thansettakij
ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน

ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน

08 เม.ย. 2568 | 01:09 น.
7.8 k

ซิน เคอ หยวนเตรียมออกโรงตอบโต้กระทรวงอุตสาหกรรมปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน หลังมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหล็กไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้าง

ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นนวนมาก โดยเป็นอาคารแห่งเดียวในประเทศไทยที่พังทลายลงมา ได้กลายเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามถึงมาตรฐานในการก่อสร้าง ทั้งเรื่องของการอกแบบ และวัสดุที่ใช้

ทั้งนี้ ภายหลังจากเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการเข้าเก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างมาตรวจสอบคุณภาพ ที่สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย  เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือไม่ โดยใช้เวลาการตรวจสอบเหล็กทุกท่อนมากกว่า 4 ชั่วโมงว่า 

โดยเหล็กที่นำมาตรวจสอบ 28 ท่อน 7 ไซส์ ได้มาตรฐาน 15 ท่อน 5 ไซส์ ไม่ได้มาตรฐาน 13 ท่อน 2 ไซส์ คือ ไซส์ 20 มิลลิเมตร และ 32 มิลลิเมตร ซึ่งทั้ง 2 ไซส์ มาจากบริษัทเดียวกัน ซึ่งเป็นบริษัทเหล็กแห่งหนึ่ง ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้สั่งปิดไปในช่วงเดือนธ.ค. 67 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

สำหรับเหล็กเส้นที่เก็บมาจากที่เกิดเหตุ และนำมาตรวจสอบคุณภาพมีจำนวน 28 เส้น มีทั้งหมด 7 ไซส์ ประกอบด้วย 

ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน

  • เหล็กข้ออ้อย ขนาด 12 มม. จำนวน 3 เส้น  
  • เหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มม. จำนวน 3 เส้น 
  • เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. จำนวน  6  เส้น  
  • เหล็กข้ออ้อย ขนาด 25 มม. จำนวน  2  เส้น 
  • เหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มม. จำนวน  7  เส้น 
  • เหล็กเส้นกลม ขนาด 9 มม. จำนวน 2  เส้น 
  • ลวดสลิง ขนาด 15.2 มม. จำนวน  5  เส้น 

โดยมาจาก 3 บริษัท คือ SKY (บริษัทซินเคอหยวน ซึ่งเป็นผู้ผลิตจากจีน) TATA (บริษัท ทาทา สตีล ผู้ผลิตจากอินเดีย) และ TYS ( เครือบริษัทไทยคูณ ผู้ผลิตจากจีนร่วมทุนกับไทย) 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ภายหลังผลตรวจสอบคุณภาพเหล็กข้ออ้อยขนาด 20 และ 32 มิลลิเมตร ที่เก็บตัวอย่างมาจากตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม ไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) 

ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งปิดโรงงานของบริษัทฯ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 เนื่องจากบริษัทฯ ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโรงงานในหลายประเด็น อีกทั้ง ยังมีการผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. อาจส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 

กระทรวงฯ จึงได้ทำการยึดอายัดเหล็กทั้งหมดไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 จำนวน 2,441 ตัน มูลค่ากว่า 49.2 ล้านบาท พร้อมเรียกคืนเหล็กจากท้องตลาดที่ผลิตจากบริษัทฯ คืนทั้งหมด และได้ดำเนินคดีกับบริษัทฯ อย่างถึงที่สุด

การลงพื้นที่ดังกล่าวมีตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ร่วมตรวจสอบในประเด็น ดังนี้

  • โรงงานมีการลักลอบประกอบกิจการภายหลังจากการสั่งปิดหรือไม่-จากการตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าในโรงงาน พบว่า ก่อนที่บริษัทฯ จะถูกสั่งปิดเมื่อเดือนธันวาคม 2567 มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านบาท ภายหลังจากการสั่งปิด มีการใช้ไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2568 ค่าไฟ 1.2 ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ค่าไฟ 6.4 แสนบาท โดยเดือนในเดือนมีนาคม 2568 ค่าไฟขยับขึ้นมาเป็น 6.4 ล้านบาท ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไปว่าบริษัทฯ มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นด้วยเหตุผลประการใด
  • โรงงานมีการลักลอบเคลื่อนย้ายเหล็กที่ถูกยึดอายัดไว้เป็นของกลางหรือไม่-ผลจากกการตรวจสอบพบว่า เหล็กของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการยึดอายัดไว้ยังอยู่ครบถ้วน ไม่มีการเคลื่อนย้าย ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ายังไม่มีการลักลอบจำหน่ายเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานออกไป

ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน 

  • เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างเหล็กจากบริษัทฯ นำกลับมาตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อตรวจเช็คว่าเป็นเหล็กในล็อตใดบ้าง ถูกจำหน่ายออกจากบริษัทไปเมื่อไร ซึ่งในส่วนนี้ได้สั่งการให้บริษัทฯ ทำหนังสือชี้แจงการจำหน่ายเหล็กทั้ง 2 ขนาดที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ส่งกลับมาภายใน 7 วัน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบการลักลอบจัดเก็บฝุ่นแดงซึ่งเป็นวัตถุอันตราย ไว้ภายในบริเวณโรงงานเป็นจำนวนมากกว่า 43,000 ตัน โดยที่บริษัทฯ แจ้งการกักเก็บฝุ่นแดงที่เกิดจากเตาหลอมเหล็กก่อนถูกสั่งปิด เพียงปีละ 2,245 ตันเท่านั้น อีกทั้งในปี 2567 บริษัทฯ ไม่มีการแจ้งหรือรายงานการกักเก็บฝุ่นแดงแต่อย่างใด 

กรณีดังกล่าวนี้กระทรวงฯ จึงได้สั่งการให้บริษัทฯ ชี้แจงภายใน 7 วัน หากมีการแจ้งข้อมูลเท็จจะต้องโดนโทษนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ หากพบว่ามีการจัดการกับฝุ่นแดงดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมาย มีการปนเปื้อนโลหะหนัก จะถูกเพิ่มข้อหาครอบครองวัตถุอันตรายและดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดต่อไป

ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากนี้ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ได้ลงนามในหนังสือขอให้เพิกถอนสิทธิประโยชน์การลงทุน (BOI) บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด เนื่องจากพบว่าบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พรบ.โรงงาน และ พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

โดยที่หนังสือแจ้งเตือนให้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ครั้งแรกในวันที่ 27 ธันวาคม 2567 และครั้งที่สอง ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ยังมีผล เนื่องจากยังไม่มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด

โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด เกี่ยวกับผลการตรวจติดตามระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า

ตามที่ สมอ. ได้ตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ภายหลังการอนุญาต ณ โรงงาน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ปรากฏว่า ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต (ภาคผนวก ก) จึงมีหนังสือแจ้งเตือนก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 40

ต่อมาบริษัทได้มีหนังสือนำส่งข้อมูลพร้อมหลักฐานการพิจารณาการแก้ไขข้อบกพร่อง และสมอ. ได้เข้าตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ณ โรงงานอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568 นั้น

สำนักงานฯ ขอแจ้งผลการตรวจระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และขอยกเลิกหนังสือ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 ที่เตือนก่อนสั่งพักใบอนุญาตตามมาตรา 40 กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ล่าสุดนายเฉิน เจี้ยนฉี และ นายสมพัน ปันแก้ว กรรมการบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ระบุว่า เตรียมตั้งโต๊ะแถลงข่าวในวันพุธ ที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 14.00 น. โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานครเกี่ยวกับคุณภาพเหล็กเส้นของบริษัทที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ถล่มลงมา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา

ซิน เคอ หยวนแลกหมัดกระทรวงอุตฯ ปมเหล็กตึก สตง. ถล่มไม่ได้มาตรฐาน

“ตามที่ขณะนี้มีข่าวในเชิงลบและเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นของ บริษัท ซิน เคอ หยวนสตีล จำกัด ที่ผลิตขึ้นปราศจากมาตรฐาน อีกทั้งมีการตรวจสอบพบในการก่อสร้าง อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แห่งใหม่ใกล้สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร การต่อมาเกิดเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวทำให้อาคารสูง 30 ชั้น ถล่ม ทางบริษัท ซิน เคอ หยวนสตีล จำกัด ใคร่ขอแถลงต่อสื่อมวลชนถึงข้อเท็จจริงทุกประการรวมทั้งมีความประสงค์จะขอสื่อสารไปยังประชาชนทั้งประเทศด้วยถึงเจตุจำนงที่จะประกอบกิจการโดยสุจริตยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างมั่นคง”เอกสารระบุ

ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมก็เตรียมแถลงข้อเท็จจริงสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเคลียร์ชัดในข้อมูลหลายๆมุมอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีปัญหา และผลการดำเนินการก่อนหน้า ตั้งแต่ ธค. 67

ทั้งการพิสูจน์ความจริงอนาคต กรณีตึกถล่ม และมาตรการการสร้างความปลอดภัยกับวัสดุก่อสร้างให้ผู้ใช้ชาวไทย ระยะยาวต่อไป ที่กระทรวงอุตสาหกรรมยึดถือปฏิบัติ อย่างโปร่งใส ตามหลักการ ไม่เลือกปฏิบัติในวันที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงอุตสาหกรรม