เปิดเกม BigC เดินหน้าต่ออย่างไรหลัง Spin-Off จากร่มเงา BJC

08 มิ.ย. 2566 | 16:15 น.
อัปเดตล่าสุด :08 มิ.ย. 2566 | 16:23 น.
752

BJC Spin-Off ธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ บิ๊กซีรีเทล เร่งขยายพอร์ตค้าปลีกขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมรีเทิร์นเข้าตลาดหลักทรัพย์

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2559 “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ” หรือ BJC หนึ่งในองค์กร100 ปี ที่ประสบความสำหรับอย่างมากในประเทศไทยและขึ้นแท่นผู้นำในหลายอุตสาหกรรมทั้งธุรกิจพาณิชยกรรมนำเข้า-ส่งออก การผลิตและการให้บริการ โดยมีกิจการเริ่มแรกเกี่ยวกับโรงสีข้าว เหมืองแร่ ไม้สัก การเดินเรือ การนำเข้า และกิจกรรมทางธุรกิจอื่นๆทั้งธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่ม โรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย ธุรกิจการเกษตร

เปิดเกม BRC เดินหน้าต่ออย่างไรหลังสปินออฟจากร่มเงา BJC

ได้เข้าซื้อกิจการเพื่อต่อยอดธุรกิจปลายน้ำ หรือกลุ่มธุรกิจค้าปลีก โดยการซื้อกิจการ "บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์" ในไทย ด้วยมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้กลุ่มบริษัทบีเจซีเป็นผู้ให้บริการธุรกิจค้าปลีก 1 ใน 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พร้อมกับการปูพรมขยายธุรกิจในหลายโมเดลทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามล่าสุด ธุรกิจค้าปลีกที่มีหัวหอกสำคัญคือแบรนด์ “บิ๊กซี” ได้จังหวะในการเติบโตนอกร่มเงาของ BJC หลังบอร์ดบริหารไฟเขียวให้สปินออฟออกมาเป็น “บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BRC” เพื่อการดำเนินธุรกิจที่คล่องตัวมากขึ้นภายใต้การคุมทัพของมือดี “อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BRC”

ผังธุรกิจ BJC

ซึ่งเปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจในพอร์ตของ BJC แบ่งเป็น 5 ธุรกิจหลัก คือ   1 ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มี 2 ส่วนหลักคือ บรรจุภัณฑ์และกระป๋องอลูมิเนียม , 2 ธุรกิจสินค้าอุปโภค-บริโภค  ผลิต ทำการตลาดและจัดจำหน่ายสินค้าบริโภคบริโภค ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม,เครื่องเขียนและไลฟ์สไตล์,เครื่องใช้ส่วนตัวและในครัวเรือนและโลจิสติกส์

 

3 ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ซึ่งเป็นบริษัทเรือธงและเป็นแฟลกชิฟสโตร์ ด้านการค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันมีการสปินออฟออกมาเป็นบริษัทใหม่หรือ BRC ,4 ธุรกิจเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์เภสัชภัณฑ์และให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และ 5 ธุรกิจอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ธุรกิจอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้า ธุรกิจอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกและมอง ธุรกิจอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกและมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆทั้งการเข้าซื้อและควบรวมกิจการรวม รวมถึงการพัฒนาธุรกิจเดิม

 

“การสปินออฟ BRC ออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้ BJC ขยายธุรกิจให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ๆออกมาให้กับลูกค้า 18 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม  BJC และ  BRC ยังเกี่ยวข้องกันเสมอเพราะธุรกิจทุกอย่างของ BJC จะมาสนับสนุนการเติบโตของ BRC ”

“อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BRC”

ทั้งนี้ปัจจุบัน BRC มีเครือข่ายร้านค้าปลีกหลายรูปแบบ ประกอบด้วย บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี เพลส, บิ๊กซี มาร์เก็ต, บิ๊กซี ฟู๊ดเพลส, บิ๊กซี ดีโป้, บิ๊กซี มินิ, บิ๊กซี ฟู๊ด เซอร์วิสรวมกันกว่า   1,700 แห่ง หลังจากนี้ BRC จะขยายธุรกิจและเพิ่ม Market share  2 เท่า จากเดิม18.3% รั้งเบอร์ 2 ของตลาดรองจากเบอร์ 1 ที่มี Market share 28.2% ขณะที่เบอร์ 3มี Market share 8.7% 

 

