เปิดโปรไฟล์ คณะอนุฯแฟชั่น ซอฟต์พาวเวอร์ หลังลาออกยกแผง

02 ก.พ. 2567 | 18:51 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.พ. 2567 | 10:33 น.
1.6 k

เปิดประวัติ “กมลนาถ องค์วรรณดี” ประธานคณะอนุกรรมการฯด้านแฟชั่น ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ พร้อมคณะอนุกรรมการ 25 คน หลังประกาศยุติการดำเนินงาน

เป็นที่หน้าจับตามองมาก หลังจากที่ "กมลนาถ องค์วรรณดี" ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น ในฐานะตัวแทนคณะอนุกรรมการและที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้ทำเอกสารเรื่อง ขอยุติการดำเนินงานในตำแหน่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 พร้อมคณะที่ปรึกษาอนุกรรมการและอนุกรรมการ ทั้งหมด 25 คน

เปิดประวัติ-แนวคิด “กมลนาถ”

"กมลนาถ องค์วรรณดี" ปัจจุบันร่วมทำงานกับกลุ่ม “Fashion Revolution Thailand” ซึ่งเป็นเครือข่ายเคลื่อนไหวแฟชั่นที่เป็นธรรมและยั่งยืน รวมกันกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

ด้วยประสบการณ์จากการฝึกงานและทำงานเกี่ยวกับแฟชั่นมาหลากหลาย ปี 2018 กมลนาถ องค์วรรณดี จึงได้เริ่มจัด Fashion Revolution ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี 2021 ได้สร้างความเคลื่อนไหวผ่านแฮชแท็ก #WhoMadeMyClothes เพื่อสร้างความรู้เรื่องแฟชั่นในมุมกว้างในโลกออนไลน์

รวมถึงได้เขียนบล็อก Vanillawalk และการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution ประเทศไทย ที่ได้สร้างมูฟเมนต์ให้คนตระหนักถึงปัญหาของ Fast Fashion ผ่านกิจกรรมมากมายภายใต้ ‘Fashion Revolution Week’ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี โดยมีแคมเปญอย่าง Clothes Swap หรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเสื้อผ้ามือ 2 เพื่อเป็นการลดขยะจากการบริโภคแฟชั่นที่มากเกินไป รวมถึงแคมเปญการติดเเฮชเเท็ก #WhoMadeMyClothes

ช่วงที่ผ่านมา กมลนาถ องค์วรรณดี ถูกคัดเลือกให้เป็น ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น  ซึ่งสิ่งที่เธออยากผลักดันที่สุด คือ Slow Fashion ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามของ Fast Fashion ด้วยการหันมาสนับสนุนแบรนด์ท้องถิ่น ให้คุณค่ากับกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทาง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับชาวบ้าน รวมถึงการสนับสนุนการใช้เสื้อผ้ามือสองที่จะช่วยลดวงจรการทำลายโลก

โดยช่วงวันที่ 17 มกราคม 2567 กมลนาถ องค์วรรณดี ได้โพสต์ข้อความพร้อมแชร์โพสต์ ของเพจ Uninspired by Current Events เรื่อง Creative Tourism ซึ่งเป็นภาพของเด็กนักเรียนแข่งกันใส่กางเกงช้าง ว่า ซึ่งมีเนื้อหาว่า “คณะอนุกรรมการสาขาแฟชั่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับไอเดีย Guinness นี้นะคะ อยากเห็นหน้าคนอนุมัติงบมาก

ห้ามก็ไม่ได้ ปรึกษาก็ไม่ปรึกษา คิดกันเองเห็นดีเห็นงามกันเอง ทำแล้วได้อะไรคะ ทีมเอกชนอาสาทำงานกันหนักมากเพื่องางกรอบคิดพัฒนาอุตสาหกรรมในขณะที่หน่วยงานทำอีเวนท์จุดพลุแล้วไงต่อ สร้าง Value อะไรขึ้นมา

ฝากหน่วยงานทุกหน่วยงานทุกหน่วยที่อยากเอาใจนาย ก่อนจะทำอะไรปรึกษาหารือกรรมการยุทธศาสตร์ หรือคิดให้รอบด้านด้วยค่ะ เงินภาษีประชาชน”

เปิดโปรไฟล์ คณะอนุฯแฟชั่น ซอฟต์พาวเวอร์ หลังลาออกยกแผง

ประวัติที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ

นอกจาก กมลนาถ องค์วรรณดี แล้ว คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น ยังมีอนุกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวงการแฟชั่นอีกหลายคน ดังนี้

"กุลวิทย์ เลาสุขศรี"  บรรณาธิการบริหารนิตยสารแฟชั่นชาวไทย จบการศึกษาสาขาการออกแบบแฟชั่นที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา 

เคยทำงานให้กับนิตยสารแอล ของประเทศไทยในปี 2540 - 2555  และปี 2556 รับตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้กับนิตยสาย โว้กไทยแลนด์ จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นกรรมการในโครงการของโว้กฮูออนเน็กซ์ เดอะโว้กแฟชั่นฟันด์ และกรรมการตัดสินในรายการเดอะเฟชไทยแลนด์ ซีซั่น 1-3

