แนวปะการังนอกชายฝั่งฟลอริดากำลังเผชิญกับปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่เนื่องจากอุณหภูมิในมหาสมุทรสูงเป็นประวัติการณ์และบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ทั่วโลกอาจกำลังเกิดขึ้น
ความเสียหายอย่างถาวรต่อแนวปะการังของฟลอริดาอาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเศรษฐกิจของรัฐ เนื่องจากแนวปะการังให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมูลค่าระหว่าง 678.8 ล้านดอลลาร์-1.3 พันล้านดอลลาร์แก่ฟลอริดา ซึ่งรวมถึงการดำน้ำเพื่อการพักผ่อนและการดำน้ำตื้น 577.5 ล้านดอลลาร์ การตกปลาเชิงพาณิชย์ 31.2 ล้านดอลลาร์ ตามการประเมินที่รวบรวมโดย NOAA Ian Enochs นักนิเวศวิทยาการวิจัยของห้องปฏิบัติการมหาสมุทรศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาแอตแลนติกของ NOAA
แนวปะการังสนับสนุนการประมงและการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารที่เกี่ยวข้องในเศรษฐกิจชายฝั่งเหล่านั้น ทั้งยังเป็นแนวป้องกันแรกสำหรับชุมชนชายฝั่งจากผลกระทบของพายุซึ่งอาจทำลายชายฝั่งเเละโครงสร้างชายฝั่ง เปรียบเหมือน"กำแพงที่มีชีวิต"
ประมาณ 1 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเชื่อมโยงกับแนวปะการัง หากแนวปะการังถูกกัดเซาะและสูญเสีย โครงสร้างบางส่วนไป หมายความว่าจะสูญเสียความสามารถในการเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหลายชนิด
ฟลอริดาตะวันออกเฉียงใต้และฟลอริดาคีย์ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งฟลอริดา ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การเตือนภัยระดับ 2 ซึ่งหมายความว่า มีโอกาสเกิดการฟอกขาวและการตายอย่างมีนัยสำคัญ ตามคำจำกัดความของ NOAA เว็บไซต์วิจัยและตรวจสอบสภาพอากาศในฟลอริดาคีย์ได้บันทึกการฟอกขาวของปะการัง 100% ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม นักวิทยาศาสตร์แนวปะการัง ระบุว่า แนวปะการังมีความเครียดจากความร้อนระดับหนึ่งในน้ำที่ทอดยาวจากโคลัมเบียถึงคิวบา เเละฟลอริดาเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็ง
แนวปะการังเติบโตได้ดีที่สุดในอุณหภูมิน้ำระหว่าง 73 - 84 องศาฟาเรนไฮต์ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทำลายสถิติเดิมที่ 89.6 องศาฟาเรนไฮต์ในฟลอริดาคีย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา และสูงกว่าระดับนั้นเป็นเวลา 28 วัน เมื่อปะการังประสบกับความเครียดจากความร้อน จะทำให้สาหร่ายขนาดเล็กที่ชื่อว่า “ซูแซนเทลลี” (Zooxanthellae) ที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อของปะการังไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป สิ่งนี้เรียกว่า การฟอกขาวของปะการัง
ข้อมูลจาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าโดยทั่วไป ปะการังมีสาหร่ายซูแซนเทลลี ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัย อยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายซูแซนเทลลีให้พลังงานที่เป็นผลจากการสังเคราะห์แสงแก่ปะการังที่ใช้เป็นที่อาศัย อีกทั้งให้สีสันที่หลากหลายกับปะการังด้วย
ดังนั้นหากปะการังเหล่านี้ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีแล้ว ปะการังจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และปะการังก็จะมีแต่สีขาว ซึ่งเป็นสีของโครงร่างหินปูนที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเท่านั้น สีสันของโลกใต้น้ำบริเวณแนว ปะการังก็คงไม่งดงามเหมือนที่เห็นเช่นปัจจุบัน
กลับมาที่ข้อมูลจาก โครงการเฝ้าระวังแนวปะการังของ National Oceanic and Atmospheric Administration ระบุว่าการฟอกขาวของปะการังเคยเกิดขึ้นมาก่อนในฟลอริดา 8 เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อฟลอริดาคีย์ ตั้งแต่ปี 1987 แต่ปีนี้ความร้อนเริ่มเร็วกว่าที่เคยเป็นมา 5-6 สัปดาห์เต็ม และคาดว่าจะคงอยู่ไปจนถึงปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคม
ปะการังสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ฟอกขาวได้หากสภาวะต่างๆ อยู่ในระดับปานกลางอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอาจมีความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลงและอ่อนแอมากขึ้นในอีกหลายปีหลังจากนั้น แต่บางส่วนของปะการังในฟลอริดาคีย์ กำลังประสบกับความเครียดจากความร้อนสะสม ซึ่งเป็น 2 เท่าของที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้
