เรียนรู้ความสำเร็จเวียดนาม แล้วต้องย้อนกลับมาดูประเทศของเราด้วย

07 พ.ย. 2563 | 11:55 น.
อัปเดตล่าสุด :07 พ.ย. 2563 | 18:58 น.
1.8 k

คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ  โดย  รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,625 หน้า 5 วันที่ 8 - 11 พฤศจิกายน 2563

 

กุญแจสู่ความสำเร็จอีกหนึ่งดอกของความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม คือ ต้องรู้จักแยกแยะระหว่าง ข้อขัดแย้ง ข้อพิพาท กับ ผลประโยชน์ที่สามารถแสวงหาร่วมกันได้ ออกจากกัน ต้องรู้จักสร้างเส้นแบ่ง 

 

แม้จีนกับเวียดนามอาจจะมีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ แต่ในเรื่องการค้าและการลงทุน จีนคือคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เวียดนามได้รับเงินลงทุนจากจีนสูงที่สุด และมีมูลค่าการค้ากับจีนมากที่สุด เท่านั้นยังไม่พอ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา นักการทูต และนักวิชาการจีนจำนวนมาก ก็กำลังกล่าวถึง โอกาสที่จะสร้างความร่วมมือกับเวียดนามในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอ่าวตังเกี๋ย (Beibu Economic Belt (뻔굇꼬袞쒔셌홀) หรือ Gulf of Tonkin Economic Belt in ร่วมกัน

 

อ่าวตังเกี๋ย หรือที่จีนเรียกว่า เป่ยปู้ คือบริเวณส่วนหนึ่งของทะเล จีนใต้ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่าง 2 ประเทศ แต่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันในทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ฝ่ายจีนและฝ่ายเวียดนามต้องการจะเชื่อมโยงอ่าวแห่งนี้เข้าด้วยกันในมิติ การค้า การลงทุน การเดินเรือ การประมง การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

 

โดยพื้นที่เป้าหมายของฝ่ายจีนคือ เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง หรือ มณฑลกวางสี, มณฑลกวางตุ้ง (ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเขตพัฒนา Greater Bay Area ของจีน) และ มณฑลไห่หนาน (เกาะไหหลำ) เข้ากับพื้นที่เป้าหมายของฝ่ายเวียดนามคือ ฮานอย หายฝ่อง (หรือ ไฮฟอง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนามที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปกแม่นํ้าแดง และภาคกลางตอนเหนือของเวียดนาที่ประกอบไปด้วยจังหวัดห่าติ๋ญ กว๋างบิ่ญ กว๋างจิ เหงะอาน 

 

ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ ในความเป็นจริงประเทศไทยของเราเองก็มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในมิติที่ไทยเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรายใหญ่ในพื้นที่นี้ และใช้พื้นที่ในการขนส่งสินค้าจากระเบียงเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor (นิยมเรียกกันว่า เส้นทางหมายเลข 9) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 และ แห่งที่ 3 เพื่อไปค้าขายกับทั้งเวียดนามและจีนอยู่แล้ว รวมทั้งยังมีศักยภาพในการเชื่อมโยงพื้นที่นี้กับ โครงการ EEC อีกด้วย

 

 

 

จะเห็นได้ว่า ในกรณีของเวียดนาม-จีน กรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ก็ปล่อยให้ขัดแย้งไป แต่เวียดนามก็มีหลักการที่ชัดเจนคือ หลักการ The Three NOs หรือหลักการ 3 ไม่ นั่นคือ ไม่มีพันธมิตรทางทหาร (no military alliances)​ ไม่มีกองทหารต่างชาติที่ประจำการในเวียดนาม (no foreign troops stationed on Vietnamese soil) และไม่มีพันธมิตรกับอำนาจต่างชาติเพื่อต่อสู้กับอีกฝ่าย (no partnering with a foreign power to combat another) และเมื่อหลักการชัดเจน เป้าหมายชัดเจน การแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ที่เป็นความขัดแย้งก็สามารถเกิดขึ้นได้

 

เมื่อพิจารณาเวียดนามแล้ว สิ่งที่ต้องย้อนกลับมาพิจารณาประเทศไทย คงมีอยู่ใน 2 มิติที่สำคัญ นั่นคือ

 

เรียนรู้ความสำเร็จเวียดนาม แล้วต้องย้อนกลับมาดูประเทศของเราด้วย

 

 

เราจะสามารถเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจเหล่านี้ เข้ากับโครงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ ต่างๆ ของประเทศไทยได้มาก-น้อยเพียงใด โดยเฉพาะเชื่อมโยงกับ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชาย แดน และระบบรางรถไฟที่ในเดือนธันวาคม 2021 ทางรถไฟที่จะเชื่อมโยง จีนลงมาจนถึงชายแดน สปป.ลาว ที่ใกล้ๆ กับสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 1 ก็จะเปิดใช้

 

 

 

ไทยเราจะสามารถแยกแยะระหว่างความขัดแย้ง กับความร่วมมือ และรู้จักยับยั่งชั่งใจ ที่จะไม่คึกคะนอง รู้เท่าไม่ถึงการในลักษณะของการสร้างความขัดแย้งกับมหาอำนาจโดยไม่จำเป็นได้หรือไม่ โดยเฉพาะ ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถึงแม้จะมีการชุมนุมอย่างสงบ และมีข้อเรียกร้องชัดเจน 3 ข้อ แต่ในบางครั้งความคึกคะนอง และกระแสในโลกโซเชียล โดยเฉพาะใน Twitter ที่มีกลุ่มผู้ใช้จำนวนหนึ่งจากไทย ฮ่องกง และไต้หวัน ไปสร้างแนวร่วมพันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) ในโลกเสมือนจริงเพื่อเรียกร้องในประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน

 

โดยเฉพาะ ในเรื่องนโยบายจีนเดียว (One-China Policy) ซึ่งไทยไม่ได้มีส่วนได้ส่วน เสียกับเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่การไปเรียกร้อง ไปทำป้าย ไปตะโกน โดยที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกลับรังแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งซึ่งอยู่นอกเหนือจากประเด็นที่ตนเองเรียกร้อง และยังสร้างความไม่พอในในระดับระหว่างประเทศอีกด้วย

 

เรียนรู้ความสำเร็จของเวียดนาม แล้วคงต้องย้อนกลับมาดูประเทศของเราด้วย