zero-carbon

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

    แก้ปัญหาฝุ่นควันภาคเกษตร คืบ “ธรรมนัส” รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “ GAP PM 2.5 Free Campaign ใหญ่ 3 R” บูรณาการรัฐ –เอกชนหวัง แก้ปัญหายั่งยืน ใต้มาตรฐาน GAP Low Carbon

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำทีมวางนโยบายขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่นควันจากภาคเกษตร ทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยาว ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ภาคเกษตร สอดรับนโยบายสำคัญรัฐบาลในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิ่งแวดล้อมสะอาดสำหรับทุกคน

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

ในการประชุม เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้นำเสนอแนวทางการบูรณาการลดปัญหาฝุ่นควันภาคเกษตร ภายใต้ Campaign 3R ลดปัญหา PM2.5 ภาคเกษตรอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกเพิ่มมูลค่ามาตรฐานการผลิตพืชใหม่ "GAP PM2.5 Free" ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สปกษ.) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.)  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)  กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วยหน่วยงานภายนอก อันได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นต้น

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวมาตรฐาน GAP PM2.5 Free ภายใต้ Campaign 3R ประกอบด้วย 1) Re-Habit การปรับเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมเกษตรกรในการทำการเกษตรแบบไม่เผา 2) Replace with High Value Crops ปรับเปลี่ยนโดยการปลูกพืชกลุ่มไม้ผลหรือพืชยืนต้นที่มีมูลค่าสูงทดแทนพืชระยะสั้น 3) Replace with Alternate Crops ปรับเปลี่ยนพี้นที่นาปรังเป็นพืชสร้างรายได้อื่น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกลไกผลักดันให้เกิดความยั่งยืนจากการปรับเปลี่ยนทั้ง 3 รูปแบบ

 

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

ดังกล่าวคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยกลไกทางเศรษฐศาสตร์สำหรับเกษตรกร ที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ ผ่านการรับรองการผลิตพืชแบบไม่เผา หรือ GAP PM2.5 Free โดยยังเน้นหลักพื้นฐาน คือ การทำการเกษตรบนพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ตามข้อกำหนดไม่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ผนวกกับการใช้นวัตกรรมผลงานวิจัยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ เช่น การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายซากพืช หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นภาพถ่ายดาวเทียมในการติดตามและประเมินร่องรอยการเผา เป็นต้น

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้มีการดำเนินการทันที ในพื้นที่นำร่อง 2 แห่ง คือ จ.เชียงใหม่ และ จ.พะเยา ที่จะปรับรูปแบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นแบบ Low Carbon ภายใต้มาตรฐานการผลิตข้าวโพดแบบไม่เผา GAP PM 2.5 Free เพื่อลดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ภาคการเกษตร พร้อมทั้งจัดทำชุมชนต้นแบบการปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวสร้างรายได้เพิ่มหลังนาแบบ Low Carbon รวมถึงแนะนำการปลูกไผ่พลังงานหรือไผ่ซางหม่น ณ อำเภอภูซาง พะเยา สำหรับนำส่งโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ใกล้เคียง เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มเติม  รวมถึง แนะนำให้ทำการปลูกป่า ปลูกต้นไม้ยืนต้น เพิ่มเติม

 

 

“ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ สวพส. กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานเกี่ยวข้องรัฐ และเอกชน บูรณาการเตรียมแผนระยะยาวเพื่อความยั่งยืน โดยการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชล้มลุกเป็นไม้ผล เช่น กาแฟ อาโวกาโด มะคาเดเมีย มะม่วง หรือพืชยืนต้น เช่น ไม้เศรษฐกิจที่มีมูลค่า หรือไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน เช่น ต้น Silver Oak เป็นต้น โดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการปรับเปลี่ยนชนิดพืช ซึ่งใช้ต้นแบบบางส่วนจากการดำเนินงานของ สวพส. กรมส่งเสริมการเกษตร และ กรมพัฒนาที่ดิน ที่มีอยู่เดิม ผนวกการกับรูปแบบการผลิตพืชภายใต้มาตรฐาน GAP Low Carbon

  “ธรรมนัส” เปิดตัวมาตรฐานน้องใหม่ “GAP PM 2.5 Free” แก้ฝุ่นควันภาคเกษตร

ในโอกาสนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นย้ำการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ภาคการเกษตร โดยเฉพาะในระยะสั้นที่จะสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และกำชับทุกหน่วยงานในสังกัดร่วมบูรณาการทำงาน ในการแก้ไขปัญหาในภาคเกษตรให้ครอบคลุมรอบด้านพร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการ ตามแนวนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพดี มีงาน มีอาชีพ อย่างยั่งยืน ต่อไป