ESRI เปิดฮับข้อมูลพยากรณ์ภัยพิบัติอาจเกิดกับ ‘กรุงเทพฯ’ช่วง 100 ปีข้างหน้า

30 พ.ย. 2565 | 17:14 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2565 | 00:44 น.

ESRI ร่วมมือ“ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ พัฒนาสุดยอดฮับข้อมูลสภาพแวดล้อม “Urban Hazard Studio” เพื่อพยากรณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึง 100 ปีข้างหน้า

นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนา  ArcGIS ซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับความท้าทายด้านภัยพิบัติหลากหลายมากขึ้น จากความแปรปวนของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน ก่อให้ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ซึ่งทาง “Esri Thailand” และ “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” ได้เห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมและป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ESRI เปิดฮับข้อมูลพยากรณ์ภัยพิบัติอาจเกิดกับ ‘กรุงเทพฯ’ช่วง 100 ปีข้างหน้า

โดยการนำความชำนาญของทั้งสองบริษัทมาร่วมพัฒนา “ฮับข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและพยากรณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นช่วง 100 ปีข้างหน้า” ไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำท่วม มลพิษ ภาวะโลกร้อน หรือแม้แต่ภัยแล้งต่าง ๆ ให้ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลไปช่วยยกระดับการวางแผนรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมคาดการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชุมชนเมือง โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

 

อีเอสอาร์ไอ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ และซอฟต์แวร์ ArcGIS ที่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผลผ่านคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ “รูปภาพ” หรือ “แผนที่” แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำ Visualization หรือ Analysis เท่านั้น แต่ยังสามารถทำ Prediction เพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

 

 

ด้าน ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดยบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) หรือ “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” กล่าวว่า ในความร่วมมือครั้งนี้ ระหว่างทีมนักวิจัยฯ กับบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ทางศูนย์วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการคาดการณ์เพื่อสะท้อนภาพของชุมชน หากเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมแสดงผลผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งการเก็บข้อมูลวิเคราะห์อนาคตนั้น ต้องทำการติดตามและปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ศูนย์วิจัยฯ ยังมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทะเล อากาศ พื้นดิน น้ำแข็ง และสิ่งมีชีวิต โดยผ่านแพลตฟอร์มข้อมูล “Earth Pulse”

ESRI เปิดฮับข้อมูลพยากรณ์ภัยพิบัติอาจเกิดกับ ‘กรุงเทพฯ’ช่วง 100 ปีข้างหน้า

ดร.การดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ เป็นศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาแห่งแรกที่ก่อตั้งโดยภาค อสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต เพื่อสร้างอนาคตที่ดี ให้กับมนุษยชาติ โดยใช้เครื่องมือการคาดการณ์อนาคตเพื่อสะท้อนภาพของการอยู่อาศัย การทํางาน การ เรียนรู้ การใช้เวลาว่าง การคมนาคมขนส่ง และบริบทของความยั่งยืน มุ่งวิเคราะห์ข้อมูล สํารวจและคาดการณ์ พร้อมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือกับนักอนาคตศาสตร์ระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมไปถึงเครือข่ายภาคประชาชนต่าง ๆ  เพื่อนําไปสู่การออกแบบอนาคตที่ดีขึ้นร่วมกัน

ทั้งนี้ สำหรับฮับข้อมูลที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Esri Thailand และ ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ได้เริ่มต้นเปิดตัวด้วยการคาดการณ์พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากข้อมูลระดับน้ำบนแผนที่ ผ่านการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ ซึ่งมี รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC : Intergovernmental Panel on Climate Change) เป็นที่ปรึกษา

ESRI เปิดฮับข้อมูลพยากรณ์ภัยพิบัติอาจเกิดกับ ‘กรุงเทพฯ’ช่วง 100 ปีข้างหน้า

โดยใช้ชุดข้อมูลปริมาณน้ำฝนในรอบ 100 ปี ทำให้น้ำเหนือหลากล้นจากแม่น้ำแล้วไหลบ่าลงมา รวมถึงชุดข้อมูลจาก ArcGIS Living Atlas เช่น ค่าระดับน้ำที่แม่น้ำ  ค่าความสูงพื้นที่ (DEM)  ค่าระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น (Sea Level Rise) จากรายงานล่าสุด ฉบับที่ 6 (IPCC-AR6)  พายุ Hurricane แบบเรียลไทม์ และนํามา Visualization ผ่านแอปพลิชันที่พัฒนา ด้วยซอฟต์แวร์จาก Esri เพื่อเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อน และหลากหลายให้เข้าใจง่าย ซึ่งนอกจากจะแสดงผล ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แล้ว จุดเด่นของแอปพลิเคชันนี้ยังทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อีกด้วย เช่น น้ำท่วมบริเวณนี้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ต่ำกว่าพื้นที่อื่น ๆ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนด้านต่างๆ เช่น การวางผังเมือง การขนส่ง อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