วิธีลงทะเบียนรับเงินเยียวยาแผ่นดินไหว จากกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา แผ่นดินไหว เกิดแรงสั่นสะเทือนถึงกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่กำลังก่อสร้างมูลค่า 2.3 พันล้านบาท ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ สูญหาย และ เสียชีวิตหลายราย เหตุแผ่นดินไหว ดังกล่าว กทม.ได้ออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุแผ่นดินไหว
วิธีลงทะเบียนรับเงินเยียวยาถึงวันไหน
- กทม. เปิดให้ยื่นขอรับการเยียวยาเหตุแผ่นดินไหว ที่ 50 สำนักงานเขต ถึง 27 เม.ย.นี้
หลักเกณฑ์ในการยื่นขอ
- ภัยพิบัติ (แผ่นดินไหว) ทำให้บ้านเรือนที่พักอาศัยประจำได้รับความเสียหาย
- ต้องเป็นบ้านพักที่อยู่อาศัยประจำและต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ทางสำนักงานเขตออกให้เป็นหลักฐาน ได้แก่ บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน, บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ, ที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ซึ่งประสบภัยเช่น บ้านพักอาศัยอยู่เป็นประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน
รายละเอียดในการช่วยเหลือ
- ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริง หลังละไม่เกิน 49,500 บาท
- ค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน จ่ายเฉพาะอาคารที่ กทม. ประกาศระงับการใช้และไม่ได้เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงที่ กทม. จัดสรรเป็นเงินค่าเช่าบ้าน เดือนละ 3,000 บาท ไม่เกิน 2 เดือน เป็นเงินไม่เกิน 6,000 บาท
- ค่าจัดงานศพผู้เสียชีวิต รายละ 29,700 บาท และกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือผู้หารายได้หลักของครอบครัว ได้เพิ่มครอบครัวละ ไม่เกิน 29,700 บาท
- ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ (ตามใบรับรองแพทย์) กรณีบาดเจ็บสาหัส ช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นเงิน 4,000 บาท กรณีบาดเจ็บถึงขั้นพิการ ช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นเงิน 13,300 บาท
- เงินปลอบขวัญ (ตามใบรับรองแพทย์) กรณี ได้รับบาดเจ็บจากเหตุสาธารณภัย รายละ 2,300 บาท
- เงินทุนประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท
ทั้งนี้เป็นไปตามการประเมินของคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินการสำรวจและประเมินความเสียหายโดยรายงานไปยังสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่อไป
ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือ
- ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอรับความช่วยเหลือที่เว็บไซต์สำนักงานเขต หรือเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร
- ผู้ร้องต้องยื่นเอกสาร คำร้องและหลักฐาน ที่ฝ่ายปกครองสำนักงานเขต พร้อมให้ข้อเท็จจริง
เอกสารหลักฐาน ในการยื่นขอ
- แบบสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบภัย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ยังไม่หมดอายุ) กรณีผู้ไม่มีสัญชาติไทย ใช้สำเนาพาสปอร์ต (PASSPORT)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (เป็นปัจจุบัน)
- สำเนาโฉนดที่ดิน (ต้องระบุชื่อเจ้าบ้าน/เจ้าของบ้าน) หรือแบบคำรับรอง (แทนโฉนดที่ดิน)
- สำเนาใบ อช. 2 (โฉนดคอนโด)
- สำเนาบันทึกประจำวัน (ตร.) จากสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
- หนังสือรับรองผู้ประสบภัย และบัญชีความเสียหายแนบท้ายฯ (แบบ บ.ส. 3)
- บันทึก (ป.ค. 14) ใช้ในกรณีที่เอกสารที่ยื่นยังไม่ชัดเจนหรือเพียงพอว่าเป็นผู้ประสบภัยและได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว
- เอกสารประกอบการขอรับความช่วยเหลือค่าวัสดุซ่อมแชมที่พักอาศัยฯ
- รูปภาพความเสียหาย
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ทุกสำนักงานเขตได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจมารับแจ้งความเป็นกรณีพิเศษ ณ จุดลงทะเบียนฯ ที่สำนักงานเขตด้วย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
50 เขต ในกทม. ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาแผ่นดินไหว ดังนี้
1.เขตบางแค
2.เขตบางเขน
3.เขตสายไหม
4.เขตดอนเมือง
5.เขตคลองสามวา
6.เขตบางขุนเทียน
7.เขตจตุจักร
8.เขตลาดกระบัง
9.เขตจอมทอง
10.เขตประเวศ
11.เขตหนองจอก
12.เขตบางกะปิ
13.เขตหนองแขม
14.เขตบึงกุ่ม
15.เขตมีนบุรี
16.เขตบางซื่อ
17.เขตดินแดง
18.เขตภาษีเจริญ
19.เขตลาดพร้าว
20.เขตธนบุรี
21.เขตบางกอกน้อย
22.เขตทุ่งครุ
23.เขตสวนหลวง
24.เขตวังทองหลาง
25.เขตหลักสี่
26.เขตคลองเตย
27.เขตดุสิต
28.เขตตลิ่งชัน
29.เขตบางบอน
30.เขตบางพลัด
31.เขตบางนา
32.เขตบางคอแหลม
33.เขตพระขโนง
34.เขตสะพานสูง
35.เขตราษฏร์บูรณะ
36.เขตคันนายาว
37.เขตสาธร
38.เขตยานนาวา
39.เขตวัฒนา
40.เขตห้วยขวาง
41.เขตคลองสาน
42.เขตทวีวัฒนา
43.เขตบางกอกใหญ่
44.เขตพญาไท
45.เขตราชเทวี
46.เขตพระนคร
47.เขตปทุมวัน
48.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
49.เขตบางรัก
50.เขตสัมพันธวงศ์.