่มประมาณ 9-10% สูงกว่าโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมอื่นๆ

 

หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,476 วันที่ 6-8 มิถุนายน 2562 

กลุ่มหุ้นร.พ.ดิ้นหนีกฎเหล็ก  คุมราคายา ตั้งสำรองปกส. ชี้ BCH โตโดดเด่น