นายเวทวงค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,199,440 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 88 ข้อความ ทั้งนี้ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 77 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 11 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 55 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 40 เรื่อง
ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคง
ภายในกระเทศ จำนวน 37 เรื่อง อาทิ รัฐบาล ร่วมกับสคร. ส่ง SMS แจ้งประชาชนที่ถูกรางวัลเลขท้าย
เบอร์มงคล ประจำปี 2566 ติดต่อรับรางวัล เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 6 เรื่อง
อาทิ ยาลดกรด ทำให้เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 1 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง อาทิ ธนาคารอิสลาม ชี้แจงปม ทำโฉนดที่ดินลูกค้าหาย ทำให้ไม่สามารถขาย
เพื่อชำระหนี้ได้ทันเวลา เป็นต้น
ทั้งนี้ แบ่งเป็นเรื่องการหลอกลวงธุรกรรมทางการเงิน จำนวน 7 เรื่อง
นายเวทวงค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวด้านกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และกลุ่มเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชน มากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่