“ยูทูปเบอร์”โอดรัฐไล่บี้ภาษีคุมกำเนิดดิจิทัล

20 พ.ย. 2563 | 14:33 น.
1.8 k

“ยูทูปเบอร์”โอด สรรพากร ไล่บี้เก็บภาษี เผยคนแห่เข้าวงการเยอะ แบรนด์มีตัวเลือกโฆษณามากขึ้น ทำ รายได้ไม่แน่นอน ระบุรัฐควรส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลไทยให้เกิดมากกว่าออกมาตรการคุมกำเนิด

Youtuber (ยูทูปเบอร์) หรือ Vlogger เป็นอาชีพในฝันของเด็กไทยยุคใหม่ โดยนอกจากจะเป็นอาชีพอิสระ โชว์ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ผ่านเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ แล้วรายได้ที่เกิดขึ้นจากอาชีพนี้ น่าสนใจไม่น้อย โดยรายได้หลักโฆษณา ยิ่งมียอดสมาชิกผู้ติดตามจำนวนมากรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวนอกจากนี้ยังมีรายได้จากแบรนด์ทั้ง แนะนำสินค้า หรือ Tie In สินค้า ตัวเลขล่าสุดเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าไทยมีช่องยูทูปที่มีผู้ติดตาม 10 ล้านคน ประมาณ 10 ช่องและมีช่องที่มีผู้ติดตาม 1 ล้านคน ทั้งหมด 420 ช่อง ซึ่งยูทูปเบอร์ชื่อดังมีการจัดทะเบียนจัดตั้งเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็มียูทูปเบอร์อีกหลายรายที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เคยยื่นภาษี

ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ได้พยายามติดต่อสอบถามความเห็นไปยัง กูเกิล ประเทศไทย ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มยูทูป แต่ปฎิเสธให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สรรพากร ไล่บี้เก็บภาษี ยูทูปเบอร์

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่าทุกวันนี้ มีคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์แต่ยังไม่เคยยื่นภาษี ทั้งที่หลบเลี่ยง กับคนที่ไม่เข้าใจ ขาดความรู้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระ ค้าขายออนไลน์และทั่วไป รวมถึงยูทูปเบอร์ต่างๆ ด้วย หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ คนกลุ่มนี้ก็ต้องยื่นภาษี ซึ่งปัจจุบันกรมกำหนดว่า หากมีรายได้ประจำต่อเดือนเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท หรือรายได้จากค่านายหน้า ค่าเช่าเกินปีละ 60,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายได้ และหากมีรายได้เดือนละ 25,000 บาท หรือปีละ 300,000 บาท จะอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ”นายเอกนิติ กล่าว

“ยูทูปเบอร์”โอดรัฐไล่บี้ภาษีคุมกำเนิดดิจิทัล “ยูทูปเบอร์”โอดรัฐไล่บี้ภาษีคุมกำเนิดดิจิทัล

 

ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตคอนเท้นต์วิดีโอบนยูทูป หรือ “ยูทูปเบอร์” รายหนึ่งกล่าวกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ว่ายูทูปเบอร์ที่มียอดสมาชิกผู้ติดตาม 2-3 ล้านคนขึ้นมา มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเสียภาษีนิติบุคคลอยู่แล้ว แต่ที่สรรพากรจะไล่เก็บภาษีเป็นรายย่อยที่มียอดผู้ติดตามไม่เกิน 1 ล้านคน กลุ่มนี้รายได้ไม่แน่นอนและยิ่งตอนนี้ผู้ลงโฆษณามีช่องให้เลือกลงมากขึ้น เนื่องจากมีผู้เข้ามาเป็นยูทูปเบอร์มากขึ้น ทั้งนี้มองว่าประเทศไทยจะมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นควรจะมุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพหรือให้สิทธิพิเศษกับธุรกิจทางด้านดิจิทัล มากกว่าจะไล่เก็บภาษี เพื่อเป็นต้นทุนหรือสร้างความเสียเปรียบให้ผู้ประกอบการในประเทศในการแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศ

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยยังไม่เกิด แต่ก็ถูกภาครัฐเข้ามาคุมกำเนิด โดยออกมาตรการต่างๆมาควบคุมบ้าง ไล่เก็บภาษีบ้าง แทนที่จะมีนโยบายส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี เพื่อส่งเสริมหรือ จูงใจให้เข้าสู่ระบบ ทุกวันนี้

“ยูทูปจะตัดรายได้ให้ยูทูปเบอร์ เมื่อมีรายได้ครบ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ31,000 บาท ยูทูปเบอร์บางราย 1 เดือนได้ 100 ดอลลาร์สหรัฐ บางราย 3 เดือนกว่าจะได้ 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้อาชีพนี้มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น คอนเท้นต์ท่องเที่ยวมียอดวิวเยอะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีรายได้เยอะ ไม่เหมือนกับคอนเท้นต์เพลง มีคนดูเยอะรายได้จะเพิ่มตามยอดวิว โดยยูทูปมีสูตรแบ่งรายได้คอนเท้นต์แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน”