‘ดีอีเอส’ ปั้น ‘ท่าเรืออัจฉริยะ’ ระบุตัวตนหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต

05 พ.ย. 2563 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :05 พ.ย. 2563 | 18:37 น.

ดีอีเอส ชี้ไทยพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยว เร่งปั้นท่าเรืออัจฉริยะหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต ชูระบบยืนยันตัวตนก่อนลงเรือ นำร่องเฟสแรกท่าเทียบเรืออ่าวปอ

    นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม       นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า โครงการท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ต้นแบบท่าเทียบเรืออ่าวปอ เป็นโครงการที่กระทรวงดิจิทัลฯ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อทำให้ทราบข้อมูลและจำนวนผู้โดยสารในเรือแต่ละลำ เนื่องจากเหตุการณ์เรือฟีนิกซ์ล่ม ทำให้พบว่ามีปัญหาการตรวจสอบนักท่องเที่ยวทางทะเลที่ ไม่สามารถระบุตัวตนผู้โดยสารที่ลงเรือได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงไม่ทราบว่าเรือนั้นมีนักท่องเที่ยวลงไปทั้งหมดกี่คน รวมถึงการหาตำแหน่งของนักท่องเที่ยวที่เกิดอุบัติเหตุหรือสูญหาย โดยในปีที่ผ่านมาภูเก็ตมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านคน มีท่าเรือ 24 ท่า ซึ่งท่าเรืออ่าวปอถือเป็นท่าเรืออันดับที่ 3 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวปีละกว่า 1 ล้านคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ‘ดีอีเอส’ จับมือ ปณท ดันสินค้าชุมชนปลุกเศรษฐกิจ 3 จ.อันดามัน

“พุทธิพงษ์” ติดตามงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมภาคใต้ พบต้องคัดกรองกว่า 25 ล้านข้อความ

‘ดีอีเอส’ ปั้น ‘ท่าเรืออัจฉริยะ’ ระบุตัวตนหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต

     ทั้งนี้ระบบของท่าเรืออัจฉริยะ ประกอบด้วย 1. การลงทะเบียนผู้โดยสารทางทะเล โดยให้ผู้ประกอบการทัวร์ หรือเจ้าของเรือ ลงทะเบียนรายชื่อผู้โดยสาร ลูกเรือ พร้อมเส้นทางการเดินทางของเรือก่อนเรือออกในแต่ละวัน 2. ระบบจัดการผู้โดยสารท่าเรืออัจฉริยะ คือ ประตูอัตโนมัติ จุดขึ้นลงเรือ พร้อม CCTV จับใบหน้าและวัดอุณหภูมิ และตู้พร้อมอุปกรณ์ (Kiosk) ลงทะเบียนผู้โดยสารหน้าท่าเรือ พร้อมกล้องจับใบหน้า เครื่องอ่านบัตรประชาชน และพาสปอร์ต 3. ระบบ Wristbands ติดตามตัวบุคคลและร้องขอความช่วยเหลือเมื่อประสบภัย และ 4. เรือท่องเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการเพื่อเป็นต้นแบบท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) เป็นจุด One Stop Service บูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อการพัฒนา การบริหารงานท่าเทียบเรือในอนาคต โดยเฟสแรกนั้นนำร่องที่ท่าเทียบเรืออ่าวปอ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และได้มีการ MOU เพื่อนำระบบไปใช้แล้วในเฟสต่อไป ได้แก่ ท่าเทียบเรือโบ๊ท ลากูน, ท่าเทียบเรือรอยัลภูเก็ต, ท่าเทียบเรือเอเชีย มารีน่า, และท่าเทียบเรือ ราไวย์

‘ดีอีเอส’ ปั้น ‘ท่าเรืออัจฉริยะ’ ระบุตัวตนหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต

“โครงการดังกล่าวนั้นใช้งบประมาณไม่มาก เนื่องจากภาคเอกชนมีความพร้อมในการลงทุน ซึ่งได้มีการของบประมาณไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยจากนี้ได้ให้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ดูแลโครงการ ตรวจสอบการใช้งานและควบคุมระบบดังกล่าว เบื้องต้นคาดว่าจะจัดทำริสต์แบนด์ประมาณ 10,000 ชิ้น ส่วนในเรื่องของซอฟต์ แวร์ที่เป็นระบบไทยแลนด์พลัสนั้น ดำเนินการแล้วเสร็จโดยตั้งงบไว้ 40 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)”

   

‘ดีอีเอส’ ปั้น ‘ท่าเรืออัจฉริยะ’ ระบุตัวตนหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต     สำหรับโครงการท่าเรืออัจฉริยะเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดขึ้นจริงกับนักท่องเที่ยวโดยสามารถระบุตัวตนนักท่องเที่ยว ป้องกันการระบาดของโควิด-19 มีการกักกันโรคบนเรือ ซึ่งการควบคุมนักท่องเที่ยวนั้นเนื่องจากเป็นมาตรการในการเข้าประเทศหากไม่ให้ความร่วมมือจะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค ซึ่งอาจมีบทลงโทษ แต่เชื่อว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือ โดยเชื่อมั่นว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวหลังจากนี้จะมากขึ้นทวีคูณ เพราะตอนนี้เราพร้อมแล้วที่จะเปิดประเทศ โครงการดังกล่าวจะสนับสนุนให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ มั่นใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตเพิ่มขึ้น ภายหลังมีมาตร การผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าไทย ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูเก็ตจากผลกระทบของสถาน การณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา

      ‘ดีอีเอส’ ปั้น ‘ท่าเรืออัจฉริยะ’ ระบุตัวตนหนุนท่องเที่ยวภูเก็ต   นอกจากนี้กระทรวงดิจิทัลยังได้มีการติดตามผลการดำเนินงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในพื้นที่ภาคใต้ ที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ โดยมีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง ในจำนวนนี้ 56% เป็นข่าวในหมวดสุขภาพตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,620 เรื่อง 38%, หมวดเศรษฐกิจ 251 เรื่อง 4% และหมวดภัยพิบัติ 143 เรื่อง คิดเป็น 2% โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เป็นหนึ่งในนโยบายหลัก 12 ด้านของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการจัดการข้อมูล ที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะข่าวปลอมที่สร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง 

 

: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,624 หน้า 16 วันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2563