สุดอึ้ง “มิจฉาชีพหลอกออนไลน์” สูญ 1.9 หมื่นล้าน รู้ไหมอายุเท่าไรโดนบ่อยสุด?

14 พ.ย. 2567 | 16:25 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2567 | 16:43 น.
4.9 k

กระทรวงดีอี เปิดข้อมูลชวนอึ้ง มูลค่าความเสียหายจาก "การหลอกลวงออนไลน์" พุ่งถึง 1.9 หมื่นล้านบาท พร้อมเผยช่วงกลุ่มอายุที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุด 

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดแถลงข่าว ผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และภาพรวมของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center: AOC) ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี (1 พ.ย.66- 14 พ.ย.67) โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงดีอีฯ เป็นประธานการแถลงวันที่ 14 พ.ย.67

สุดอึ้ง “มิจฉาชีพหลอกออนไลน์” สูญ 1.9 หมื่นล้าน รู้ไหมอายุเท่าไรโดนบ่อยสุด?

การแถลงมีการเปิดเผยสถิติการแจ้งเหตุและผลการดำเนินงานของศูนย์ AOC ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 - ตุลาคม 2567 หรือ 1 ปีที่ผ่านมาของ ศูนย์ AOC พบว่า มีจำนวนการโทรเข้าสายด่วน 1441 ทั้งหมด 1,176,512 สาย และจำนวนการระงับบัญชีที่ต้องสงสัยอยู่ที่ 348,006 เคส โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 19,000 ล้านบาท

กลุ่มอายุของผู้เสียหาย

กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็น 9,800 เคส มูลค่าความเสียหาย 193 ล้านบาท โดยผู้หญิงมีสัดส่วน 61.44 % ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกขายสินค้า/บริการที่ไม่เป็นขบวนการ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์

กลุ่มอายุ 20-49 ปี มีจำนวนสูงสุด 145,302 เคส มูลค่าความเสียหาย 8,223 ล้านบาท โดยผู้หญิงเป็นเหยื่อประมาณ 64.05% ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกโอนเงินเพื่อการหารายได้พิเศษ และการหลอกลงทุนออนไลน์

สุดอึ้ง “มิจฉาชีพหลอกออนไลน์” สูญ 1.9 หมื่นล้าน รู้ไหมอายุเท่าไรโดนบ่อยสุด?

กลุ่มอายุ 50-64 ปี และ อายุ 65 ปีขึ้นไป คิดรวมเป็น 41,901 เคส มูลค่าความเสียหายรวม 7,769 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลงทุนออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีความเสี่ยงสูงในการถูกหลอกในลักษณะนี้

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 

คือกลุ่ม 20-49 ปี ซึ่งมีจำนวนเคสสูงถึง 145,302 เคส รองลงมาคือกลุ่ม 50-64 ปี โดยพบว่าคดีที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้คือ คดีหลอกโอนเงินเพื่อหารายได้พิเศษ และคดีหลอกลงทุนออนไลน์

ซึ่งบ่งบอกถึงความสนใจและความเชื่อมั่นในโอกาสในการหารายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มในวัยนี้ และทำให้กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของมิจฉาชีพ

 
ช่องทางการหลอกลวงยอดฮิต

 

  1. Facebook จำนวน 26,804 เคส คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 718 ล้านบาท 
  2. Call Center มี 22,299 เคส มีมูลค่าความเสียหาย 945 ล้านบาท รวมทั้งช่องทาง เว็บไซต์ 16,510 เคส เสียหาย 1,148 ล้านบาท
  3. TikTok 994 เคส, 65 ล้านบาท
  4. ช่องทางอื่น ๆ 20,518 เคส, 1,262 ล้านบาท
     

สุดอึ้ง “มิจฉาชีพหลอกออนไลน์” สูญ 1.9 หมื่นล้าน รู้ไหมอายุเท่าไรโดนบ่อยสุด?

จังหวัดที่รับแจ้งเหตุและระงับบัญชี

  1. กรุงเทพมหานคร - มีการแจ้งเหตุ 84,241 ครั้ง และระงับบัญชี 48,558 บัญชี
  2. สมุทรปราการ - แจ้งเหตุ 17,853 ครั้ง และระงับบัญชี 10,968 บัญชี
  3. นนทบุรี, ชลบุรี, ปทุมธานี ตามลำดับ

สุดอึ้ง “มิจฉาชีพหลอกออนไลน์” สูญ 1.9 หมื่นล้าน รู้ไหมอายุเท่าไรโดนบ่อยสุด?

นายประเสริฐ เปิดเผยว่า กระทรวงดีอี มุ่งมั่นที่ดำเนินมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน เพื่อลดจำนวนและผลกระทบจากขบวนการมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากการภัยคุกคามทางออนไลน์ และการหลอกลวงในทุกรูปแบบที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน