lululemon ขยาย "สังคมสุขภาพ" คิกออฟ แฟลกชิพสโตร์แรกในไทย

27 ก.ค. 2566 | 17:05 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ค. 2566 | 18:37 น.

lululemon แบรนด์ Sportswear สัญชาติแคนาดา สบช่องคนไทยรักสุขภาพ-หันออกกำลังกาย เปิดตัวแฟลกชิพสโตร์แรกในไทย ตั้งเป้าสร้าง Health community หลังดีเลย์ 4 ปี

จากความตื่นตัวของผู้บริโภคชาวที่สนใจการดูแลสุขภาพและหันมาออกกำลังกายมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดSportswear ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สังเกตุได้จากการแข่งขันของตลาดที่ดุเดือดขึ้นจากผู้เล่นแบรนด์ไทย และแบรนด์ดังจากต่างประเทศ ล่าสุด lululemon เป็นบริษัทเสื้อผ้ากีฬาสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย สัญชาติแคนาดาอายุกว่า 25 ปี และมีสาขามากกว่า 650 แห่งทั่วโลก ได้เริ่มรุกตลาดเอเชียเริ่มจากการเปิดสาขาแรกในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2014  

lululemon ขยาย "สังคมสุขภาพ" คิกออฟ แฟลกชิพสโตร์แรกในไทย

และมีแผนที่จะรุกเข้าสู่ตลาดประเทศไทย แต่แผนนั้นต้องถูกพับไปและล่าช้ามา 4 ปีจากสถานการณ์โควิด ล่าสุดผู้บริหารได้นำแผนนี้กลับมาปัดฝุ่นและคิกออฟขยายสาขาในประเทศอย่างเป็นทางการ โดยจะเปิดแฟลกชิพสโตร์แห่งแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ช่วงปลายเดือนกรกฏาคมนี้ 

ทั้งนี้นายแกเร็ธ โป๊ป รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ lululemon เปิดเผยว่า lululemon ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา โดยมี 3   Key Point ที่น่าสนใจอย่างแรกคือ ผู้ก่อตั้ง (Founder) เป็นคนที่เล่นโยคะและกิจกรรมทางน้ำไปจนถึงกีฬาทางบกเป็นประจำ ทำให้ค้นพบจุดที่ทำให้ศักยภาพในการออกกำลังกายหรือเล่นโยคะได้ดีมากยิ่งขึ้นคือเครื่องแต่งกายที่ดี  

lululemon ขยาย "สังคมสุขภาพ" คิกออฟ แฟลกชิพสโตร์แรกในไทย จุดที่ 2 คือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับแบรนด์แอมบาสเดอร์ สังคมรวมถึงลูกค้า โดยนำฟีดแบ็คที่ได้จากการใช้งานในประจำวันหรือกิจกรรมออกกำลังกายมาพัฒนาสินค้าจะดีขึ้นเรื่อยๆ   นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Health community หรือสังคมสุขภาพ โดยนำผลิตภัณฑ์ไปให้ผู้คนสวมใส่และทดลองทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงและเข้าใจผลิตภัณฑ์ และฟีดแบ็คกลับมาว่าสิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มคืออะไร

และส่วนที่ 3 ที่เป็นคีย์พอยท์สำคัญ คือการทำงาน ที่ไม่ใช่ระบบสั่งการจากบนลงล่างเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการDecentralizedหรือกระจายอำนาจ โดยส่งต่อ Direction จากผู้บริหารจากข้างบนลงมาข้างล่าง ขณะเดียวกันพนักงานด้านล่างเช่นพนักงานหน้าร้านแต่ละสาขาจะสะท้อนว่าแต่ละโลเคชั่น เหมาะกับสินค้าแบบไหน

lululemon ขยาย \"สังคมสุขภาพ\" คิกออฟ แฟลกชิพสโตร์แรกในไทย

ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่าการขยายกิจการของ lululemon มี 2 รูปแบบคือ 1 ผ่าน Partner หรือ distributor ในตลาดที่เจาะหรือเข้าถึงได้ยากเช่นตะวันออกกลางหรืออิสราเอล ส่วนที่เหลือจะเป็นlululemonเข้าไปขยายเอง ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 660++ แบ่งเป็น 19 ตลาด ดำเนินธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและจีนแผ่นดินใหญ่เป็นสองภูมิภาคที่แยกจากกัน  ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 10 ของตลาด และเป็นช้อปที่ 100 ของlululemon 

 

“เดิมเรามีความตั้งใจเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ 4-5 ปีที่แล้วแต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้เกิดความล่าช้า สิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญก็คือสุขภาวะ หรือ Well Being  ประกอบไปด้วยกาย ใจ จิต เราเชื่อว่าคนไทยก็ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ และเป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับเมืองที่มีคนอารมณ์เครียดเป็นอันดับที่ 5  ซึ่งน่าจะมาจากรถติดรวมถึงชีวิตในสังคมเมืองที่เกิดขึ้น เราหวังว่าผลิตภัณฑ์ที่มีความตั้งใจในเรื่องของการส่งเสริม Well Being จะสามารถเชื่อมโยงสนับสนุนและทำให้คนไทยมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้” 

 

สำหรับการขยายสาขาในอนาคต ผู้บริมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะวางแผน ต้องใช้เวลาในการศึกษาตลาดและดูผลตอบรับในระยะ 1-2 ปี แต่เบื้องต้นยืนยันว่ามีแพลนที่จะขยายสาขาในหลายๆ Store และคงไม่น้อยกว่า 5 สาขาแต่ไม่น่าเกิน 20 สาขา 

 

“สิ่งที่เราคาดหวังจากตลาดประเทศไทยมี  2 ประเด็นคือ เรามองเห็นสังคมประชากรที่มีจำนวนมากเพียงพอของแต่ละกลุ่มเป้าหมายย่อยเช่นกลุ่มโยคะ และกลุ่มกิจกรรมActiveต่างๆ   2  Economic ของตลาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพราะสินค้าของเราอยู่ในตลาดพรีเมี่ยม เพราะฉะนั้นจะต้องมีจำนวนประชากรผู้สนใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเรามากขนาดไหน จากข้อมูลการใช้จ่ายผ่านเครดิตการ์ดบน e-commerce ในช่องทางต่างๆ พบว่ามีการสั่งซื้อจากประเทศไทย และนักท่องเที่ยวไทยยังจับจ่ายใช้สอยในช้อป ของเราทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์และโตเกียว เราจึงเห็นว่าตลาดนี้มีโอกาส 



 

แต่ขณะเดียวกันก็ยังคู่แข่งถึง 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือSport Brand  เช่น Nike Adidas Under armour  กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มเสื้อผ้าที่สวมใส่ในทุกๆวัน เช่น Uniqlo  และกลุ่มที่ 3 คือ Premium segment หรือ Super Brand ต่างๆเช่น Louis Vuitton ที่เริ่มมีผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าออกมา  แม้เราจะมีคู่แข่งหลากหลายกลุ่ม  แต่เราพยายามนำเทคโนโลยีมาทำเสื้อผ้าสวมใส่สำหรับกีฬาที่ทุกคนสามารถใส่ได้ในหลายๆโอกาสและในชีวิตประจำวัน ซึ่งตั้งแต่โควิดมาจะเห็นว่าเทรนด์เสื้อผ้าบางอย่างสามารถใส่ได้ในหลายกิจกรรมในแต่ละวันและต้องใช้ได้อย่างยาวนานด้วย 

 

ด้านนายทิม แคมป์เบลล์-สกอตต์ ผู้อำนวยการประเทศประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การขยายการดำเนินธุรกิจนั้นถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของกลยุทธ์การเติบโต “Power of Three ×2” ของ lululemon โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ทาง lululemon ได้เปิดตัวสาขาใหม่ 7 สาขา และการเข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทยจะสามารถผลักดันและสร้างการเติบโตให้ตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เป็นอย่างดี 

 

ทั้งนี้บริษัทใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าตลาดในประเทศ ซึ่งมีโอกาสและความเป็นไปได้ที่lululemonจะสร้างกิจกรรมหรือสิ่งที่น่าสนใจอะไรให้กับประเทศไทยได้ผ่านช้อปแรกที่จะเกิดขึ้นในเซ็นทรัลเวิลด์ สิ่งหนึ่งที่lululemonให้ความสำคัญอย่างมากคือการเชื่อมโยงไม่ว่าจะเป็นเชื่อมโยงกับสังคม เชื่อมโยงกับผู้คนทั้งแบรนด์แอมบาสเดอร์ ลูกค้า นักกีฬา ขณะเดียวกันก็ยังมีการเชื่อมโยงกับสตูดิโอหรือสถานที่ออกกำลังกาย   

 

โดนทำงานร่วมกับ แบรนด์แอมบาสเดอร์คนไทย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคอมมูนิตี้ท้องถิ่น lululemon ทั้ง ไตรภพ เหล่าอุดม หรือ “ภพ” ผู้ร่วมก่อตั้งไอรอนไฮฟ์ยิม, อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ปี 2563 ตัวแทนอินฟลูเอนเซอร์ ด้านการดูแลสุขภาพจิตใจ รวมถึงคุณามาศ พรประทานเวช หรือ “พลอย” ผู้ส่งเสริมด้านสุขภาพ และเจ้าของกิจการร้านพอลลี่คาเฟ่ 



“แวรูลของ lululemon นอกจากการสร้าง community แล้วสิ่งหนึ่งที่มองเห็นและได้สัมผัสจากคนไทยก็คือการหาสมดุลของชีวิต ตอนเช้าเราได้เห็นคนไทยออกกำลังกาย และตอนเย็นหลังเลิกงานหลายๆคนก็ยังเข้ายิมในสตูดิโอ เป็นการจัดสรรเวลาและหา balance ให้ชีวิต แคมเปญแรกที่เราจะเปิดก็คือ เปิดตัวแคมเปญ Get Into It คือทุกคนสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ในศักยภาพที่ทุกคนต้องการ เป็นแคมเปญแรกที่จะเปิดตัวในประเทศไทย”