จีนเคยเปลี่ยนระบบพลังงานของโลกมาก่อนและเตรียมเปลี่ยนอีกครั้ง เนื่องจากการวิเคราะห์ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ชี้ให้เห็นว่าความต้องการน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติกำลังจะถึงจุดสูงสุดก่อนสิ้นทศวรรษนี้ โดยที่สัดส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิลในการจัดหาพลังงานโลกลดลงแตะ 73% ภายในปี 2030 หลังจากที่ติดอยู่ที่ระดับ 80% มานานหลายสิบปี
ฟาติห์ บิโรล ผู้อำนวยการบริหารของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุว่า จีนเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีสัดส่วนมากกว่า 50% ของความต้องการพลังงานโลกที่เพิ่มขึ้น และ 85% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มขึ้นตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
แต่จีนกำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลง โดยอยู่ระหว่างการปรับสมดุลและปรับโครงสร้างใหม่ ซึ่งคาดการณ์ว่าความต้องการพลังงานทั้งหมดของจีนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางทศวรรษนี้ โดยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของพลังงานสะอาดส่งผลให้ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลดลง
เพื่อเป็นการสะท้อนคำพูดของผู้อำนวยการบริหารของสำนักงานพลังงานสากลทำให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น หากย้อนกลับไปในปี 2007 นายกรัฐมนตรีของจีนในขณะนั้นเตือนว่า ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจจีนคือการเติบโตไม่มั่นคง ไม่สมดุล ไม่ประสานกัน และไม่ยั่งยืน การปรับสมดุลนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อแนวโน้มภาคพลังงานของจีน และเมื่อพิจารณาจากขนาดของจีนต่อโลกด้วย
เศรษฐกิจของจีนกำลังเปลี่ยนจากการพึ่งพาอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตเหล็กและซีเมนต์ ตลอดจนทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้ล้วนกำลังตกต่ำ ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลของจีนจะน้อยกว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมาก คือแรงผลักดันที่ทำให้เชื่อว่าจะได้เห็นเชื้อเพลิงฟอสซิลถึงจุดสูงสุดในทศวรรษนี้
ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญอีกประการหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังจุดสูงสุดของเชื้อเพลิงฟอสซิลคือพลังงานสะอาด รวมถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า และความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า
ปัจจุบันจีนก็กลายเป็นผู้นำระดับโลกในการผลิตและซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และโมเมนตัมไม่ได้ลดลง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายได้ต่อปีในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคันเป็น 6.8 ล้านคันทำให้ปี 2022 ถือเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันที่จีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก . เพื่อการเปรียบเทียบ สหรัฐอเมริกาขายได้เพียงประมาณ 800,000 EV ในปี 2022
การเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ในระหว่างการประชุมพลังงาน Facts Global Energy คาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันของจีนจะถึงจุดสูงสุดในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ย้อนกลับไปที่การประชุม COP26 จีนเผยแพร่คำมั่นสัญญาด้านสภาพอากาศแห่งชาติฉบับใหม่ ในการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution) ซึ่งเป็นกลไกเพื่อบรรลุความตกลงปารีส ที่จีนส่งไปยังสหประชาชาตินั้น จีนตั้งเป้าที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้สูงสุดก่อนปี 2030 และบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) ก่อนปี 2060
ยิ่งจุดสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาเร็วเท่าไร โอกาสของจีนก็จะบรรลุถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ทันเวลามากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ความมุ่งมั่นของจีนที่สหประชาชาติสมัชชาใหญ่ในเดือนกันยายน 2021 ยุติการสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศ และยกระดับการสนับสนุนพลังงานสะอาด
แหล่งที่มาการปล่อยก๊าซคาร์บอไดออกไซด์ของจีน
ภาคพลังงาน (48% ของการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการพลังงานและอุตสาหกรรม)
เป้าหมายที่เแผนพัฒนา 5 ปีของจีน
การลดความเข้มข้นของคาร์บอนลง 18% และความเข้มข้นของพลังงานที่ลดลง 13.5% ในช่วงปี 2021 - 2025
มีข้อเสนอที่ไม่มีข้อผูกมัดในการเพิ่มส่วนแบ่งเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิลของการใช้พลังงานทั้งหมดเป็น 20% ภายในปี 2025 (จากประมาณ 16% ในปี 2021 ) หากจีนบรรลุเป้าหมายนโยบายระยะสั้นเหล่านี้ คาดการณ์ว่าการปล่อยคาร์บอนของจีนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะอยู่ในระดับสูงในช่วงกลางปี 2020 จากนั้นจะลดลงเล็กน้อยจนถึงปี 2030
3 ด้านหลัก พาจีนบรรลุจุดสูงสุดปล่อยคาร์บอนของจีนก่อนปี 2030
ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงานหมุนเวียน และการลดการใช้ถ่านหิน ความต้องการพลังงานหลักของจีนเติบโตช้ากว่าเศรษฐกิจโดยรวมจนถึงปี 2030 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพและการเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมหนัก
ภาคพลังงานที่เปลี่ยนแปลงนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพอากาศอย่างรวดเร็ว พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใหญ่ที่สุดภายในปี 2045 ความต้องการถ่านหินลดลงมากกว่า 80% ภายในปี 2060 น้ำมันประมาณ 60% และก๊าซธรรมชาติมากกว่า 45% ภายในปี 2060 เกือบหนึ่งในห้าของไฟฟ้าถูกใช้เพื่อผลิตไฮโดรเจน
การลงทุนในภาคพลังงานของจีนเพิ่มขึ้น
การลงทุนรวมต่อปีสูงถึง 640 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 ล้านล้านหยวน) ในปี 2030 และเกือบ 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6 ล้านล้านหยวน) ในปี 2060 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 60% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งการลงทุนด้านพลังงานต่อปีของ GDP ซึ่งเฉลี่ย 2.5% ในปี 2016-2020 ลดลงเหลือเพียง 1.1% ภายในปี 2060
สัดสวนพลังงานหมุนเวียนสำหรับการเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาดของจีน
การผลิตพลังงานหมุนเวียน ส่วนใหญ่เป็นพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น 7 เท่าระหว่างปี 2020 ถึง 2060 หรือคิดเป็นเกือบ 80% ของการผลิตในขณะนั้น ในทางตรงกันข้าม ส่วนแบ่งของถ่านหินลดลงจาก 60% เหลือ 5% และการผลิตโดยใช้ถ่านหินอย่างต่อเนื่องจะหยุดลงในปี 2050 กำลังการผลิตที่หมุนเวียนได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย3 เท่าในทุกภูมิภาคภายในปี 2060
ที่มาข้อมูล
How did China come to dominate the world of electric cars?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง