สวทช.เดินหน้าสร้างอีโคซิสเต็มนวัตกรรมใน EECi เปลี่ยนประเทศสู่อุตฯ 4.0

29 พ.ย. 2565 | 18:15 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ย. 2565 | 16:09 น.
562

สวทช. ชี้ EECi เดิมพันครั้งใหญ่ประเทศ ชูนวัตกรรมเปลี่ยนประเทศสู่อุตสาหกรรม 4.0 เดินหน้าสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม ดันงานวิจัยไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาคมยั่งยืน

นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)  กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ The Big Issue 2022 : EECi พลิกโฉมประเทศไทย สู่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค  จัดโดยหนังสือพิมพ์”ฐานเศรษฐกิจ” ภายใต้หัวข้อ “Kick off EECi  สร้างโอกาสประเทศไทย”ว่า EECi ถือเป็นเดิมพันครั้งใหญ่ของประเทศ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย New S Curve  โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม 

สวทช.เดินหน้าสร้างอีโคซิสเต็มนวัตกรรมใน EECi เปลี่ยนประเทศสู่อุตฯ 4.0

ทั้งนี้การพัฒนา EECi  ขึ้นมาเพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นมา    ซึ่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาคมอย่างยั่งยืน

 

โดยปี 64  ได้สร้างสนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ  สนามทดสอบคลื่นความถี่ ล่าสุดวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา  ได้เปิดสำนังานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)  อย่างเป็นทางการ  และศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center (SMC) ภายใต้เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ในเขต EECi   เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยทั้งขนาดใหญ่และ SME ในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ

 

โดยส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของโรงงาน รวมทั้งแนะนำบริการต่างๆ ของศูนย์ฯ ที่จะช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต อาทิ 1) บริการตรวจประเมินระดับความพร้อมของโรงงาน 2) บริการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร 3) บริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคและคำปรึกษาเกี่ยวกับแหล่งทุนและสิทธิประโยชน์ 4) บริการพัฒนาระบบตามความต้องการของอุตสาหกรรม และ 5) บริการเครื่องมือสำหรับทดสอบและเรียนรู้

 

สำหรับปี 66-67 มีแผนเปิดโรงเรือนฟีโนมิกส์  โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ทางเลือก  ปี 67-68 เปิดโรงงานผลิตพืช  โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรรี่  สนามทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ   และปี 73 จะเปิดบริการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขนาด 3 GeV

 

ทั้งนี้บทบาทสำคัญของ EECi นั้นจะเข้ามาขับเคลื่อนการเกษตรสมัยใหม่   โดยจะมีการเปิดโรงเรือนอัจฉริยะ ขึ้นมาเพื่อทดลองการปลูกพืช ในภาวะแวดล้อมต่างๆ    เพื่อศึกษาสูตรการปลูกที่เหมาะสม   การยกระดับผลิตภาพ ลดเวลา และต้นทุนการผลิต     นอกจากนี้ยังเพิ่มมูลค่าสร้างจุดเด่นและจุดขายให้กับพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูง

 

การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรม 4.0   โดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center (SMC) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยทั้งขนาดใหญ่และ SME ในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ

 

สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ให้เกิดในประเทศ  เช่น ไบโอรีไฟเนอรี่ หรือการกลั่นชีวภาพ    โดยนำชีวมวล เอาผลผลิตภาคเกษตรมากลั่นแบบชีวภาพ   ออกมาเป็นไบโอพลาสติก  หรือออกมาเป็นสารออกฤิทธิ์ต่างๆ   อุตสาหกรรมการบิน โดรน  อวกาศ   ในวังจันทร์วัลเลย์  ทีสนามบินเล็ก  ไว้ทดสอบโดรนการเกษตร  สำรวจ   เครื่องมือแพทย์  EECi จะเป็นศูนย์ทดสอบ