‘กสทช.’ กางโรดแมป ปี 64 เตรียมพร้อมประมูล 5G คลื่น 3500 MHz

25 ธ.ค. 2563 | 18:47 น.
1.3 k

กสทช. กางโรดแมป ปี 64 เดินหน้า 4 โครงการ เตรียมพร้อมคลื่น 3500 MHz สานต่อประมูล 5G เร่งสร้างมาตรฐานบริการ 5G ของไทย

     นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินงานด้านโทรคมนาคมของ กสทช. ในปี 2564 นั้นประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลักๆ ที่สำคัญ ได้แก่ 

1. สนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G โดยจะมีการเตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อรองรับการใช้งาน 5G คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์, 3500 เมกะเฮิรตซ์ และ 28 กิกะเฮิรตซ์ พร้อมจัดทำมาตรฐานการให้บริการ 5G หรือ (Quality of Service :QoS) รวมถึงผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคส่วนต่างๆ เช่น การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Logistic) และภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Manufacturingผลักดัน 5G use case ใหม่ๆ

‘กสทช.’ กางโรดแมป ปี 64 เตรียมพร้อมประมูล 5G คลื่น 3500 MHz

“สำนักงาน กสทช.จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตซ์เพื่อนำมาจัดประมูล โดยจะต้องรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ เข้ามาพิจารณาร่างหลักเกณการประมูลในช่วงปลายปี 2564 รวมถึงมีการศึกษาเยียวยาลูกค้าไทยคมทีได้รับผลกระทบด้วย”

     ขณะที่ 5G use case ที่เริ่มดำเนินการแล้ว ในปี 2563 และอยู่ระหว่างดำเนินได้การ ได้แก่ด้านการเกษตร (Smart Agriculture) และด้านการแพทย์ (Smart Hospital) และการประมูล 5G คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์, 2600เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์โดยตั้งเป้าในปี 2564 จะเข้าถึง 50% ของพื้นที่ EEC และเข้าถึง 50% ของประชากรเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในปี 2566 

       2. ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โดยการจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายสื่อสารลงดินเพื่อรองรับสมาร์ทซิตี้ เน้นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านการแข่งขัน ส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายร่วมกัน มีการแชร์ท่อกันเพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารลงดินอย่างต่อเนื่อง โดยมีระยะทางในพื้นที่ กทม. 750 กิโลเมตรและพื้นที่ต่างจังหวัดที่จะนำสายสื่อสารลงดินระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตรและจัดระเบียบอีกประมาณ 600 กิโลเมตร

‘กสทช.’ กางโรดแมป ปี 64 เตรียมพร้อมประมูล 5G คลื่น 3500 MHz

      นอกจากนี้ยังได้เดินหน้าโครงการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล หรือ USO NET โดยจัดให้มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ทุรกันดารภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงจะมีการจัดทำแผนแม่บท USO ออกมาซึ่งเป็นแผนที่ 2 ที่จะพัฒนาการใช้งานของประชาชนเพิ่มเติม

3. ยกระดับการกำกับดูแลยุคใหม่ไปสู่ Data Driven Economy ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมมี ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551, พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม(ฉบับที่ 2) พศ. 2549 และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ทั้ง 3 ฉบับให้มีความทันสมัยมากขึ้นให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคาดว่าในปีหน้าจะผ่านคณะกรรมการ กสทช. มีการกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ จัดทำข้อกำหนดด้านเทคนิคเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) และข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy) โดยต้องมีแนวทางหรือแผนแม่บทในการกำกับดูแลโอเปอเรเตอร์ร่วมกับ TCC-CERT ไปสู่TB-CERT (Thailand Banking Sector) เพื่อยกระดับการให้บริการโทรคมนาคมให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยผ่าน Mobile ID และ e-KYC

4. นำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการกำกับดูแลและการวิจัย ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลโทรคมนาคม เช่น รายงานข้อมูลแบบอินเตอร์ แอคทีฟ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศนอกจากนี้สำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าผลักดันสถานีรถไฟสู่ 5G Train Station ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำเข้าเสนอต่อคณะกรรมการในปี 2564 โดยนำร่องสถานีรถไฟบางซื่อเป็นแห่งแรก 

 

: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ  3,637 หน้า 1  วันที่ 20-23 ธันวาคม 2563