Planet Ocean : Tides are Changing : เปลี่ยน พลิกฟื้น คืนโลกสีคราม นี่คือคำขวัญวันทะเลโลก หรือ World Ocean Day 2023
ทุกวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก หรือ World Ocean Day เพื่อเฉลิมฉลองและกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล กำหนดขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552 แนวความคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จากแนวความคิดของประเทศแคนาดา ในการประชุมความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี
3 ใน 4 ของโลกเป็นพื้นที่มหาสมุทร ระบบนิเวศหลักที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้บนโลกใบนี้ มหาสมุทรได้รับการกล่าวถึงอย่างเป็นทางการในข้อตกลงด้านสภาพอากาศของปารีสในปี 2015 แต่ในปี 2019 เท่านั้นที่การเจรจาเกี่ยวกับมหาสมุทรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ COP ด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ
เรากำลังได้ยินเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลต่อวัฏจักรคาร์บอนของโลก และการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรที่เป็นไปได้เพราะน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
มีข้อมูลจากเว็บไซต์ข้อมูลสภาพอากาศ ClimateReanalyzer.org เผยให้เห็นว่าตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรทั่วโลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับทำลายสถิติที่ 21.10 องศาเซลเซียส (69.98 องศาฟาเรนไฮต์) จากเดิมเดือนมี.ค. 2016 วัดระดับอุณหภูมิผิวน้ำสูงสุดได้โดยเฉลี่ยที่ 21.00 องศาเซลเซียส
นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งกังวลว่า นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มน่าตกใจ เเต่อุณหภูมิที่พุ่งทำลายสถิติเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล ก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้อยู่แล้วเพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์
ส่วนหนึ่งมองว่าเกิดจากการสิ้นสุดของปรากฏการณ์ลานีญา 3 ปีซ้อน เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เหล่านักอุตุนิยมวิทยาคาดว่า จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีความรุนแรงกว่าในอดีต โดยมีโอกาสประมาณ 80%ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน แต่ส่วนหนึ่งของสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจก็คือ อุณหภูมิได้สูงขึ้นมากก่อนที่จะมาถึงด้วยซ้ำ
ผลกระทบที่น่ากังวลของภาวะโลกร้อนในมหาสมุทร
ไม่ว่าสาเหตุใด การเพิ่มขึ้นของ ความร้อนในมหาสมุทร ผลกระทบนั้นอาจเป็นหายนะหากอุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การฟอกขาวของแนวปะการัง การบานของสาหร่ายที่เป็นพิษ ทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเลหายใจไม่ออก การทำประมง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับคาร์บอนน้อยลง นั่นหมายถึงมีคาร์บอนอยู่ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น พื้นผิวที่ร้อนขึ้นยังทำให้เกิดพายุไซโคลนและเฮอริเคนรุนแรงขึ้นด้วย
ข้อมูลอ้างอิง : CNN , climatereanalyzer.org , กรมประชาสัมพันธ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง