ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

08 ม.ค. 2567 | 12:59 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ม.ค. 2567 | 17:54 น.
1.6 k

เกษตรกรโคนมเฮลั่น “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อกิโลกรัม มีผลทันที พร้อมเช็ครับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ ใช้งบ 1,680 ล้านบาท หลังเป็นต้นเหตุสำคัญทำเกษตรกรเจ๊ง เลิกเลี้ยงลามนํ้านมดิบวิกฤตขาด

นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ และกรรมการในคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ (8 ม.ค.67) มีการประชุมมิลค์บอร์ด มีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานสาระสำคัญที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบปรับราคากลางน้ำนมดิบขึ้นอีกกิโลกรัม(กก.)ละ  2.25 บาท

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

แบ่งเป็น 1.หน้าศูนย์รวบรวมนม จาก 19 บาท บวกเพิ่ม  2.25 บาท/กก. ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น เป็น 21.25 บาท/กก. และ 2. ราคาหน้าโรงงาน จากราคาน้ำนมดิบ 20.5 บาทต่อ กก. บวกเพิ่มอีก 2.25 บาท/กก.เป็น 22.75 บาท/กก. มีผลทันที

 

 

 

 

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

 

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

 

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯ ยังได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์ รวมทั้งแนวทางอื่น ๆ ในการปรับลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเลี้ยงโคนมได้อย่างยั่งยืน เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโคนมภายใต้วิกฤตอาหารสัตว์ราคาแพง  ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี งบประมาณ 1,680 ล้านบาท  แบ่งเป็น สินเชื่อจากสถาบันการเงิน 1,500 ล้านบาท และงบกลาง 180 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งประเทศที่จะเข้าร่วมโครงการ

สำหรับคุณสมบัติของเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ

1.เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์

2.มีจำนวนแม่โครีดนมไม่เกิน 50 แม่ ณ วันยื่นขอสินเชื่อ

3.เป็นสมาชิกและจำหน่ายน้ำนมดิบให้แก่ศูนย์รวบรวมน้ำนมติบของสหกรณ์โคนม หรือ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของภาคเอกชนที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

4.เป็นเกษตรกรที่มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

5.มีรายละเอียดของแผนการลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์ การพัฒนาฟาร์มใช้ประกอบการขอสินเชื่อ

6.ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาที่บทกำหนดโทษจำคุกเกิน 1 ปี

7.มีหลักประกันงินกู้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ต่อไปนี้

-ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิ์สามารถจตทะเบียนจำนองได้ หรืออาคารชุด

บุคคลค้ำประกัน หรือ หลักประกันอื่น ๆ ที่สถาบันการเงินกำหนด

หลักเกณฑ์การขอใช้สินเชื่อของเกษตรกร

1.เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนสำหรับการจัดซื้อ จัดหาอาหารสัตว์สำเร็จรูป อาหารหยาบ วัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับใช้เลี้ยงโคนมในฟาร์ม หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับฟาร์มโคนม หรือปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐาน

2. กรอบวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 200,000 บาท และหรือ รวมกันทุกรายที่สมัครเข้าร่วมโครงการไม่เกินวงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยคณะกรรมการบริหารโครงการและสถาบันการเป็นผู้พิจารณา

3. เกษตรกรจะรับผิดชอบภาระดอกเบี้ยตามที่สถาบันการเงินกำหนด โดยภาครัฐจะช่วยเหลือลดภาระค่าดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน (ธกส ) ให้แก่เกษตรกรผู้ที่มีคุณสมบัติและได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการร้อยละ 4 (ปัจจุบัน ดอกเบี้ย MRR ร้อยละ 6.975 เกษตรกรต้องรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 2.975)

4.เกษตรกรต้องใช้คืนสินเชื่อพร้อมดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินภายในระยะเวลา 3 ปี ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือในระยะเวลาและอัตราที่สถาบันการเงินกำหนด

เปิดแบบฟอร์มการยื่นแสดงประสงค์ขอสินเชื่อ สามารถสแกนคิวอาร์โค๊ด ได้เลย!

สแกนคิวอาร์โค๊ด "องค์กรโคนม" 

 

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.

 

สแกนคิวอาร์โค๊ด "เกษตรกร"

 

ด่วน ! “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อ กก.