ศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งผลงานอาจารย์และนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในงาน 13th 2024 World Invention Creativity Olympics & Conference จัดโดย Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) ณ Seoul University of education Convention Hall กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 13 ผลงาน เมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2567
โดยได้รับรางวัล 1 Grand Prize
3 Special Award on stage
2 Special Award
13 เหรียญทอง
ผลงานชื่อ "Pinto Scent: a customizable multi-scented inhaler" ของ ด.ญ.เอวิกา คล้ายสังข์ และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา) ได้รับรางวัล Grand Prize และ รางวัลเหรียญทอง โดย Pinto Scent เป็นยาดมอโรมาเธอราปีปรับแต่งได้เฉพาะบุคคล ได้รับแรงบันดาลใจมาปิ่นโตของคุณแม่ จึงเกิดแนวคิดในการประดิษฐ์ยาดมที่เชื่อมต่อกันหลายชั้นที่สามารถเลือกแบบและกลิ่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เอื้อให้เกิดความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพของยาดม และมีสีสันสวยงามตามความชอบผู้ใช้
นอกจากนี้ยังมีผลงานที่ส่งเข้าประกวดได้รับรางวัล Special Award on stage และรางวัลอื่นๆ เช่น
ผลงานชื่อ "Kitty Go : Eco friendly portable disposable litter box" ได้รับรางวัล Special Award on stage จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) และ รางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : Mr.Robert Armstrong และอาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์
ผลงานชื่อ “WASEN” ได้รับรางวัล Special Award on stage จาก Korea University Invention Association (KUIA) และรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ญ.พิริยา วงศ์พิวัฒน์, ด.ญ.พิรดา วงศ์พิวัฒน์, ด.ช.ศุภณัฐ์ กุลหิรัญ, ด.ช.เจตน์ กุลหิรัญ และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงาน “NCDs free Analysis” ได้รับรางวัล Special Award on stage จาก Korea University Invention Association (KUIA) และรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : นางสาวนาราภัทร เห็นการไกล และ อาจารย์ ดร.ภัทรภร เจนสุทธิเวชกุล(อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “BERD: The Bio-Eco Rock Development Project” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย : นายธิปก ตั้งศิริพัฒน์, ด.ญ.อลิสา ไตรวิทยากร, ด.ช.ภัทรพล วนิชวัฒนะ และ อาจารย์โกเมศ นาแจ้ง (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “Yummy Move : Mobile Street Food Tracking Application for Enhancing Local Commerce” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย : ด.ช.สรกฤช ธัญญวรรณ์, ด.ช.ภาริธ น้อยคง, ด.ช.ศรัณยพงศ์ ภิยโยภาพ, ด.ช.วัชรวิชย์ พงษ์ไพรัช และ อาจารย์พริ้วฝน เทียนศรี (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “Blox-cycle : Eco-Friendly Building Blocks from Recycled Parcel Boxes” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์, Mr.Robert Armstrong, อาจารย์น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล และนายปรินทร แจ้งทวี
ผลงานชื่อ “Comfy Me” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : น.ส.สุธากร แก้วคำฟู, น.ส.ภิญญดา ธัญญวรรณ์, นายธรรญ์ อิษฎาวงศ์ และ อาจารย์พริ้วฝน เทียนศรี (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “Eyebrella” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ญ.ณิชานันท์ สมานมงคล, ด.ญ.มานะมิ ฮิโกะ ชมภู, ด.ญ.กวิสรา อัศวกำธร, ด.ช.กฤตลักษณ์ อัศวกำธร และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “TenniTube” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ช.ธนภณ ปาละสุวรรณ, ด.ช.ณัฐณพัชร์ ปาละสุวรรณ และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “Miracle Eyes” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ช.พีร์วศุตม์ แสงตระกูล, ด.ญ.ปุญชรัศมิ์ เจนสุทธิเวชกุล, ด.ช.จักร์ ลียากาศ และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “CASE 1st AID distributor” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ญ.สิรรินทร์ ประสิทธิ์ดำรง, ด.ญ.ลภัส อุดมแสวงทรัพย์, และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ผลงานชื่อ “Brain Stormer Box” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย : ด.ช.ภูธน ตั้งสืบกุล, ด.ญ.ภูริชญา วัชราภรนินทร์ และ อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
World Invention Creativity Olympics & Conference (WICO) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและมีกิจกรรมหลากหลายที่น่าสนใจ เช่น
การนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม: นักวิชาการและผู้ประดิษฐ์จะมานำเสนอผลงานที่ได้รับสิทธิบัตร ซึ่งอาจเป็นการประดิษฐ์ใหม่ ๆ หรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แสดงเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา: มีการนำเสนอเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาและความคิดใหม่ ๆ ที่อาจมีผลกระทบในอนาคต
การสร้างสรรค์และการแข่งขัน: มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ อาทิ การแข่งขันประดิษฐ์ การออกแบบ หรือการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ
การเชื่อมโยงและสร้างเครือข่าย: งาน WICO เป็นโอกาสที่นักวิชาการและผู้ประดิษฐ์จะได้พบปะกัน แลกเปลี่ยนความคิด และสร้างเครือข่ายทางวิชาการ