เบื้องต้นบริษัทได้ตั้งงบลงทุน 2 ปี  10,000 ล้านบาทเพื่อใช้รีโนเวทสาขาเดิม และการเปิดสาขาใหม่ให้ครอบคลุม รวมถึงการพัฒนาโมเดลร้านค้าที่เข้ากับลูกค้าในยุคใหม่ และขยายสาขาบิ๊กซีขนาดใหญ่ในประเทศกัมพูชา,สปป. ลาว และเวียดนาม  โดยใช้เงินลงทุนสาขาละ 500 ล้านบาท 

โครงสร้างธุรกิจ

“ ธุรกิจมีการแข่งขันตลอดตั้งแต่การดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการและพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เราชอบการแข่งขันตอนนี้เรามองว่าเรากำลังแข่งขันในตลาดอาเซียนไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำคือทำอย่างไรที่เราจะเป็นผู้ประกอบการค้าปลีก ค้าส่งสมัยใหม่ที่เป็นอันดับต้นๆ ท่ามกลางคู่แข่งทั้งในตลาดโลกและท้องถิ่น ซึ่งเรามีการโมเดลร้านค้าหลายแพลตฟอร์มและมีการพัฒนาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงร้านค้า ปรับปรุง format การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าถึงการวิเคราะห์และการรักษาฐานลูกค้าที่มีความผูกพันกับเรา และใน5 ปีเราอยากขยายฐานลูกค้าในช่องทางที่เราอยู่มากขึ้นทั้งในไทยที่เราเป็นเบอร์ 2 ,ในลาวเราเป็นเบอร์ 1 และเวียดนามเรามีฐานการค้าส่งที่เราบริหารให้และเป็นเบอร์ 1 ส่วนในกัมพูชาเรากำลังขยายธุรกิจเข้าไปเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มยังไม่ได้เป็นลูกค้าของเรา” 

งบการเงิน

ผู้บริหารขยายภาพการขยายธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศเพิ่มเติมว่า ในประเทศไทยการขยายสาขาในส่วนของไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นไปได้ยากเนื่องจากผังเมืองทำให้โอกาสที่จะเปิดร้านค้าขนาดใหญ่ในแต่ละจังหวัดไม่ได้มีโอกาสมากเหมือนสมัยก่อน

 

“โลเคชั่นที่เราได้มาในกรุงเทพฯและปริมนฑลทั้ง 55 สาขาเป็นโลเคชั่นที่ไม่สามารถมีผู้แข่งขันเข้ามาได้เพราะผังเมืองมีความกระชับ สิ่งที่เราทำอยู่ก็คือการเพิ่มยอดขายเพิ่มสินค้าและบริการในทำเลที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน และเปิดตลาดเข้าไปในช่องทางเทรดดิชินัลเทรดเพื่อทำให้ธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทยมีการเติบโตมากขึ้น แต่ในลาว เวียดนาม กัมพูชายังมีโอกาสที่จะเปิดร้าค้าขนาดใหญ่ รวมทั้งขนาดกลางและขนาดเล็กด้วย แม้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของต่างประเทศรายได้จะยังไม่ได้เข้าอยู่ในงบของ BRC แต่เรามีสิทธิ์นำรายที่จะนำรายได้จาก ต่างประเทศเข้ามาอยู่ในพอร์ตด้วยในอนาคต แต่ตอนนี้สัดส่วนยังมีไม่ถึง 10% แต่เชื่อว่าสัดส่วนเพิ่มเป็น 20-40% ภายใน 7 ปี  จากการเปิดสาขาใหม่ในลาวและกัมพูชา ปีละ 1-2 สาขา”


ความสามารถทางการแข่งขัน

ปี 66-68 ค้าปลีกส่งสัญญาณฟื้นตัว BRC ดันบิ๊กซี เพลส ดึงคนเข้าห้าง

 

ในปี 2565 ที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาพรวมตลาดมีการเติบโต 17.8% ขณะที่ยูโรมิเตอร์ประเมินว่าปี 2566-2568 ตลาดค้าปลีกจะเติบโต 8.7% เติบโตมากกว่าเศรษฐกิจภาพรวม  ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าปี2567 นักท่องเที่ยวจะกลับเข้ามาที่ระดับ 38 ล้านคนใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีก 

 

อย่างไรก็ตามผู้บริหารยอมรับว่ายังมีประเด็นที่ต้องน่าติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะในระยะ 5 ปีขึ้นให้หลังยังคงเจ็บตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยลบที่จะเข้ามากระทบมีทั้งเรื่องของความผันผวนของผลต้นทุนพลังงาน ซึ่งBRCพยายามบริหารต้นทุนอย่างเต็มที่ 

