ต่างชาติแห่ออกบาทบอนด์ เหตุดอกเบี้ยตํ่าสภาพคล่องสูง คลังลั่นต้องซื้อสินค้าไทย

06 ธ.ค. 2561 | 18:05 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2561 | 01:05 น.
675
หลังจากที่กระทรวงการคลังได้เปิดโอกาสให้นิติบุคคลต่างประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2549 โดยจะเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นขออนุญาตได้ 3 ครั้งในเดือนมีนาคม กรกฎาคม และพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งพบว่าได้รับความสนใจจากนิติบุคคลต่างประเทศจำนวนมาก

นายอภิศักดิ์ตันติวรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับตํ่า ทำให้นิติบุคคลต่างประเทศ นิยมมาระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทกันมากขึ้น แต่กระทรวงการคลังต้องการให้สภาพคล่องในประเทศ เป็นเงินที่คนไทยได้ใช้ ไม่เช่นนั้นเราเองบีบดอกเบี้ยให้ถูกขนาดนี้ ผู้ฝากเงินก็ได้ดอกเบี้ยที่ถูกแบบนี้ แต่จะให้ประเทศอื่นมาเอาผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ถูกไปเพื่ออะไร ดังนั้นจึงมีข้อกำหนดว่าจะออกพันธบัตรเป็นสกุลเงินบาทได้แต่ต้องเป็นการใช้เงินในไทยด้วย

อย่างปีนี้ กระทรวงการคลังอนุญาตให้กระทรวงการเงินของ สปป.ลาวออกพันธบัตรสกุลเงินบาท เพื่อระดมทุนไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน สปป.ลาว วงเงินรวม 55,500 ล้านบาท โดยออกขายพันธบัตรสกุลเงินบาทแล้ว 8 ครั้งในช่วงปี 2556 - 2561 วงเงินรวมทั้งสิ้น  45,690 ล้านบาท ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่สนับสนุนให้ สปป.ลาว สามารถระดมทุนนอกประเทศได้สำเร็จเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคและเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันของอาเซียน MP19-3424-A

“อย่างลาวที่มาออกพันธบัตร เราก็จะมีข้อบังคับว่า จะต้องใช้เงินซื้อสินค้าในประเทศเรา ซึ่งลาวเขาเองก็จะสะดวก เพราะส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าจากไทยอยู่แล้ว อย่างเหล็กปูน เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและนั่นยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยื่นจะขอออกบาทบอนด์ด้วย”

นอกจากนั้นการที่สภาพคล่องในไทยสูงมาก จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การระดมทุนประสบความสำเร็จ ซึ่งกระทรวงการคลังไม่ได้ดูแลสภาพคล่องของตลาดได้ แต่เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่จะดูแลเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องที่จะต้องทำให้เกิดสมดุล และหัวใจสำคัญคือเรื่องเสถียรภาพเป็นตัวหลัก เมื่อเสถียรภาพนิ่ง ก็น่าจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้

นอกจากนั้น การอนุญาตให้นิติบุคคลต่างประเทศสามารถออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศแต่ละครั้ง กระทรวงการคลังจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อการออกหุ้นกู้ของภาคเอกชนไทย โอกาสที่นักลงทุนในประเทศสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม การส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย และผลกระทบต่อตลาดการเงินของไทยด้วย

[caption id="attachment_356165" align="aligncenter" width="335"] เพิ่มเพื่อน [/caption]

ทั้งนี้นิติบุคคลต่างประเทศที่เคยระดมทุนในไทยด้วยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทมาแล้วเช่น Ovd0kdoyho(1) Central American Bank for Economic Integration(CABEI)วงเงิน 4,000 ล้านบาท ING Bank NV (ING) วงเงิน 10,000 ล้านบาท และ The Export - Import Bank of Korea (KEXIM) วงเงิน 8,000 ล้านบาท

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3424 ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2561 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว