เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

11 ก.ค. 2566 | 17:51 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ค. 2566 | 17:51 น.
3.8 k

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เฮลั่น "กรมการค้าภายใน” คิกออฟ “โครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปี 2566” รายละไม่เกิน 10,000 บาท คลิกตรวจสอบสิทธิ feed.dit.go.th เช็คเงื่อนไข- ขั้นตอนการสมัคร ด่วน

จากปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่งผลให้หลายภูมิภาคทั่วโลกต้องเผชิญกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงไทย ซึ่งต้องนำเข้าธัญพืช อาทิ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สำคัญในการเลี้ยงสัตว์ได้แก่ "สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ" โดยต้นทุนอาหารสัตว์มีสัดส่วนร้อยละ 50-70 ของต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ความผันผวนของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ย่อมส่งผลอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของไทยที่ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ถึงปัจจุบัน

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรมการค้าภายในซึ่งมีพันธกิจในการส่งเสริมพัฒนา สร้างโอกาสและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกร รวมถึงกำกับดูแลราคา ปริมาณ และการแข่งขันในสินค้าและบริการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นธรรม จึงได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปี 2566 ซึ่งเป็นแนวทางในการดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

โดยผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในสินค้ากลุ่มเป้าหมายรายย่อย รายเล็ก และรายกลาง ที่ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์ และได้รับมาตรฐานระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม : Good Farming Management) หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ โดยมีจำนวนการเลี้ยงตามเกณฑ์ของกรมปศุสัตว์ ดังนี้

 

1.ผู้เลี้ยงสุกร  ไม่เกิน 5,000 ตัว

2.ผู้เลี้ยงไก่ไข่  ไม่เกิน 100,000 ตัว

3.ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ไม่เกิน 100,000 ตัว

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสนับสนุนค่าบริหารจัดการ

1.การซื้ออาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปเป็นการซื้อจากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะจากกรมปศุสัตว์ (นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา) หรือสหกรณ์การเกษตรที่ผลิตอาหารสัตว์ หรือสหกรณ์ผู้รับจำหน่ายอาหารสัตว์

ระยะเวลาการซื้ออาหารสัตว์

วันที่ 7 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2566  (1 เดือน)

ระยะเวลาการยื่นขอรับเงินสนับสนุน

วันที่ 13 กรกฎาคม-12 สิงหาคม 2566 (1 เดือน)

สนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์

ในอัตราไม่เกินกิโลกรัมละ 1 บาท ปริมาณรายละไม่เกิน 10 ตัน วงเงินสนับสนุนรายละไม่เกิน 10,000 บาท และไม่เกินกรอบวงเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ที่ได้รับอนุมัติไว้ 8 ล้านบาท

วิธีการดำเนินการ

กรมการค้าภายใน

1. ประชาสัมพันธ์โครงการ หลักเกณฑ์ฯ และขั้นตอนการยื่นขอรับสนับสนุนค่าบริหารจัดการ

2. ตรวจสอบความถูกต้องของแบบคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ (แบบ อส.1) และเอกสารของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ก่อนเสนอคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปี 2566 ให้ความเห็นชอบ และนำเสนออธิบดีกรมการค้าภายในพิจารณาอนุมัติ และโอนเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ขอรับการสนับสนุนจากโครงการฯ

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

3.กำกับดูแลให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย

4.สรุปผลการดำเนินงานรายเดือน และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตามโครงการฯ พร้อมทั้งส่งเงินคงเหลือรวมดอกผลทั้งหมดคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

 

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์

เกษตรกร ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ต้องซื้ออาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปจากผู้ผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะจากกรมปศุสัตว์ (นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา) หรือสหกรณ์การเกษตรที่ผลิตอาหารสัตว์ หรือ สหกรณ์ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ และยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ (แบบ อส.1) พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอรับการสนับสนุนฯผ่านระบบขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ รวมทั้งส่งเอกสารฉบับจริงดังกล่าวมายังกรมการค้าภายใน

กรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์ ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการฯ หลักเกณฑ์ฯ และขั้นตอนการยื่นขอรับสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ รวมถึงตรวจสอบและรับรองข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ (จำนวนสัตว์ สถานะการเลี้ยง และมาตรฐานฟาร์มที่ได้รับ) ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในแบบคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ (แบบ อส.1)

สมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ (สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ)

สมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ (สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ) ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการฯ หลักเกณฑ์ฯ และขั้นตอนการยื่นของรับสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ

ผู้ผลิตอาหารสัตว์

ผู้ผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะจากกรมปศุสัตว์(นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา) หรือ สหกรณ์การเกษตรที่ผลิตอาหารสัตว์ หรือ สหกรณ์ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์จำหน่ายอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และออกใบเสร็จรับเงินเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ

การยื่นขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการ

1.เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ดำเนินการยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่หลักเกณฑ์กำหนด ผ่านระบบขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ รวมทั้งส่งเอกสารฉบับจริงดังกล่าวมายังกรมการค้าภายใน

เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอรับการสนับสนุน

1. แบบคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ โครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปี 2566 (แบบ อส. 1)

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนคำบริหารจัดการฯ สำหรับกรณีผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนฯ เป็นนิติบุคคลต้องมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจ

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

ใบเสร็จรับเงินจากการซื้ออาหารสัตว์

(1) กรณีซื้อจากผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะจากกรมปศุสัตว์(นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา หรือ สหกรณ์การเกษตรที่ผลิตอาหารสัตว์ ต้องใช้ใบเสร็จฉบับจริง สำหรับกรณีซื้อจากบุคคลธรรมดา ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่รับอนุญาตผลิตอาหารสัตว์

(2) กรณีซื้อจากสหกรณ์ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ ต้องใช้ใบเสร็จฉบับจริงที่ผู้ยื่นคำขอได้รับจากสหกรณ์ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ และใบเสร็จฉบับสำเนาที่สหกรณ์ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ได้รับจากผู้ผลิตอาหารสัตว์

(3) สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร (Book Bank) ที่ประสงค์ให้โอนเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯโดยชื่อบัญชีต้องเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อผู้ขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ทั้งนี้ เอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร พร้อมประทับตราสำคัญของหน่วยงาน (ถ้ามี)ในเอกสารทุกฉบับ

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

ขั้นตอนการยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ

1.เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ต้องการยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ สามารถดาวน์โหลด แบบคำขอจาก "ระบบขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์" (feed.dit.go.th) หรือ ขอรับที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

2. เกษตรกรผู้เลียงสัตว์ที่ต้องการยืนคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ กรอกข้อมูลในระบบฯ ประกอบตัวย ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประขาชน หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทและจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มาตรฐานฟาร์มที่ได้รับ ปริมาณอาหารสัตว์ที่ซื้อ (ระบุเป็นกิโลกรัม) สถานที่ซื้ออาหารสัตว์ พร้อมทั้งแนบแบบคำขอรับการสนับสนุนฯ (แบบ อส.1) ที่ต้รับการรับรองและลงนามครบถ้วน (ไฟล์ภาพ หรือ ไฟล์ pdf) และเอกสารหลักฐานตามข้อ 6.2 เข้าสู่ระบบฯ

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

3.เมื่อยื่นข้อมูลตามข้อ 2 เข้าสู่ระบบครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ "เลขคำขอ" ซึ่งผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ ต้องระบุเลขคำขอที่ได้รับจากระบบ ในแบบคำขอรับการสนับสนุนฯ ฉบับจริง ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน

เช็คเงื่อนไขเกษตรกร รับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ รายละไม่เกิน 10,000 บาท

ทั้งนี้ การยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการดำเนินการถูกต้องครบถ้วน โดยฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ จะพิจารณาตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ หากถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะเสนอคณะทำงานฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบและนำเสนออธิบดีกรมการค้าภายในพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ และโอนเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ แก่ผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ ตามลำดับที่ยื่นจนครบปริมาณเป้าหมายตามกรอบปริมาณการสนับสนุน หรือสิ้นสุดระยะเวลาตามโครงการ ทั้งนี้ ให้ถือว่า ผลการพิจารณาของอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นที่สุด

การตรวจสอบและการพิจารณา

1.กรมการค้าภายในจะให้การสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ และเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ฯ ภายในกรอบวงเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ไม่เกินจำนวน 8,000,000 บาท (แปดล้านบาทถ้วน) โดยจะพิจารณาสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ ตามลำดับก่อนหลัง และจะพิจารณาจนกว่าจะครบตามกรอบวงเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ตามโครงการฯ หรือสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ

2. ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ปี 2566 ตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอฯ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในเบื้องต้น หากไม่ถูกต้อง ให้แจ้งผู้ขอรับการสนับสนุน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องภายใน 48 ชั่วโมงหากถูกต้อง ให้รวบรวมเพื่อนำเสนอคณะทำงานฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

3. เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารที่ได้รับยื่นผ่านระบบฯภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับข้อมูลในระบบฯ ซึ่งผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ สามารถตรวจสอบสถานะแบบคำขอฯ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด ได้ตลอดเวลาผ่านระบบฯ โดยใช้เลขคำขอ คู่กับเลขที่บัตรประจำประชาชน

  • กรณีที่ข้อมูลและเอกสารถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในจะติดต่อแจ้งผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้แจ้งไว้ในระบบฯ เพื่อให้จัดส่งเอกสารฉบับจริงต่อไป
  • กรณีที่ข้อมูล และ/หรือเอกสาร ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในจะติดต่อแจ้งผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนฯ ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใต้แจ้งไว้ในระบบฯ เพื่อให้ดำเนินการยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายใน 48 ชั่วโมง หากเกินกำหนดเวลา หรือไม่ถูกต้อง จะต้องยื่นแบบคำขอฯ เข้าสู่ระบบใหม่
  • ผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนฯ ต้องจัดส่งเอกสารฉบับจริง ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากกรมการค้าภายใน โดยจัดส่งมาที่ “กองส่งเสริมสินค้าเกษตร 2 (กลุ่มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ) กรมการค้าภายใน เลขที่ 563 ถนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

เมื่อผู้รับคำยื่นขอรับเงินสนับสนุนฯ ได้รับการโอนเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ  แล้วต้องจัดส่งใบยืนยันการรับเงินที่ลงชื่อแล้ว

การติดตามและกำกับดูแล

คณะทำงานฯ มีหน้าที่ติดตามกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ และหากตรวจสอบพบว่า การยื่นแบบคำขอของผู้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่คณะทำงานฯ กำหนด กรมการค้าภายในสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ หรือ เรียกคืนเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ที่ได้จ่ายแล้วบางส่วนหรือทั้งหมด และหากตรวจสอบพบว่า มีการจัดทำเอกสารเป็นเท็จ กรมการค้าภายใน จะพิจารณาเรียกเงินที่ผู้ยื่นแบบคำขอได้รับจัดสรรตามโครงการคืนทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ย และดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ มีอำนาจเชิญหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือส่งเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ กรณีมีปัญหาในการดำเนินการตามโครงการฯ ให้คณะทำงานฯเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมการค้าภายในเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และให้ถือว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นที่สุด