“ปัจจัยบวกมีหลายอย่าง ทั้งการกลับมาของนักท่องเที่ยวเพราะประเทศไทยยังคงเป็นTop of mind เป็น ทัวร์ริสต์ เดสติเนชั่นของนักท่องเที่ยวของโลก บิ๊กซีของเราเป็นปรอทวัดในการกลับมาของนักท่องเที่ยวเรามองว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันและสุดท้ายแล้วก็หวังว่าการจับจ่ายใช้สอยจะมาจากอารมณ์มาจากความมั่นใจถ้าคนไทยมีเซนติเมนต์ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ การจับจ่ายก็จะมากขึ้น

 

ส่วนปัจจัยลบคือความผันผวนของการเมืองโลกและในประเทศไทย ต้นทุนพลังงานที่ก็ยังสูงหลายประเทศที่ผลิตน้ำมันมีการจัดการเรื่องของอาวุธก็อาจจะมีผลกระทบกับค่าพลังงาน”

 

เพื่อตั้งรับกับการฟื้นตัวของค้าปลีก BRC มีแผนขยายสาขาformat ใหม่ๆที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่ลูกค้าเข้ามาซื้อของ “บิ๊กซี ดีโป้ และบิ๊กซี ฟู๊ด เซอร์วิส เป็นช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจเพราะการท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ที่ผ่านมาเรามีการส่งเสริมเมืองหลักและเมืองรองโดยเปิดสาขาทั้งใหญ่ กลาง เล็ก โดยเลือก  format ที่จะตอบสนองในชุมชนนัั้นๆ 

 

ตอนนี้เราจะมีformat ใหม่ก็คือ “บิ๊กซี เพลส” เพื่อดึงคนเข้ามาในพื้นที่ เพราะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาวิวัฒนาการของการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปเขาไม่ได้เข้ามาอย่างเดียวแต่มาใช้ชีวิต มาใช้เวลา  บิ๊กซีเพลสจะเป็นการตอบโจทย์ที่นอกเหนือจากคนมาซื้อของได้มาใช้ชีวิตและใช้เวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอนเตอร์เทนเม้น เกม ร้านค้า ร้านอาหาร street food หรือร้านปิ้งย่าง เพื่อตอบสนองความต้องการ และไลฟ์สไตล์ โดยจะเปิดสาขาแรกคือสาขาลำลูกกา

 

 และในส่วนของการค้าส่งยังคงเป็น segment ที่สำคัญใน BRC สามารถทำยอดขายหลักหมื่นล้านบาท เพราะมีช่องทางนำสินค้าและบริการไปขายให้กับคู่ค้านำไปขายต่อในพื้นที่ย่อยๆที่ยังมีช่องทางในการเติบโตอยู่”

แผนการลงทุน

รีเทิร์นเข้าตลาดหลักทรัพย์

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) ถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย.2560  ภายหลังจากที่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) บริษัทในเครือของ เจ้าสัวเจริญ ใช้เงินจำนวน 3,825 ล้านบาท ทำการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ BIGC จำนวน 17 ล้านหุ้น หรือ 2.06% ของทุนที่ชำระแล้วของ BIGC ในราคาหุ้นละ 225 บาท เพื่อเพิกถอนหุ้นของบิ๊กซีออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

และใน 2565 ที่ผ่านมา บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC มีแผนนำบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าเสนอขายหุ้น IPO แก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งในเบื้องต้นจะระดมเงินมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 18,500 ล้านบาท อีกครั้งแต่สุดท้ายไร้ข้อสรุป และภายหลังการสปินออฟธุรกิจค้าปลีกออกมาในนาม BRC แผนการเข้าตลาดหลักทรัพย์จึงถูกนำมาพิจราณาอีกครั้ง ซึ่ง อัศวิน เปิดเผยว่า BRC เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ทันในปี 2566

 

เบื้องต้นได้มีการยื่นไฟลิ่งเสนอขาย IPO จำนวนรวมไม่เกิน 3,730 ล้านหุ้นต่อ ก.ล.ต ไปแล้วและอยู่ระหว่าง ก.ล.ต. พิจารณาไฟลิ่งของบริษัท  โดย BRC จะนำเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ไปใช้ลงทุนขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธุรกิจ โดยจะขายหุ้นผ่าน บล.บัวหลวง , บล.กสิกรไทย ,ธนาคารไทยพาณิชย์ , บล.เกียรตินาคินภัทร และบล.ฟินันเซีย ไซรัส นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมเปิดขายหุ้น IPO ให้กลุ่มนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย

แผนการระดมทุน

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า ราคา IPO อาจจะต่ำกว่าที่ BJC ซื้อกิจการของ BigC ให้ BJC ต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยม