ทำไมการกินเนื้อสัตว์ของเรา ถึงทำให้โลกร้อน ?

27 เม.ย. 2566 | 10:00 น.
อัปเดตล่าสุด :27 เม.ย. 2566 | 10:06 น.
739

ชวนดูเหตุผลว่า ทำไมการกินเนื้อสัตว์ของเรา ถึงทำให้โลกร้อนขึ้น ? ปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 

ปัญหาใหญ่ระดับโลก อีกเรื่องคงหนีไม่พ้นเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Emrgency) หรือ “ภาวะโลกร้อน” โดยที่ผ่านมาภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามประชากรทั่วโลก ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพ การดำรงอยู่ เเต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจอีกด้วย 

ที่ผ่านมามีความพยายามลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโดยการหันไปใช้พลังงานทดแทน แต่รู้หรือไม่ว่า การผลิตอาหาร ก็เป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน จากข้อมูลพบว่า กระบวนการผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 30% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดบนโลก ครึ่งหนึ่งเกิดจากการผลิตเนื้อสัตว์

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด แสดงให้เห็นว่า การทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเพิ่มเนื้อที่ฟาร์ม หรือการเกษตรที่ต้องใช้น้ำจำนวนมากเพื่อเลี้ยงดูสัตว์อีกต่อหนึ่ง ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสีย ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร 

การปล่อยน้ำโดยเฉลี่ยทั่วโลกหรือปริมาณน้ำทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อผลิตเนื้อวัวหนึ่งปอนด์คือน้ำ 1,800 แกลลอน เนื้อหมูหนึ่งปอนด์ใช้น้ำ 718 แกลลอน จากการเปรียบเทียบ ถั่วเหลือง 206 แกลลอน ข้าวโพด 108 แกลลอน

อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย10 อันดับแรกของโลก คิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเข้าชั้นบรรยากาศต่อการผลิตวัตถุดิบ 1 กก. 

  • เนื้อวัว (โคเนื้อ) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 99.48 กก.
  • ดาร์กช็อกโกแลต ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 46.65 กก.
  • เนื้อแกะ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 39.72 กก.
  • เนื้อวัว (โคนม) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 33.3 กก.
  • กาแฟ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28.53 กก.
  • กุ้ง  ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 26.87 กก.
  • ชีส ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23.88 กก.
  • ปลา ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 13.63 กก.
  • เนื้อหมู ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.31 กก.
  • เนื้อไก่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 9.87 กก.