ในขณะที่ปะการังฟลอริดากำลังเผชิญกับการฟอกขาวที่เลวร้ายที่สุด นักนิเวศวิทยาแนวปะการัง ได้ยืนยันการฟอกขาวของปะการังนอกชายฝั่งโคลัมเบีย คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ เม็กซิโก และปานามาในแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก และนอกชายฝั่งเบลีซ คิวบา เม็กซิโก ปานามา เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแอตแลนติก
เหตุการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วโลก 3 ครั้ง
ในปี 2541, 2553 และระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ปี 2557 - 2560 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงของเอลนีโญ
นักนิเวศวิทยาแนวปะการัง กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ การอยู่บนจุดสูงสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงมากอีกครั้ง โดยเอลนีโญเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่มีศักยภาพทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้นและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงมากขึ้น เเม้ยังเร็วเกินไปที่จะคาดเดาว่าจะเกิดเหตุการณ์ฟอกขาวทั่วโลกหรือไม่ แต่ถ้าเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของเหตุการณ์ฟอกขาวทั่วโลกที่ผ่านมา สิ่งต่างๆ ในขณะนี้เลวร้ายยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ เมื่อปี 2557 ถึง 2560
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง
อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น มาจากปัจจัยหลายประการ เโดยเฉพาะ ก๊าซเรือนกระจก (Green house effect) มีการคาดการณ์ว่า ผลของภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 90 เซนติเมตร ใน 100 ร้อยปีข้างหน้า ระดับที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้หลายประเทศรวมถึงไทย ได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ การเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวก็เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน
ปะการังสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำ
เเค่อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นเพียง 2-3 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลต่อการตายของปะการังได้ นอกจากนั้นยังมีผลต่อการสะสมหินปูนของปะการังลดลงเนื่องจากในสภาวะปกติ ทะเลสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมดที่สะสม
เมื่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยน้ำทะเลจึงเพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วน และส่งผลต่อการลดลงของสารคาร์บอเนตไอออนที่เป็นส่วน ประกอบสำคัญในการ สร้างโครงร่างหินปูนของปะการัง รวมถึงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากโลกร้อน แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำทะเลที่ลึกมากขึ้น ปริมาณแสงอาทิตย์ส่องลงไปถึงปะการังได้น้อย และทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งใช้แสงในการสังเคราะห์แสง ได้รับแสงลดน้อยลงด้วย เมื่อไม่มีแสงหรือมีแต่ไม่พอที่จะทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีดำรง ชีวิตอยู่ได้ ปะการังที่พึ่งพาอาศัยสาหร่ายนี้ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยแนวปะการังนั้น ๆ ในการดำรงชีวิต
โลกร้อนส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำทะเล (ocean circulation) ลดลง หรือหยุด
ปกติน้ำทะเลจะไม่เกิดเป็นชั้นน้ำที่อุ่น หรือเย็นแบ่งแยกกันถ้าน้ำบริเวณนั้นมีการหมุนเวียน แต่เมื่อใดก็ตามที่การหมุนเวียนของน้ำหยุด จะทำให้น้ำแบ่งชั้น สัตว์ที่อยู่บริเวณนั้น เช่นปะการังก็จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากสภาพน้ำบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกินไปคงอยู่เป็นเวลานาน
ข้อมูล
Conditions are ripe for a global coral bleaching event: ‘Florida is just the tip of the iceberg’
ข่าวที่เกี่ยวข้อง