"พลพัฒน์ อัศวะประภา"  เจ้าของ ASAVA Group ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจ เสื้อผ้า 5 แบรนด์ ได้แก่ ASAVA, ASV, WHITE ASAVA, Uniform by ASAVA และ MOO ส่วนธุรกิจร้านอาหารภายใต้ ASAVA Group ได้แก่ SAVA Dining ที่เอ็มตวอเทียร์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโค-ลิมิเต็ด ที่ศูนย์การค้าเวลา สินธร วิลเลจ, สยามพารากอน และเอ็มสเฟียร์รวมถึงโค โก ราวด์ ที่เซ็นทรัลเวิลด์

และเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าและนักธุรกิจชาวไทยโดยได้รับการยกย่องให้เป็น Personal Stylist ทางด้านแฟชั่นดีไซน์ และเป็นคนแรกของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่ง “นายกสมาคมแฟชั่นดีไซเนอร์ กรุงเทพ” (Bangkok Fashion Society-BFS) เคยเป็นเมนเทอร์ในรายการ เดอะเฟซเมนไทยแลนด์

"พิชัย จิราธิวัฒน์" กรรมการและกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และกรรมการ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อีกทั้งการดำรงตำแหน่งในบริษัทและกิจการอื่น ๆ จำนวน 26 บริษัท

วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี BBA, Azusa Pacific University ประเทศสหรัฐอเมริกาปริญญาโn Marketing, Pitzer College ประเทศสหรัฐอเมริกา

"ภานุ อิงคะวัต" นักสร้างสรรค์งานโฆษณา และนักออกแบบแฟชั่น เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท เกรย์ฮาวด์ แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523

จบการศึกษาด้านกราฟิกดีไซน์ จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เข้าสู่วงการโฆษณาที่บริษัท ดีทแฮล์มแอดเวอร์ไทซิ่ง (ปัจจุบันคือบริษัท ลีโอ เบอร์เนทท์ (ประเทศไทย) เป็นเวลา 25 ปี  จนดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นครีเอทีฟไดเรคเตอร์ และประธานกรรมการผู้บริหารของ บริษัท ลีโอ เบอร์เนทท์ (ประเทศไทย) มีผลงานได้รับรางวัลในระดับประเทศคือ TACT Award, B.A.D.Award (Bangkok Art Directors' Association) มาหลายชิ้น และปัจจุบันก็ยังได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการตัดสินและบรรยายพิเศษเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และงานโฆษณาอยู่บ่อยครั้ง

และได้ผันตัวเองมาอยู่ในวงการออกแบบแฟชั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และยังคงเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับบริษัท ลีโอ เบอร์เนทท์ รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในสมาคมอื่นๆ เช่น นายกสมาคมแฟชั่นดีไซเนอร์กรุงเทพ

"มลลิกา เรืองกฤตยา" เจ้าของแบรนด์ คลอเส็ท  ผู้ผลิตเสื้อผ้า เธอเรียนจบระดับปริญญาโทด้านการตลาดจาก Bentley University สหรัฐอเมริกา และเคยถูกคัดเลือกให้เป็นนายกสมาคมแฟชั่นดีไซเนอร์กรุงเทพฯ หรือ BFS

"อนุชา ทีรคานนท์" คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการจัดการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นคณะอนุกรรมการที่ปรึกษา พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (หอรัษฎากรพิพัฒน์) ในพระบรมมหาราชวัง

วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เรียนจบด้านวารสารศาสตร์บัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาโท เรียนจบด้าน Master of Science (Journalism) West Virginia University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปริญญาเอก เรียนจบด้าน Doctor of Philosophy (Journalism) West Virginia University ประเทศสหรัฐอเมริกา

"อนุพงศ์ คุตติกุล" ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Carnival (คาร์นิวัล) เรียนจบโรงเรียนอัสสัมชัญ ก็ไปเรียนต่อคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วได้ไปเรียนต่อปริญญาโท E-Business ที่ University of Hertforshire ประเทศอังกฤษ พอจบมาก็เข้ามาทำงานเป็นผู้บริหารของบริษัท แพลตินั่มออโต้ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งให้บริการรถเช่า

"อโนทัย ชลชาติภิญโญ" อาจารย์แลหลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น

ส่องงบฯ  ซอฟต์พาวเวอร์ แฟชั่น

สำหรับ งบประมาณซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลเพื่อไทย ภายใต้การบริหารของเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ นั้น มีข้อมูลจาก rocketmedialad  ระบุว่า มี 11 สาขา 54 โครงการ รวม 5,201,295,179 บาท  แต่หากจะเจาะลึกไปที่แง่มุมของ งบประมาณ ด้านแฟชั่น  จะใช้เงินทั้งสิ้น 268,900,000 บาท หรือ  คิดเป็น 5.17 %  ของงบ Soft Power ทั้ง 11 สาขา ที่ใช้รวม  5.2 พันล้านบาท