เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 13.25 น. ประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถรู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที พฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้งานบนเครือข่ายทรูและดีแทคเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยปริมาณการโทรออก (Voice Call) พุ่งสูงเฉลี่ยกว่า 5 เท่า ขณะเดียวกัน การใช้งานดาต้า (Data) ก็เปลี่ยนทิศทางอย่างเห็นได้ชัด
การโทรกลายเป็นช่องทางเร่งด่วนในการติดต่อระหว่างบุคคล ส่วนดาต้าถูกใช้เพื่อการสื่อสารอย่างมีเป้าหมาย ผ่านแอปอย่าง LINE Messenger และ X เพื่อติดต่อ ตอบกลับข้อความ และเช็กข้อมูลข่าวสาร สะท้อนพฤติกรรมของผู้ใช้งานในภาวะฉุกเฉินที่ต้องการติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงที
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นข้อมูลการใช้งานบนเครือข่ายทรูและดีแทคสะท้อนภาพชัดเจนถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งานในช่วงเวลาฉุกเฉิน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
การใช้งานเสียง (Voice Usage)
เครือข่ายทรู
เครือข่ายดีแทค
ปริมาณการโทรออกเทียบเป็นรายภาค ในช่วงการโทรสูงสุด
เครือข่ายทรู จุดที่มีการโทรออกสูงที่สุดคือเวลา 13:33 น. โดยเรียงลำดับจากภาคที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ดังนี้
เครือข่ายดีแทค จุดที่มีการโทรออกสูงที่สุดคือเวลา 13:32 น. โดยเรียงลำดับจากภาคที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น อาจสรุปได้ว่าในภาวะฉุกเฉิน ผู้ใช้งานมีแนวโน้มเลือกใช้ “การโทร” (Voice Call) เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร โดยปริมาณการโทรออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนถึงบทบาทของการสื่อสารด้วยเสียงในภาวะฉุกเฉิน เพื่อยืนยันความปลอดภัยระหว่างบุคคลอย่างทันท่วงที
การใช้งานดาต้า (Data Usage)
พฤติกรรมการใช้งาน 7 แอปพลิเคชันยอดนิยมในช่วงเหตุการณ์แผ่นดินไหว
เมื่อพิจารณาการใช้งานของ 7 แอปยอดนิยม (Facebook, Messenger, Instagram, TikTok, YouTube, LINE, X) ในช่วงเวลา 13:15–14:15 น. พบว่าทั้ง ทรู และ ดีแทค มีแนวโน้มคล้ายกัน คือ:
สะท้อนว่าในภาวะฉุกเฉิน ผู้ใช้งานมุ่งไปที่การสื่อสารแบบทันที และการตรวจสอบสถานการณ์
เครือข่าย True
เครือข่ายดีแทค
จากข้อมูลข้างต้น อาจสรุปได้ว่าในภาวะฉุกเฉิน ผู้ใช้งานมีแนวโน้มปรับพฤติกรรมไปใช้แอปที่เน้นการสื่อสาร มากกว่าการเปิดดูคอนเทนต์วิดีโอ เป็นการใช้ดาต้าโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันความปลอดภัย รับรู้ข่าวสาร และติดต่อผู้คนในช่วงเวลาสำคัญ
เบื้องหลังคือการยกระดับมาตรการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทีมงานเน็ตเวิร์กของทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ยกระดับมาตรการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทันที ด้วยการตั้ง "วอร์รูม” ที่ BNIC ศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ โดยใช้ AI ดูแลและบริหารเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการระดมกำลังทีมงาน เพื่อเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ประชาชนผู้ใช้งานเครือข่ายทุกคนจะใช้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ลิงก์นี้ https://youtube.com/shorts/f6hfPJMPxhE?si=YX3wmySB3LFDWgA3