เลือกตั้งสหรัฐ2024 อัปเดตโพลโค้งสุดท้าย แฮร์ริส-ทรัมป์ ใครนำ

01 พ.ย. 2567 | 06:30 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ย. 2567 | 12:29 น.
1.5 k

ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 โค้งสุดท้าย กมลา แฮร์ริส ยังคงรักษาความได้เปรียบเหนือ โดนัลด์ ทรัมป์เพียงเล็กน้อย

การแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ศึกเลือกตั้งสหรัฐ2024 ยังคงเข้มข้นโดยที่ กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต ยังคงรักษาความได้เปรียบเหนือ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันเพียงเล็กน้อยจากผลสำรวจความคิดเห็นทั่วประเทศล่าสุด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 

เมื่อเหลือเวลาอีกไม่ถึงสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง ผู้สมัครทั้งสองคนต่างเสนอข้อมูลครั้งสุดท้ายต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเดินทางไปยังรัฐสำคัญต่างๆเพื่อดึงดูดผู้ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใคร

โดนัลด์ ทรัมป์ จัดการชุมนุมที่ เมืองอัลเลนทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย  ซึ่งอยู่ห่างจากฟิลาเดลเฟียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 60 ไมล์ เมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยอดีตประธานาธิบดีมองหาชัยชนะในเพนซิลเวเนีย หลังจากที่เขาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐดังกล่าวในปี 2016 แต่กลับแพ้การเลือกตั้งในปี 2020

กมลส แฮร์ริส อยู่ในเมืองหลวงของประเทศเมื่อวันเเดียวกัน โดยกล่าว คำแถลงปิดท้าย ที่สวนเอลลิปส์ (Ellipse) ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ ทรัมป์กล่าวสุนทรพจน์ที่เผ็ดร้อนเมื่อเกือบ 4 ปีที่เเล้ว ก่อนที่กลุ่มผู้สนับสนุนของเขาจะบุกเข้าไปในเมืองหลวงของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021

แฮร์ริสนำหน้าทรัมป์ในโพล TIPP ล่าสุด

จากการสำรวจความคิดเห็นของ TIPP เมื่อเช้าวันพุธที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า แฮร์ริสมีคะแนนนำทรัมป์อยู่ 1 %

ผลสำรวจความคิดเห็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 1,302 คน

  • แฮร์ริสมีคะแนนนำทรัมป์ 48%-47% โดยผลสำรวจมีค่าความคลาดเคลื่อนเพียง 2.7 % 

จากการสำรวจของ TIPP ก่อนหน้านี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 53% รายงานว่ารู้สึกว่าเศรษฐกิจแย่ลงกว่าก่อนเกิดโรคระบาด ซึ่ง TIPP พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 66% ไม่พอใจกับแนวโน้มของประเทศซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งอยู่

เมื่อถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง15% ได้ลงคะแนนเสียงไปแล้ว ในขณะที่อีก14% วางแผนที่จะลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์ และอีก12% ตั้งใจที่จะส่งบัตรลงคะแนนเสียงก่อนวันเลือกตั้ง ผลการสำรวจพบว่ามีผู้ลงคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 51% ที่วางแผนที่จะลงคะแนนเสียงด้วยตนเองหรือส่งบัตรลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง

แฮร์ริส-ทรัมป์ เผชิญหน้ากันในสมรภูมิมิชิแกน

ผู้สมัครต่างก็มีข้อขัดแย้งกันในรัฐมิชิแกนซึ่งเป็นรัฐสมรภูมิการเลือกตั้ง ตามผลสำรวจพิเศษของ USA TODAY/Suffolk University

ผลสำรวจความคิดเห็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 500 คนทั่วทั้งรัฐ จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2567 

  • แฮร์ริสและทรัมป์ มีคะแนนเท่ากันที่ 47% ต่อ 47% โดยผลการสำรวจมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 4.4 %

แฮร์ริสและทรัมป์เสมอกันในโพลสำรวจนอร์ทแคโรไลนา

แฮร์ริสและทรัมป์มีคะแนนเสียงขัดแย้งกันในกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในนอร์ธแคโรไลนา ตามผลสำรวจของ SurveyUSA/WRAL ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ 30 ตุลาคม 

การสำรวจความคิดเห็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 853 คน ซึ่งดำเนินการทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 23-26 ตุลาคม และเผยแพร่ก่อนวันเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ 

  • แฮร์ริสเเละทรัมป์มีคะแนนเสียง 47%
  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 2% จะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น 
  • 4% ยังไม่ตัดสินใจ
  • ผลการสำรวจมีความคลาดเคลื่อน 4.1%

