"เศรษฐา" ตั้งบอร์ดแก้หนี้สินนอกระบบ "กิตติรัตน์" นั่งประธาน

09 พ.ย. 2566 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ย. 2566 | 11:14 น.

นายกฯ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งกรรมการแก้หนี้สินนอกระบบ พร้อมตั้ง “ กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ประธาน มีตำรวจ ผู้แทนศธ. ร่วม

รายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ได้ลงนามในคำสั่งที่ 316 /2566 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย โดยระบุว่า ด้วยปัจจุบันประชาชนรายย่อยกำลังเผชิญกับสถานการณ์หนี้สินที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้หนี้สินของประชาชนรายย่อยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ในระยะยาว

เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับประชาชนรายย่อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพเป็นระบบ และเป็นธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ใขหนี้สินของประชาชนรายย่อยรวมทั้งสิ้น 26 คน โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และมีพลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ

สำหรับกรรมการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงยุติธรรม, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์, เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน, ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, ประธานสมาคมธนาคารไทย, ประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, พลตำรวจโท อัคราเดช พิมลศรี, นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์, นางสาวพรเพ็ญ เกียรติเฉลิมพร, นางสาวกุลกานต์ ต้นติเตมิท,นายขจร ธนะแพสย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ, และมีนางสาวนภนาง เอกอัคร, นางสาวชนิสรา โสกันด์, ผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการคือ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขสถานการณ์หนี้สินของประชาชนรายย่อย เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในระยะยาวอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา
  2. บูรณาการและติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขสถานการณ์หนี้สินของประชาชนรายย่อยให้กิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  3. เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง แสดงความคิดเห็น ส่งเอกสารให้ชัอมูล หรือดำเนินการอื่นที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการตำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
  4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ใด้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
  5. ปฏิบัติภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สำหรับข้อมูลหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวม 15.30 ล้านล้านบาท คิดเป็น 86.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)