สงครามอิสราเอล-ฮามาส ซ้ำเติมวิกฤติโลกร้อน ท้าทายการประชุม COP28

01 พ.ย. 2566 | 12:50 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ย. 2566 | 12:50 น.

สงครามอิสราเอล-ฮามาส ซ้ำเติมวิกฤติโลกร้อนเเละการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด เเละยังเป็นความท้าทายการประชุม COP28 ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่กลุ่มฮามาสเปิดฉากการโจมตีอย่างไม่คาดคิดภายในอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนการยิงข้ามพรมแดนกับอิสราเอลอย่างหนักมากขึ้นเรื่อยๆ อิหร่านปฏิเสธไม่มีบทบาทใดๆ ในการโจมตีของกลุ่มฮามาส ขณะเดียวกันช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อิสราเอลได้ขยายการโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดินในฉนวนกาซา ซึ่งถูกทิ้งระเบิดอย่างไม่หยุดยั้งมานานกว่า 3 สัปดาห์

แน่นอนว่ามันไม่ควรเป็นแบบนี้ในยุคใหม่ของการลดความรุนแรง ความสงบ และการฟื้นฟูในตะวันออกกลาง เรื่องราวดำเนินไปโดยคาดหวังให้ลดความตึงเครียดในภูมิภาคที่ถูกทำลายด้วยความขัดแย้ง ที่สำคัญที่สุดคือ ภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน และความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง "พลังงานสะอาด"

ปัจจุบันหลังจากการรุกรานอิสราเอลโดยกลุ่มฮามาส และการตอบโต้โดยกองกำลังทหารอิสราเอลในฉนวนกาซา วาระด้านสภาพภูมิอากาศในตะวันออกกลางมีแนวโน้มที่จะถูกกระทบกระเทือนและตึงเครียดในหลายพื้นที่สำคัญ

Frederic Wehrey สมาชิกอาวุโสในโครงการตะวันออกกลางที่ Carnegie Endowment for International Peace กองทุนคาร์เนกี้เพื่อสันติภาพสากล ในกรุงวอชิงตัน วิเคราะห์ผลกระทบจากความขัดแย้ง ในมุมเศรษฐกิจกิจโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีน้อยแต่การยืดเยื้อและการขยายตัวทางภูมิศาสตร์ของสงครามมีแนวโน้มที่จะทำให้ภาพรวมมืดมนลงอย่างมาก ตามการระบุของ IMF จะส่งผลกระทบต่อทั้งราคาน้ำมันและการเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากประวัติศาสตร์ 50 ปี หลังจาก การคว่ำบาตรน้ำมันของอาหรับ ทำให้ตลาดพลังงานปั่นป่วน  ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อความสามารถและความเต็มใจของประเทศร่ำรวยในการช่วยเหลือประเทศยากจนที่ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ รวมถึงประเทศในตะวันออกกลางด้วย 

โดยในปี 2009 ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้คำมั่นว่าจะมอบเงินราวหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 3.6 ล้านล้านบาทต่อปีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อช่วยให้พวกเขาลดการปล่อยมลพิษและเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เเต่เป้าหมายดังกล่าวยังคงไปไม่ถึง 

ผลกระทบจากสงครามยังมีต่อความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศพหุภาคีระหว่างอิสราเอลและโลกอาหรับ เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญชาวอิสราเอลในสัปดาห์สภาพภูมิอากาศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทันทีหลังการโจมตีของกลุ่มฮามาส ได้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ โครงการริเริ่มความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศอื่นๆที่กำลังดำเนินการระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ ทั้งในด้านการจัดการน้ำเทคโนโลยีสีเขียวและพื้นที่ต่างๆ อาจไม่ได้รับผลกระทบ

สงครามอิสราเอล-ฮามาสกดดัน-ท้าทายการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ COP28

แต่ความตึงเครียดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นใน การประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ COP28 ที่กำลังจะมีขึ้น ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค.นี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพในดูไบ ซึ่งถือเป็นรัฐที่อยู่แนวหน้าของการฟื้นฟูอาหรับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งใจจะใช้การประชุมสุดยอดนี้เป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับเทลอาวีฟ เมืองเศรษฐกิจที่สำคัญและมั่งคั่งที่สุดในอิสราเอล

โดยมีการเชิญ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลให้เข้าร่วม แต่วิธีที่ผู้นำอิสราเอลจะมีส่วนร่วมนั้นเป็นเรื่องยากที่ในแง่ของการล้อมฉนวนกาซาของอิสราเอลและการหลั่งไหลของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์ในหมู่ประชาชนอาหรับ รวมถึงผู้ที่อยู่ในอ่าวเปอร์เซีย นอกเหนือจากการไม่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการฟื้นฟูให้เป็นมาตรฐาน ผู้นำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อาจเผชิญกับความเสียหายอันยาวนานจากการเข้าร่วมของเนทันยาฮู

การประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ COP28

การวิเคราะห์อธิบายว่า นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมมีแนวโน้มที่จะยกสถานการณ์ในฉนวนกาซา โดยดึงความสนใจว่าการรุกรานของอิสราเอลที่ทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยการทำลายโครงสร้างพื้นฐานและบริการทางน้ำ และการพลัดถิ่นครั้งใหญ่ จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวปาเลสไตน์อย่างไร ข้อเรียกร้องเหล่านี้อาจขยายไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์เเละท้าทายประธาน COP 28 สุลต่าน บิน อาห์เหม็ด อัล จาเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบรรษัทบริหารธุรกิจน้ำมัน

อิสราเอลบนเวที COP27 เป้าหมายเเละนวัตกรรมแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ปีที่แล้วก่อนการประชุม COP 27 ที่จัดขึ้น ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ อิสราเอลเองส่งผู้แทนคณะใหญ่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย และยังเป็นครั้งแรกที่อิสราเอลเปิดอาคารแสดงนิทรรศการว่าด้วยนวัตกรรมและการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

อิสราเอลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างน้อยร้อยละ 85 ภายในปี 2050 ซึ่งจะเริ่มจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ร้อยละ 27 ภายในปี 2030 

อิสราเอลคิดค้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เช่น การลงทุนในภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ ฯลฯ

อย่างที่ทราบกันดี อิสราเอลมีความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการจัดการน้ำ เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งคาดว่าจะแบ่งปันและช่วยแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย ระบบการชลประทานอัจฉริยะ พืชตัดแต่งพันธุกรรม การผลิตและจัดเก็บพลังงานสะอาด โปรตีนทางเลือก เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ประชาคมโลกในการหาหนทางแก้ปัญหาโลกร้อน 

ที่มาข้อมูล