ข้าวลดโลกร้อนคืออะไร ทำแบบไหน เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ หลังจากที่กระแสการรักษ์โลกเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปพบกับคำตอบของ "ข้าวลดโลกร้อน" ว่าเป็นอย่างไร
ขั้นตอนการปลูกข้าวชาวนามักปล่อยน้ำขังในนาข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการหมักหมมจนเกิดก๊าซมีเทนต้นเหตุของภาวะโลกร้อน อีกทั้งการใช้น้ำปริมาณมาก อาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำได้
อย่างไรก็ดี ชาวนาใน 6 จังหวัดภาคกลางได้มีการปรับเปลี่ยนการทำนาด้วย 4 เทคโนโลยีที่ช่วยลดปัจจัยโลกร้อน และยังช่วยลดต้นการผลิตได้
4 เทคโนโลยีทำนาลดโลกร้อน
การทำนาลดภาวะโลกร้อนนั้น ทำได้ด้วย 4 เทคโนโลยีเริ่มจาก
สำหรับคำแนะนำในการจัดการฟางข้าวและตอซังโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คือการเอาฟางข้าวออกจากแปลงนาด้วยการอัดเป้นฟางก้อน สำหรับเป็นอาหารสัตว์ หรือเป็นวัสดุเพาะ จากนั้นไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 เดือนก่อนเตรียมดิน โดยพบว่าการไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 15 วันในสภาพดินแห้งหรือชื้นก่อนการเตรียมดิน สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวในฤดูเพาะที่ 2 และฤดูต่อๆ ไป โดยยังคงให้ผลผลิตมากเท่าเดิม
ทั้ง 4 เทคโนโลยีที่ระบุไปข้าวต้นนั้น เป็นเทคโนโลยีที่โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือโครงการไทย ไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) ส่งเสริมแก่ชาวนาใน 6 จังหวัดภาคกลางเขตชลประทาน คือ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี และ จ.สุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 2.8 ล้านไร่
โครงการไทย ไรซ์ นามาเป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี ระหว่าง พ.ศ.2561-2566 โดยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจากกองทุนที่ก่อตั้งโดยอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NAMA Facility) 14.9 ล้านยูโร หรือประมาณ 513 ล้านบาท
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง