นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. และรับผิดชอบด้านนโยบายของสำนักงาน กสทช. ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ได้เปิดเผยในเวทีสัมนางาน Next Step Thailand 2024: Tech & Sustain ก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน ณ ห้องพญาไท 3-4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ประเทศไทยยังมีช่องว่างของ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และ บุคลากร ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็น ภัยคุกคามระดับต้นๆ ของประเทศที่สามารถทำลายเสถียรภาพของประเทศ ทางด้านความมั่นคง และ ทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงความน่าเชื่อถือของรัฐได้
ประเทศไทย ยังไม่มีการแนวป้องกัน แบบ บูรณาการ และ พัฒนาบุคลากร ที่เข้าใจ มิติของ ภัยไซเบอร์ ซึ่งมีทั้งหมด 4 มิติด้วยกัน ประกอบด้วย 1) การเมืองระหว่างประเทศ 2) ความมั่นคงของชาติ 3) การเมือง 4) สังคม โดยรายงาน ของ WEF ปี คศ 2024 ระบุถึงภัยไซเบอร์ 5 ใน 6 กรณีจะเกิดจากเทคโนโลยี AI หนึ่งในนั้นคือ การใช้ Generative AI สร้างเนื้อหาข้อมูลปลอมเพื่อ โจมตี โครงสร้างทั้ง 4 มิติของประเทศ
ภัยไซเบอร์จาก AI จึงเป็นภัยที่เกิดได้ในทุกระดับ เป้าหมายตั้งแต่บุคคลธรรมดา ถึง ระดับองค์กรรัฐ ทุกคนล้วนเป็นเหยื่อได้หมด ผู้ก่อการไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจจะเป็นบุคคล กลุ่มคน หรือ องค์กรที่สนับสนุนโดยรัฐ ก็เป็นได้ โดยบางคร้้ง ประเทศที่ไม่มีเกราะหรือ ภูมิคุ้มกัน เป็นแค่เหยื่อทางผ่าน หรือ สนามทดลอง ของ คนเหล่านี้เพื่อ พิสูจน์ความสามารถตัวเองในการก่อการ ภัยที่เราเห็นบ่อยคือ การ เข้าควบคุมระบบ เพื่อเรียกค่าไถ่ หรือ Ransome ware ภัยจากการโจรกรรม ผ่าน Phishing Smishing รวมถึง การทำให้ทุกอย่างล่มเพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวาย เช่นการปิดระบบไฟฟ้า การสื่อสาร ประปา หรือ ระบบสาธารณสุข
นอกจาก ความพยายามที่พัฒนา บุคลากร การสร้างเกราะป้องกันทางเทคโนโลยี นาย พชร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ได้ผลักดันการ ทูตไซเบอร์ ผ่าน ปฏิญญา บูคาเรสต์ และ การทำงานร่วมกันระหว่าง ประเทศพันธมิตรในการ สร้าง แนวป้องกันทางไซเบอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันในการ ภูมิคุ้มกันให้กับประเทศ รัฐบาลจึงต้องมีนโยบาย และ การออกแบบเพื่อความปลอดภัย ตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะการจะเป็น สังคมดิจิทัล เต็มรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการบูรณาการตั้งแต่ออกแบบ และ เข้าถึง พฤติกรรมผู้ใช้ด้วย.