พลอากาศโทดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียง เปิดเผยในวันนี้ 9 เมษายน ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. สั่งทบทวนแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม หรือ USO ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565) ภายใต้กรอบงบประมาณ 5,862.15 ล้านบาท โดยบอร์ด กสทช. สั่งการให้สำนักงาน กสทช.ไปทวนทวน เปรียบเทียบราคาระหว่างเช่าอุปกรณ์ และ ซื้ออุปกรณ์ ให้ชัดเจน
“แผนที่เสนอเข้ามามีแต่ซื้ออุปกรณ์ทั้งนั้น ไม่มีเช่าใช้อุปกรณ์เลย เพราะหากเช่าใช้อุปกรณ์จะทำให้เพิ่มจุดติดตั้งบริการได้เพิ่มเติมจาก 300 จุด เป็น 320 จุด คอนเซ็ปของโครงการ คือ ลดความเหลื่อมล้ำ ราคาที่สมเหตุสมผล คนใช้เกิดประโยชน์ บอร์ด กสทช.จึงได้ให้สำนักงาน กสทช.ไปทำเปรียบเทียบราคามาระหว่างเช่า และ ซื้ออุปกรณ์”
สำหรับร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2567 – 2569) บอร์ด กสทช. เห็นชอบในหลักการแต่ในส่วนของคำนิยามเน้นคำว่าเฉพาะบริการโทรคมนาคม ห้ามทำแอพพลิเคชั่น โดยนำร่างประกาศดังกล่าวไปทำประชาพิจารณ์
กรรมการ กสทช.ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) รวมกรอบงบประมาณ 1.4 พันล้านบาท แบ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมเป็นเงิน 1,031 ล้านบาท และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี จำนวน 434,679,068.80 บาท โดยจะต้องนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ให้รับทราบและอนุมัติ
ด้านพลเอกสิทธิชัย มากกุญชร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำประธาน กสทช. เปิดเผยผลประชุมบอร์ด กสทช. ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ได้ปรับแผนงบประมาณโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมฉบับที่ 3 จากงบประมาณเดิม 6.6 พันล้านบาท เหลือประมาณ 5,862.15 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บเงิน USO ลดลง และประชุมอีกครั้งในวันที่ 24 เมษายน 2567
ดังนั้น ภายใต้กรอบงบประมาณ 5,862.15 ล้านบาท จะประกอบไปด้วย
ยุทธศาสตร์ 1 กลยุทธ์ที่ 1 ระบบโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุข ให้มุ่งเน้นโรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นหลัก เพื่อให้ รพ.สต. สามารถข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้ ภายใต้กรอบงบประมาณ 3,991.12 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 กลยุทธ์ที่ 1 ระบบโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะภายใต้กรอบงบประมาณ 1,371.85 ล้านบาท ให้มุ่งเน้นไปที่ระบบโรงเรียนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนภายใต้กองทุนเพื่อการศึกษา รวมทั้งโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการใด หรือโรงเรียนในพื้นที่ตกหล่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลยุทธ์ที่ 2 ระบบโทรคมนาคมเพื่อความมั่นคง ภายใต้กรอบงบประมาณ 499.18 ล้านบาท ในกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กำหนดหมู่บ้านในพื้นที่เป้าหมายและความต้องการ ในกรณีด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กำหนดพื้นที่เป้าหมายและความต้องการ โดยสำนักงาน กสทช. ได้จัดทำโครงการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และเพื่อสังคมในพื้นที่ขาดแดลน หรือยังขาดบริการที่ทั่วถึง (USO 2565) โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายและ สถานที่ติดตั้งออกเป็น 3 โครงการ ดังนี้
1. โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม ในพื้นที่ขาดแคลนหรือยัง ขาดบริการที่ทั่วถึง (เพื่อสาธารณสุข)
2. โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม ในพื้นที่ขาดแคลนหรือยังขาดบริการที่ทั่วถึง (เพื่อประโยชน์สาธารณะ)
3. โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและ เพื่อสังคม ในพื้นที่ขาดแคลนหรือยัง ขาดบริการที่ทั่วถึง (เพื่อความมั่นคง)
โดยแต่ละโครงการ ส่งผลประโยชน์และประเด็นสำคัญดังนี้
1. การมีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่ทั่วถึงในพื้นที่ที่ขาดแคลนหรือยังขาดบริการจะช่วยให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ง่ายขึ้น เช่น การให้คำแนะนำทางการแพทย์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ร่วมถึงสามารถแจ้งเตือนสำคัญเกี่ยวกับการระบาดของโรค หรือการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่สำคัญ และให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการ รพ.สต. ได้เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและปลอดภัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. การมีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่ทั่วถึงช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ที่ขาดแคลนหรือยังขาดบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย เช่น การติดต่อกับหน่วยงานราชการ การรียกร้องสิทธิทางกฎหมาย หรือการเข้าถึงข้อมูลทางการศึกษาและ เป็นศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยรัฐที่มีความต้องการใช้งาน
3. การมีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่ทั่วถึงสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ที่ขาดแคลน หรือยังขาดบริการได้ เช่น การแจ้งเตือนเร่งด่วนในกรณีฉุกเฉิน การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือการส่งเสริมการติดต่อสื่อสารระหว่างชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง สังคมและความเชื่อมั่นในชุมชน และด่านชายแดนต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกกับหน่วยงานภาครัฐที่บังดับใช้ด้านความมั่นคงต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจและเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ บอร์ด กสทช. ได้เห็นชอบ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2568) (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) ประกอบด้วย
1. หลักการร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2568) (ที่แก้ไขเพิ่มเติม)
2. การกำหนดตราการนำส่งค่า USO ในอัตราร้อยละ 2.50 ของรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บรายได้เพื่อนำไปสนับสนุนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2565
3. เห็นชอบแนวทางการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2566 - 2568) (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
สำหรับสาระสำคัญที่นำเสนอในครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ความหมายและคำนิยาม ใช้แนวทางที่ 6 "บริการโทรศัพท์ บริการอินเทอร์เน็ตและบริการโทรคมนาคมอื่นใดที่ใช้เทคโนโลยี โทรคมนาคมรวมถึงระบบและอุปกรณ์อื่นใดที่เป็นส่วนประกอบเพื่อให้เกิดบริการโทรคมนาคม ซึ่งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ทำให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย และผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ขาดแคลน รวมถึงสถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือประโยชน์สาธารณะและกลุ่มเป้าหมายอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด สามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับบริการด้านสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตามแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม"
2. ปรับปรุงกรอบระยะเวลา จากระยะ 1 ปี (พ.ศ.2566) เป็นระยะ 3 ปี (พ.ศ.2566 - 2568)
3. กรอบวงเงินค่าใช้จ่าย จาก 8,000 ล้านบาท เป็น 24,000 ล้านบาท.