สาวก Apple ถูกใจสิ่งนี้ ล่าสุดประกาศเปิดตัว iPhone 15 และ iPhone 15 Plus ใหม่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสีสันที่สวยงามน่าสนใจ รวมถึงฟีเจอร์กล้องใหม่ที่ดีกว่าเดิม มาพร้อมช่องเสียบสาย USB-C
สนนราคาวางจำหน่าย iPhone 15 ในไทย เริ่มต้นที่ 32,900 บาท สูงสุด iPhone 15 Pro Max 66,900 บาท จะเปิดให้สั่งจองล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ Apple และตัวแทนจำหน่าย รวมถึงโอเปอเรเตอร์ในวันที่ 15 ก.ย. เวลา 19.00 น. โดย iPhone 15 ใหม่หลายล้านเครื่องจะถูกส่งไปหาลูกค้า โดยคาดว่าจะวางจำหน่ายในวันที่ 22 กันยายน
คุณสมบัติใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง ก็คือ พอร์ต USB-C ด้านล่าง หลังจากที่สหภาพยุโรปกำหนดให้พอร์ตชาร์จสากลบังคับใช้เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์
แน่นอนว่าการเปลี่ยนมือถือรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น เเต่คำถามที่ตามมา คือ ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในการอัพเกรดมือถือใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือไม่
เว็บไซต์ Euronews รายงานว่า ตามการวัดของ Apple พบว่า 79 % ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดวงจรของโทรศัพท์ถูกปล่อยออกมาในระหว่างการผลิต แม้ว่าความต้องเป็นเจ้าของ iPhone รุ่นล่าสุดจะไม่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในสัปดาห์หน้า แต่น่าจะช่วยจำกัดจำนวนโทรศัพท์ที่ผลิตได้ในอนาคต นั่นหมายถึง การใช้ทรัพยากรที่สำคัญต่อการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย อาทิ โลหะมีค่าและแผ่นไมโครชิป
หากมองในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด "ภาวะโลกร้อน" กระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนได้ปล่อยคาร์บอนมากถึง 85-95 % ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเลยทีเดียว ปัญหาคือการสร้างสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ โดยเฉพาะการขุดวัสดุหายากที่อยู่ภายในนั้น หมายความว่า การซื้อโทรศัพท์ใหม่หนึ่งเครื่องจะใช้พลังงานมากพอๆ กับการชาร์จและการใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดทั้งทศวรรษ ตามรายงานของ fastcompany
จากข้อมูลพบว่า สมาร์ทโฟนมีส่วนทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ประมาณ 10 % จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือที่ประมาณการณ์ว่าในปี 2562 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสมาร์ทโฟนจำนวนมากถึง 50 ล้านตัน และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบ อาจเพิ่มมากกว่าสองเท่าเป็น 120 ล้านตันภายในปี 2050 ตามรายงานของ สหประชาชาติ เเละยังระบุอีกว่า หากยืดอายุของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และการนำชิ้นส่วนไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่จะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
อายุการใช้งานเเละยอดขายสมาร์ทโฟน
ด้วยยอดขายสมาร์ทโฟนประมาณ 211 ล้านเครื่องในสหภาพยุโรปต่อปี แต่ละเครื่องมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 3 ปีก่อนที่จะถูกแทนที่
ขณะที่ในประเทศ ข้อมูลจาก IDC รายงานภาพรวม “ตลาดสมาร์ทโฟนไทย” ช่วง ไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2566 มียอดจัดส่งลดลง 25.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง
ด้านข้อมูลจาก statista จากกราฟพบว่า ในปี 2022 สมาร์ทโฟนขายได้ประมาณ 1.39 พันล้านเครื่องทั่วโลก โดยตัวเลขนี้คาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 1.34 พันล้านเครื่องในปี 2023
อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนยังคงเพิ่มขึ้น
ประชากรน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเป็นเจ้าของอุปกรณ์อัจฉริยะในปี 2559 แต่อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแตะร้อยละ 78.05 ในปี 2563 ภายในปี 2025 คาดการณ์ว่าเกือบ87 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าของ สมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในปี 2010
ยอดขายของผู้ใช้สมาร์ทโฟน
ในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว คาดว่า ยอดขายสมาร์ทโฟนจะมีมูลค่าประมาณ 73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2010 ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2020 ถึง 2021 ในทุกภูมิภาคหลัก ๆ เนื่องจาก ตลาดเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด9)
Apple มีความยั่งยืนมากขึ้นหรือไม่?
ก่อนหน้านี้ Apple ถูกหน่วยงานเฝ้าระวังการต่อต้านการผูกขาดของอิตาลีปรับเงิน 10 ล้านยูโรหลังจากพบว่าการอัปเดตซอฟต์แวร์ของบริษัททำให้เกิดความผิดปกติและสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า สิ่งนี้ผลักดันให้ผู้คนหันมาซื้อโทรศัพท์ใหม่ แม้ว่า Apple จะปฏิเสธว่านั่นไม่ใช่ความตั้งใจก็ตาม
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่ปล่อยออกมาในการสร้างสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่นั้น ตามรายงานฉบับหนึ่ง ระบุว่า การซื้อโทรศัพท์ใหม่ใช้พลังงานมากพอๆ กับการชาร์จและการใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดทั้งทศวรรษ แต่ Appleซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังพยายามแก้ไขการกระทำในด้านนี้และด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยอ้างว่าใช้โลหะหายากที่ผ่านการรีไซเคิล 100% ในแม่เหล็กของ iPhone 14 ทั้งหมด
เว็บไซต์ apple ได้ระบุว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ Apple Watch ใหม่เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเป้าหมายอันทะเยอทะยานของ Apple ในด้านสภาพภูมิอากาศในปี 2030 เป็นนวัตกรรมด้านการออกแบบและพลังงานสะอาดทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Apple Watch ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนแต่ละเครื่องลดลงกว่า 75 %
เจอข้อหาหนัก! ประเด็นใช้แรงงานเด็ก
ในปี 2019 Apple พร้อมด้วย Google , Dell, Microsoft และTesla เป็นจำเลยในคดีที่ยื่นในนามของครอบครัวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) ซึ่งเด็ก ๆ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตขณะทำเหมืองโคบอลต์ บริษัทต่างๆ ปฏิเสธการใช้แรงงานเด็ก โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเหมืองโคบอลต์ และไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ได้อย่างแน่ชัด และผู้พิพากษาศาลแขวงของสหรัฐฯ ได้ยกฟ้องคดีในปี 2021
ข้อมูล
iPhone 15 release date: How much energy will you save by not buying the new model?
Smartphones Are Killing The Planet Faster Than Anyone Expected
What are rare earth elements and why are they so important in the US-China trade war?
UN environment chief warns of ‘tsunami’ of e-waste at conference on chemical treaties
Apple and Google named in US lawsuit over Congolese child cobalt mining deaths
ข่าวที่เกี่ยวข้อง