ธ.ก.ส.-ออมสิน ปล่อยสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย รายละ 1.5 แสน เช็กด่วน

02 พ.ย. 2566 | 13:04 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ย. 2566 | 13:27 น.

ธ.ก.ส.-ออมสิน ปล่อยสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) รายละ 1.5 แสนบาท หลัง ครม.อนุมัติสินเชื่อ รวมวงเงิน 1,200 ล้าน เช็กเงื่อนไขและคุณสมบัติพร้อมอัตราดอกเบี้ยตรวจสอบรายละเอียดด่วน

ความคืบหน้าหลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) และ อนุมัติวงเงินงบฯ รวม 1,200 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ จากงบฯ ร่ายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กระทรวงการคลัง เสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานไทยที่เดินทางกลับไทยมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการเริ่มต้นประกอบอาชีพ หรือ แบ่งเบาภาระหนี้สิน

โดย นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (31 ตุลาคม 2566) มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) และอนุมัติวงเงินงบฯ วงเงินรวม 1,200 ล้านบาท จากงบฯ ร่ายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานไทยที่เดินทางกลับไทยมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการเริ่มต้นประกอบอาชีพ หรือแบ่งเบาภาระหนี้สิน


 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อชำระหนี้กู้ยืมสำหรับการไปทำงานที่อิสราเอลและ/หรือเพื่อลงทุนประกอบอาชีพ (ข้อมูลจาก กรมการจัดหางาน ณ เดือน ก.ย. 2566 มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในอิสราเอล 25,887 คน)

คุณสมบัติ

  • ผู้ที่ไปทำงานที่อิสราเอล
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์
  • รวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี
  • การให้สินเชื่อ / ชำระเงินคืน
  • รายละไม่เกิน 150,000 บาท
  • ลูกค้า "รับภาระดอกเบี้ย" ร้อยละ 1 ต่อปี
  • รัฐบาล "ชดเชยดอกเบี้ย" ร้อยละ 2 ต่อปี
  • ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 งวดแรก

ระยะเวลาชำระคืนเงินงวด

  • สูงสุดไม่เกิน 20 ปี
  • ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันนี้ - 30 มิ.ย.67
  • หรือจนกว่าครบวงเงินโครงการฯ

ธ.ก.ส.-ออมสิน ปล่อยสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย

 

งบประมาณ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 400 ล้านบาท  (2,000 ล้านบาท  X ร้อยละ 20 x ร้อยละ 100) โดยแบ่งเป็น ออมสิน 200 ล้านบาท  และ ธ.ก.ส. 200 ล้านบาท
  • ชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ของวงเงินสินเชื่ออนุมัติเป็นระยะเวลา 20 ปี รวมทั้งสิ้น 800 ล้านบาท (2,000 ล้านบาท  X ร้อยละ 2 x 20 ปี) โดยแบ่งเป็น  ออมสิน 400 ล้านบาท  และ ธ.ก.ส. 400 ล้านบาท
  • ทั้งนี้ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบฯ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป.

ที่มา: ไทยคู่ฟ้า