THG เล็งเปิด 2 ศูนย์บําบัดผู้ติดยาเสพติด

26 เม.ย. 2565 | 19:14 น.
อัปเดตล่าสุด :28 เม.ย. 2565 | 03:28 น.
1.6 k

THG เปิดตัวศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ประเดิมโครงการแรกโรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ดึงเมตาเวิรสช่วยผู้บำบัดรักษาความเป็นส่วนตัวไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ไม่เสียประวัติพร้อมติดตามผลภายหลังการบําบัด 3 ปี พร้อมลุยโครงการ2 ประชาอุทิศไตรมาส 3ปีนี้

ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ที่ต้องได้รับการแก้ไข อย่างจริงจังและเร่งด่วน และหลังจากที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา

THG เล็งเปิด 2 ศูนย์บําบัดผู้ติดยาเสพติด

โดยมุ่งเน้นการมอง “ผู้เสพ” คือ “ผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการบําบัดรักษา มากกว่าการลงโทษอาญาทางกฎหมาย ด้วยการใช้หลักการสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน เน้นการเข้าถึงการ บําบัดรักษาทางการแพทย์ครอบคลุมทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

THG เล็งเปิด 2 ศูนย์บําบัดผู้ติดยาเสพติด

นายแพทย์บุญ วนาสิน (หมอบุญ) ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THGเปิดเผยว่า ตัวเลขของกรมสุขภาพจิต ประเทศไทยมีจิตแพทย์ (รวมจิตแพทย์เด็ก) 845 คนหรือคิดเป็น1.2896 ต่อประชากร 100,000 คน  มีพยาบาลวิชาชีพ4,064 คน นักจิตวิทยา1,037 คน แต่มีจํานวนผู้ป่วยจิตเวชรวม6,000,000 คน (106) แบ่งเป็นผู้ป่วยติดเหล้า  28.59% ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า  3.796 ผู้ป่วยจิต ประสาท  30% ในจํานวนผู้ป่วยจํานวน 6,000,000 คนนั้น กรมสุขภาพจิตรักษาแบบผู้ป่วยนอก 68,719 คน และรักษาแบบผู้ป่วยใน 110,737 คน ซึ่งไม่ถึง 10% 

นายแพทย์บุญ วนาสิน (หมอบุญ) ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG

สําหรับผู้ป่วยติดสารเสพติดนั้นมีประมาณ 1,500,0002,000,000 คน ที่ต้องการพบแพทย์และบําบัด 54,436 คน มีเพียง 4,565 คน (4.29%) ที่ได้รับการบําบัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 577 คน (1296) ที่ทําร้ายตัวเองและผู้อื่น รวมทั้งทําร้ายผู้อื่นจนเสียชีวิต ทําลายข้าวของและทรัพย์สิน และลักทรัพย์ ฯลฯ

 

บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสําคัญในเรื่องนี้ จึงได้ดําเนินการ จัดตั้งสถานพยาบาลยาเสพติด ประเภท สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และสถานฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 2 โครงการ โดยโครงการใช้ชื่อว่า “ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด โดย โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา” เพื่อเพิ่มสถานบําบัดรักษาให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้มากขึ้น โดยสามารถให้การบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งในระบบสมัครใจ และกรณีสมัครใจ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557จำนวน150 เตียง โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ อาทิ แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกิจกรรมบําบัด นักสังคมสงเคราะห์ ให้การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด แบบองค์รวมอย่างมีมาตรฐาน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ 

 

“ยาเสพย์ติดก่อให้เกิดความเสียหายให้สังคมค่อนข้างเยอะสำหรับการบำบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ของ“ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด โดย โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา” จะใช้ระยะเวลา 3 เดือน ค่าใช้จ่ายต่อการรักษาอยู่ที่ 6 แสนบาท และหลังจากการบำบัด 3 เดือนเสร็จสิ้นเรายังมีการติดตามผลต่อเนื่อง 3 ปีต่างจากศูนย์บำบัดอื่นที่ใช้เวลาติดตามหลังการรักษาเพียง 1 ปี 

“ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด”

นอกจากนี้  ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ เพราะผู้ป่วยต่างชาติมักจะไม่อยากให้ใกล้ชิดรับรู้และมองว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาในประเทศไทยราคาไม่แพง  ซึ่งส่วนนี้สามารถนำเข้ามาทดแทนเมดิคอล ทัวริซึ่มที่หายไปได้”

 

สำหรับการเข้าบำบัดรักษาที่ “ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด” ผู้ป่วยจะถูกประเมินความรุนแรงของอาการและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาตามกำลังทรัพย์  โดยแพทย์จะออกแบบการรักษา ฟื้นฟู กิจกรรมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายตามอาการและความรุนแรงของยาเสพติด 

 

ด้านการบําบัดรักษา เน้นการบําบัดทางการแพทย์ การให้ยาตามอาการ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงการให้คําปรึกษา การเสริมสร้างแรงจูงใจในการบําบัดรักษา การให้ความรู้ และ ฝึกทักษะที่จําเป็น เช่น การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การฝึกทักษะ How to Say No การฝึกคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการบําบัดหยุดเสพสารเสพติดได้จริง ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สําคัญ สําหรับการเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร

“ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด”

ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เน้นการออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล โดยคํานึงถึงปัจจัย 3 อย่าง ได้แก่ สภาพจิตใจ อุปนิสัย และความถนัดหรือความชื่นชอบส่วนบุคคล เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับ การบําบัดแต่ละราย โดยประยุกต์ใช้การฟื้นฟูสมรรถภาพรูปแบบชุมชนบําบัด (Therapeutic Community: TC) ซึ่งเป็นการสร้างชุมชน หรือสังคมจําลองให้ผู้เลิกยาเสพติดมาอยู่ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกัน เลียนแบบ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ฝึกความรับผิดชอบ การรู้จักตนเอง และการแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม

 

ร่วมกับการใช้แนวคิดการบําบัด เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) ให้ผู้เข้ารับการบําบัด ลด ละ เลิก ใช้ยาและสารเสพติด กิจกรรมครอบครัวบําบัด ด้วยการนํา ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบําบัดรักษายาเสพติด 

 

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเสริมทักษะทางสังคม อื่นๆ ที่จําเป็น ได้แก่ การให้คําแนะนําปรึกษา ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ครอบครัวบําบัด กิจกรรมกลุ่มบําบัด การฝึกทักษะชีวิต (Life Ski) กิจกรรมสันทนาการ ศิลปะบําบัด ดนตรีบําบัด การอบรมธรรมะ และการฝึก อาชีพ เป็นต้น

 

ศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด โดย โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ตั้งอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีแวดล้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกครบครัน ทั้งห้องกิจกรรม สันทนาการ ที่นําระบบเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI), Virtual Reality หรือ VR และ Metaverse ประยุกต์ใช้ในการบําบัดรักษา ซึ่งคนไข้ที่ต้องการปกปิดตัวตนสามารถพบแพทย์ หรือจิตแพทย์ผ่าน VR และ Metaverse โดยไม่ต้องพบแพทย์โดยตรง นอกจากคนไข้สามารถรักษาความเป็นส่วนตัวได้แล้ว ยังสามารถแก้ปัญหาจิตแพทย์ไม่เพียงพอและช่วยลดการเดินทางของจิตแพทย์ได้เพราะ คนผู้ป่วยและจิตแพทย์สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องในสถานที่เดียวกัน

ระบบเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI), Virtual Reality หรือ VR และ Metaverse ประยุกต์ใช้ในการบําบัดรักษา

นอกจากนี้ยังมีห้องกายภาพบําบัด ห้องออกกําลังกาย สระว่ายน้ํา สปา ห้องฝึกทักษะด้าน ต่างๆ เพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบของผู้เข้ารับการบําบัด มีระบบกล้องวงจรปิดและการรักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมงและศูนย์แห่งนี้ยังให้ความสําคัญกับการดูแลติดตามผลภายหลังการบําบัด เป็นเวลา 3 ปี โดยทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายชุมชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้ารับการบําบัดสามารถออกไปใช้ชีวิตร่วมกับสังคม ได้อย่างปกติสุข โดยไม่พึ่งยาเสพติด ไม่เสียประวัติ เพราะข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ กลับไปเป็นคนดีของ สังคมได้อย่างภาคภูมิ

 

นอกจากนี้ในอนาคต บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) วางแผนที่จะเพิ่มสถานบําบัดรักษาให้ผู้ติด ยาเสพติดสามารถเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น โดยในไตรมาส 3 ของปีนี้ วางแผนที่จะเปิดศูนย์บําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพิ่มอีก 1 แห่ง ย่านประชาอุทิศ ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยได้ 120 เตียง โดยมีศูนย์แห่งนี้เป็นต้นแบบในการดําเนินงาน