สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดข้อมูลครัวเรือนฐานรากของไทย ปี 2564 เพื่อพิจารณาว่าครัวเรือนของไทยมีสถานะทางรายได้อย่างไร โดยแบ่งครัวเรือนไทยตามระดับรายได้ ออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ตั้งแต่กลุ่มคนจนสุด คนรวยสุด ซึ่งจะมีการเทียบรายได้ และทรัพย์สิน ห่างกันกี่เท่า
ทั้งนี้ตามเกณฑ์ของครัวเรือนไทยทั้ง 5 กลุ่ม เรียงลำดับจากน้อยไปหามากแต่ละกลุ่มมีสัดส่วนกลุ่มละ 20% ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบไปด้วย
- กลุ่มที่ 1 ครัวเรือนฐานราก ซึ่งเป็นครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุด หรือกลุ่มคนจนสุด
- กลุ่มที่ 2 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยสุด
- กลุ่มที่ 3 ครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลาง
- กลุ่มที่ 4 ครัวเรือนที่มีรายได้มาก
- กลุ่มที่ 5 ครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุด หรือกลุ่มคนรวยสุด
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบรายได้ระหว่างกลุ่มครัวเรือนฐานราก และกลุ่มครัวเรือนที่มีมากที่สุด เรียกง่าย ๆ ว่า กลุ่มคนจนสุดกับคนรวยสุด พบข้อมูลดังนี้
- กลุ่มคนจนสุดมีรายได้เพียงแค่ 11,135 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- กลุ่มคนรวยสุดมีรายได้ 57,461 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกล่มคนจนสุดเมื่อเทียบกับคนรวยสุดห่างกันมากถึง 5.2 เท่า
- ส่วนใหญ่ครัวเรือนยากจนสุดกว่า 70% อยู่ในภาคเกษตร
เมื่อพิจารณารายละเอียดรายได้ และค่าใช้จ่ายของกลุ่มต่าง ๆ ยังพบข้อมูลด้วยว่า
- กลุ่มที่ 1 มีรายได้ 11,135 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย 12,536 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- กลุ่มที่ 2 มีรายได้ 16,852 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย 15,480 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- กลุ่มที่ 3 มีรายได้ 22,106 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย 18,868 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- กลุ่มที่ 4 มีรายได้ 29,211 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย 23,818 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- กลุ่มที่ 5 มีรายได้ 57,461 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่าย 37,383 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
สำหรับครัวเรือนจนที่สุดกระจายตัวอยู่ตามภาคต่าง ๆ ดังนี้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42.4%
- ภาคเหนือ 24.9%
- ภาคใต้ 14.9%
- ภาคกลาง 14.6%
- กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ 3.2%
เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินของครัวเรือน ด้านมูลค่าบ้านและสิ่งปลูกสร้าง พบว่า ห่างกันถึง 3 เท่า นั่นคือ
- กลุ่มคนจนสุด มีมูลค่าบ้านและสิ่งปลูกสร้างรวมกัน 4.2 ล้านล้านบาท
- กลุ่มคนรวยสุด มีมูลค่าบ้านและสิ่งปลูกสร้างรวมกัน 10.8 ล้านล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินของครัวเรือน ด้านมูลค่ายานพาหนะ (ยกเว้นจักรยาน) พบว่า ห่างกันถึง 4 เท่า นั่นคือ
- กลุ่มคนจนสุด มีมูลค่ายานพาหนะรวมกัน 5.5 แสนล้านบาท
- กลุ่มคนรวยสุด มีมูลค่ายานพาหนะรวมกัน 2.4 ล้านล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินของครัวเรือน ด้านมูลค่าสินทรัพย์เพื่อการออม พบว่า ห่างกันถึง 13 เท่า นั่นคือ
- กลุ่มคนจนสุด มีมูลค่าสินทรัพย์เพื่อการออมรวมกัน 2 แสนล้านบาท
- กลุ่มคนรวยสุด มีมูลค่าสินทรัพย์เพื่อการออมรวมกัน 2.5 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงด้านหนี้สินแล้ว พบข้อมูลน่าสนใจว่ามากกว่าครั้งหนึ่งของครัวเรือนจนที่สุดเป็นคัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยเป็นหนี้สินเพื่อการทำเกษตร 25.7% ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ ในครัวเรือน 18.6% และอื่น ๆ เช่น ใช้ในการทำธุรกิจที่ไม่ใช่เกษตร ใช้ซื้อ/เช่าบ้าน และใช้ในการศึกษา 18.6%