ทรัมป์และแฮร์ริสประชันกันในอริโซนาและเนวาดา

แฮร์ริสและทรัมป์มีคะแนนสูสีกันใน 2 รัฐสำคัญก่อนวันเลือกตั้ง ตามผลสำรวจใหม่ของ CNN ที่ดำเนินการโดย SSRS 

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นจากผู้มีสิทธิออกเสียง 781 รายในรัฐแอริโซนาและผู้มีสิทธิออกเสียง 683 รายในรัฐเนวาดา

  • แฮร์ริสมีคะแนนนำทรัมป์ 48% ต่อ 47% ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในรัฐแอริโซนา
  • ทรัมป์มีคะแนนนำแฮร์ริส 48% ต่อ 47% ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในรัฐเนวาดา

ผลสำรวจความคิดเห็นรอยเตอร์/อิปซอส

ผลสำรวจดังกล่าวเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ในช่วงหนึ่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 

  • แฮร์ริสมีคะแนนนิยมนำทรัมป์ แค่ 1 จุด คือ 44% ต่อ 43%
  • ผลการสำรวจมีความคลาดเคลื่อน บวกลบไม่เกิน 3%

ผลสำรวจนี้ใช้เวลาจัดทำ 3 วัน และเสร็จสิ้นเมื่อวันอาทิตย์เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พบว่า การขับเคี่ยวระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีจาก 2 พรรคใหญ่ยังคงดุเดือด เเต่ยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า ใครจะเป็นผู้ชนะตัวจริง

ความคิดเห็นชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ทั่วประเทศ 1,150 คน รวมถึงผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 975 คน แสดงให้เห็นว่า ทรัมป์ได้เปรียบแฮร์ริสหลายประเด็น

ผู้สมัครทั้ง 2 รายใครที่มีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และตำแหน่งงานดีกว่ากัน

  • ทรัมป์ 47%
  • แฮร์ริส 37%

ทรัมป์มีภาษีดีกว่าในแง่ของการชูนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดการหาเสียง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 26% เห็นเรื่องงานและเศรษฐกิจเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดสำหรับสหรัฐฯ รองมาลง คือ แนวคิดสุดโต่งทางการเมือง 24% และปัญหาผู้อพยพ 18%

จุดแข็งที่สุดของทรัมป์ ในเชิงนโยบาย

การรับมือคลื่นผู้อพยพ ซึ่งเสนอให้ใช้มาตรการ เช่น การบังคับเนรเทศหมู่ผู้อพยพที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เป็นต้น ผลสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 48% มองว่า ทรัมป์ เสนอแนวทางแก้ปัญหาผู้อพยพได้ดีที่สุด ขณะที่แฮร์ริส มีคะแนนนิยมในส่วนนี้เพียง 33%

จุดแข็งของ กมลา แฮร์ริส ในเชิงนโยบาย

เรื่องการต่อต้านลัทธิสุดโต่งทางการเมืองเริ่มที่จะอ่อนแรงลง แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 40% เห็นว่า แฮร์ริส เสนอแนวทางจัดการลัทธิสุดโต่งทางการเมืองและภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยได้ดีกว่า

38% ที่เลือกทรัมป์ ซึ่งส่วนต่างเพียง 2 จุด ถือว่าหดแคบลงมากเมื่อเทียบกับโพลช่วงวันที่ 16-21 ต.ค.ที่แฮร์ริส เคยเป็นฝ่ายนำทรัมป์ ถึง 7 จุด

ผลสำรวจรอยเตอร์/อิปซอสทุกฉบับที่ผ่านมานับตั้งแต่แฮร์ริสลงศึกเลือกตั้ง เมื่อพิจารณาส่วนต่างของคะแนนนิยมเริ่มหดลง ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนโดยผลสำรวจฉบับก่อนหน้าซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 16-21 ตุลาคม พบว่า แฮร์ริสมีคะแนนนิยมนำทรัมป์อยู่ 2 จุด

7 รัฐสมรภูมิจะเป็นตัวชี้ขาด

แม้ผลสำรวจระดับชาติ ซึ่งรวมถึงโพลรอยเตอร์/อิปซอส ช่วยทำให้เห็นสัญญาณที่สำคัญ เกี่ยวกับมุมมองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินจริงๆ ก็คือ จำนวนองค์คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ของแต่ละรัฐที่ใครจะได้ไปมากกว่ากัน โดยคาดว่าผลเลือกตั้งใน 7 รัฐสมรภูมิจะเป็นตัวชี้ขาด

อ้างอิงข้อมูล