มาตรการ Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) คืออะไร หลังรัฐบาลเตรียมปัดฝุ่น

29 ต.ค. 2567 | 03:03 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ต.ค. 2567 | 10:55 น.
1.0 k

มาตรการ Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) คืออะไร หลัง กกร. เสนอให้รัฐบาลเตรียมปัดฝุ่นกลับมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

มาตรการ Easy E-Receipt รัฐบาลกำลังเตรียมปัดฝุ่นกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  ประกอบไปด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ได้เข้าพบ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดย กกร.ได้มอบ “สมุดปกขาว” ซึ่งเป็นข้อเสนอของภาคเอกชน เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เสนอให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา

หนึ่งในข้อเสนอ คือ มาตรการ Easy e-Receipt ดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มที่รัฐบาลเตรียมปัดฝุ่นมาตรการ Easy e-Receipt กลับมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง

 

มาตรการ Easy E-Receipt (ชื่อเดิม : e-Refund) คืออะไร

  • มาตรการ Easy E-Receipt (ชื่อเดิม : e-Refund) เป็นมาตรการเพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ถูกนำมาแทนช้อปดีมีคืน 2567 มีเงื่อนไขที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2568 เท่านั้น

  • โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บุคคลธรรรมดา เป็นอีกหนึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท มาใช้หักลดหย่อนภาษีได้โดยหลักการคล้ายกับโครงการช้อปดีมีคืน แต่มีบางเงื่อนไขที่ปรับใหม่ กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการตามที่กฎหมายกำหนด สูงสดถึง 50,000 บาท ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 443)

มาตรการ Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) คืออะไร

  • Easy E-Receipt แตกต่างกับช้อปดีมีคืน ตรงรูปแบบใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐาน และ จำนวนวนวงเงินที่ใช้ลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น และ ต้องเป็นสินค้า-บริการ จากร้านที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e- Receipt ของกรมสรรพากร เท่านั้น
  • โดยมาตรการ Easy E-Receipt นี้ จะต้องรอลดหย่อมภาษีในปีภาษี 2567 (ช่วงวันที่ วันที่ 1 ม.ค.- มี.ค.2568) ที่เป็นการซื้อสินค้าและบริการในช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 2567 ที่มีใบกำกับภาษี e-Tax Invoice & e-Receipt เท่านั้น โดยในขั้นตอนยื่นแบบแสดงรายการภาษี จะมีช่องที่ให้กรอกส่วนลดค่าลดหย่อนภาษี ที่ให้กรอกตัวเลขมูลค่าสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ สินค้าที่มีภาษี 796 มาบวกรวมกัน

ที่มา: กรมสรรพากร