วิธีซื้อสินค้าท้องถิ่น ให้ได้สิทธิ “Easy E-Receipt 2.0” ลดหย่อนภาษี 5 หมื่น

16 ม.ค. 2568 | 15:40 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ม.ค. 2568 | 15:45 น.

มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท เริ่มแล้วตั้งแต่ 16 ม.ค.นี้ “ฐานเศรษฐกิจ” แนะวิธีซื้อสินค้าตามเงื่อนไขรัฐกำหนด

มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ.68 แบ่งเป็น

  • ส่วนแรก 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการทั่วไป
  • ส่วนที่สอง 20,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าจากวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP

ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนสินค้า OTOP ในประเทศ หรือสินค้าท้องถิ่นนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้สามารถซื้อเฉพาะสินค้า OTOP เพื่อลดหย่อนภาษีทั้งหมด 50,000 บาท ได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หลายท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อสินค้า OTOP อย่างไร ให้ได้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0  “ฐานเศรษฐกิจ” จึงได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อมาอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจมากขึ้น และเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ของที่สุด ดังนี้

ร้านค้า OTOP ที่เข้าเงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0

  • ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน  
  • ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  • ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

ร้านค้า OTOP ที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2.0 ได้

  • ร้านค้าเข้าร่วมใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการเข้าร่วม Easy E-Receipt 2.0

  • เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
  • หรือที่ https://etax.rd.go.th/ETAXSEARCH/normal_person.html 

วิธีการซื้อสินค้า OTOP ให้ได้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0

  • เมื่อผู้เสียภาษีซื้อสินค้า หรือใช้บริการร้าน OTOP ให้ขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
  • ระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อความถูกต้องและครบถ้วน  ในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี