"โกลบเทค" เปิดฟีเจอร์ใหม่แผนที่ "นอสตร้า แมป" "Gridded Population Data" เครื่องมือวัดความหนาแน่นของประชากร หนุน 4 ธุรกิจ การเงินการธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ห้างร้าน และสินเชื่อกู้ยืม สร้างมูลค่าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน
นายวิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้ให้บริการแผนที่นอสตร้าแมป เปิดเผยว่า ได้มีการเปิดตัว
"กริด พอปพิวเลชั่น ดาต้า" (Gridded Population Data) ข้อมูลแผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากรที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลรอบด้านจากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น งานด้านการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจ วางกลยุทธ์แผนการให้บริการ สร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ ขยายสาขาใหม่ และช่วยจัดการการขายในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ เพื่อการบริหารต้นทุนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พร้อมชี้ภาคธุรกิจเริ่มมองหาตัวช่วยในการวิเคราะห์สถิติความหนาแน่นของประชากร เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจให้รัดกุม ในปัจจุบันมีลูกค้าในกลุ่มการเงินได้เริ่มนำข้อมูล
"กริด พอปพิวเลชั่น ดาต้า" (Gridded Population Data) ไปใช้ งานแล้วเพื่อการวิเคราะห์ขยายสาขาการให้บริการและวางตู้เอทีเอ็ม สำหรับการบริการลูกค้ากว่า 70 ล้านคนทั่วประเทศ
[caption id="attachment_356617" align="aligncenter" width="324"]
วิชัย แสงหิรัญวัฒนา[/caption]
"จากข้อมูลตัวเลขความหนาแน่นของประชากร ปี 2561 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรสูงถึง 70 ล้านคน กรุงเทพฯ มีจำนวนประชากรมากกว่า 10 ล้านคน สูงขึ้นจากสถิติปี 2558 ถึง 2.6% และคาดว่าจะเกิน 12.1 ล้านคน ในอีก 10 ปีข้างหน้า"
ทั้งนี้
"กริด พอปพิวเลชั่น ดาต้า" ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจในด้านการวิเคราะห์สถิติความหนาแน่นของประชากรแสดงผลเป็นแผนภาพ เพื่อช่วยกำหนดกลยุทธ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ อ้างอิงจากการสำรวจโดยจะเป็นความหนาแน่นของประชากรที่เป็นผู้ให้บริการ ในช่วงเวลาทำการตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์และแสดงผลบนระบบแผนที่ให้มองเห็นความหนาแน่นได้อย่างละเอียดชัดเจน โดยหลักการคำนวณ 1 Grid จะมีขนาดพื้นที่ 500 x 500 เมตร โดยจุดเด่นของ
"กริด พอปพิวเลชั่น ดาต้า" คือ สามารถแสดงข้อมูลแผนที่และสถานที่ซ้อนทับไปกับข้อมูลความหนาแน่นของประชากรที่นำเข้าไปคำนวณในระบบแสดงผลสีอ่อนและสีเข้มตามความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ ช่วยให้เห็นภาพแสดงผลการวิเคราะห์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากกว่าการดูตารางข้อมูลตัวเลขจำนวนมาก"
นายวิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า "จากการขยายตัวของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านของยุคดิจิตอล ทำให้ทุกภาคธุรกิจต้องเผชิญกับการถูกดิจิตอลดิสรัปชัน
"กริด พอปพิวเลชั่น ดาต้า" จึงได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยมุ่งสนับสนุน 4 ธุรกิจ อันได้แก่ การเงินการธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ห้างร้าน และสินเชื่อกู้ยืม โดยจะสามารถนำไปใช้ต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้ เช่น ธุรกิจธนาคารและการเงิน นำมาวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพ โดยหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรที่มีศักยภาพ เพื่อโอกาสในการเข้าถึง การตั้งสาขาให้บริการ ทำเลที่มีศักยภาพในการตั้งเอทีเอ็ม รวมถึงการนำเสนอโปรโมชันต่าง ๆ ได้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ หรือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นำมาหาพื้นที่ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการสร้างหมู่บ้านและคอนโดฯ เพื่อขยายธุรกิจ สำหรับธุรกิจ ห้าง ร้านค้าปลีก สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่บริการ (Service Area) เพื่อประกอบการตัดสินใจในการขยายธุรกิจเพื่อครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากขึ้นและได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น และธุรกิจสินเชื่อและกู้ยืมเงินใช้ในการวางแผนตั้งสาขาใหม่ รวมทั้งจัดการการขายสินเชื่อในพื้นที่ต่าง ๆ ได้
หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,424 ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2561