ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง

18 พ.ค. 2563 | 11:27 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ค. 2563 | 18:47 น.
2.3 k

ดีป้า สานต่อการส่งเสริมระบบเกษตรอัจฉริยะ หนุนเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอที บริหารจัดการน้ำ พร้อมก้าวผ่านวิกฤติ ภัยแล้ง อย่างยั่งยืน

    ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง    นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ซึ่งต้องเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่องแล้ว สภาวะ ภัยแล้ง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความเดือดร้อนให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเกษตรกรไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประเมินว่าช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 สถานการณ์ ภัยแล้ง ในประเทศไทยอาจทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง เนื่องจากฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 12% ในปีที่ผ่านมา ประกอบกับปริมาณน้ำใช้การในอ่างเก็บน้ำมีเพียง 22% ของความจุรวม

ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง

     ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังคงต้องจับตาในเรื่องของภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณน้ำลดลงและเกิดวิกฤติ ภัยแล้ง จึงต้องติดตามและเฝ้าระวังการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ พื้นที่ปลูกไม้ผลนอกเขตชลประทานเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 30 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ราว 370,000 ไร่ เช่นเดียวกับพื้นที่การเกษตรอื่น ๆ เช่น นาข้าว ที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลผลิตอาจได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้ง เช่นกันโดยหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนสังคม ชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรในประเทศต่อยอดภูมิปัญญาด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อก้าวผ่านวิกฤติต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องคือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง      ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า ที่ผ่านมา ดีป้า โดยฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ได้นำเสนอมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในชนบท (depa Digital Transformation Fund for Community) เพื่อช่วยให้พี่น้องเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร

ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง

      ทั้งนี้ ดีป้า จะมีบทบาทในการเป็นสื่อกลางให้เกษตรกรกับผู้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาพบกัน ก่อนนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต พร้อมรับการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยหนึ่งในโครงการสำคัญช่วง ภัยแล้ง คือ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (ไอโอที) ควบคุมระบบให้น้ำอัตโนมัติภาคการเกษตร ขณะนี้มีโครงการจากเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศได้รับการสนับสนุนและใช้งานจริงแล้วจำนวน 13 โครงการ อาทิ โครงการโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของมะเขือเทศเชอรี โดยวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการพัฒนาระบบไอโอทีสำหรับการตรวจวัดและควบคุมการเพาะปลูกในโรงเรือน โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เขาไม้แก้ว ฯลฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวที่ ดีป้า สนับสนุนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนช่วยในการบริหารจัดการน้ำภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพื่อฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง อย่างยั่งยืน

ดีป้า หนุน “เกษตรอัจฉริยะ” ชูไอโอทีบริหารจัดการน้ำฝ่าวิกฤติ ภัยแล้ง

 

“สถานการณ์ ภัยแล้ง ถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกษตรกรจำเป็นต้องเผชิญ ซึ่ง ดีป้า พร้อมเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในมิติต่าง ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานให้เหล่าเกษตรกร เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน พร้อมก้าวผ่านวิกฤต ภัยแล้ง ครั้งนี้อย่างยั่งยืน”