การประชุม COP26 ไทยได้เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน ครั้งนั้นมีเป้าหมายจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน พร้อมกับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือชดเชยด้วยการกำจัดก๊าซเท่ากับจำนวนที่ปล่อยออกไป ซึ่งการจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ต้องได้รับแนวทางนโยบายจากภาครัฐ และการปฏิบัติของทุกภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือ “ภาคเอกชน”
“คาร์บอนเครดิต” จึงเกิดขึ้น เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจเพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน เนื่องจากการลดภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะกระทบต่อธุรกิจไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
“เจมส์ แอนดริว มอร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE อธิบายความสำคัญของคาร์บอนเครดิตแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ประเทศที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น หากองค์กรใดดำเนินการโครงการลดหรือกักเก็บก๊าซก๊าซเรือนกระจกสามารถขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตเพื่อนำไปขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่น ๆ ขณะเดียวกันหากองค์กรใดที่ต้องการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิตไปชดเชยได้
“เมื่อรัฐตั้งเป้า เอกชนก็ต้องตั้งเป้าเหมือนกัน เพราะจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ปัจจุบันมีกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น มาตรการ CBAM และ ภาษีคาร์บอน และทั้งโลกให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหมือนเวลาเราเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต คนจะเริ่มดูแล้วผลิตภัณฑ์ไหนปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงเรื่องโลกร้อนแล้ว”
“คาร์บอนเครดิต” นอกจากเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพันธกิจ Cabon Neutral ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำลังกลายเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างความยืดหยุ่นให้ผู้ประกอบการในการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ในตลาดโลก
“แนวโน้มราคาและความต้องการคาร์บอนเครดิตเราต้องการ 150 ล้านตันต่อปี บริษัทที่อยู่ใน set 50 ก็มีการปล่อยหรือความต้องการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.6 ล้านตันต่อไป ทั้งๆ ที่การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตในไทยมีเพียงแค่ 14 ล้านตันต่อไป ดังนั้น ในส่วนตลาดภาคสมัครใจ มีรายงานว่าภายในปี 2030 ซึ่งเป็นเป้าหมายแรก จะมีการเติบโตในตลาดนี้ในด้านของดีมานต์ประมาณ 50 เท่า และก็ ประมาณ 100 เท่า ภายในปี 2050 ดังนั้นการเติบโตค่อนข้างสูง ส่วนราคาตั้งแต่ 2018-2022 ขึ้นมาที่ 400 %”
แม้จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี แต่ก็ท้าทายศักยภาพขององค์กรไม่น้อย ทั้งประสบการณ์ ความเชียวชาญ ความรู้ เงินทุน และการสนับสนุนจากภาครัฐ
“องค์กรมีความท้าทายคือ ขนาดองค์กรเป็นอย่างไร ถ้าเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศอาจไม่ท้าทายเท่าบริษัทขนาดกลาง เล็ก ต่อมาคือประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ความรู้ บริษัทชั้นทรัพยากรพอที่จะตั้งทีม หรือจ้างบริษัทเข้ามาวางแผนโรดแมป แต่บริษัทขนาดกลางอาจจะเข้าไม่ถึง การวิธีการคำนวนคาร์บอนฟุต พรินต์ขององค์กร การตั้งเป้า วางโรดแมป ต้นทุน เครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายค่อนข้างซับซ้อน ทั้งยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องจ้างตัวกลาง หรือ Third Party ซึ่งในไทยมีแต่ไม่พอ และต้องพัฒนาบุคลากร ให้มีความสามารถ รวมทั้งเรื่องสินเชื่อถึงธนาคารจะเข้ามาช่วยก็ต้องมาดูคุณสมบัติขององค์กรในการที่จะเข้าถึงสินเชื่อได้หรือไม่ แม้แต่เรื่องนโยบาย กฎหมาย ณ วันนี้ ยังซับซ้อน”
บริษัทเวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE ถือเป็นภาคเอกชนที่เข้ามาสู่ตลาดผู้ให้บริการด้านคาร์บอนเครดิตครบวงจร ให้คำปรึกษาทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นผู้พัฒนาโครงการและจัดหาคาร์บอน เครดิต จากพลังงานสะอาดและพลังงานอื่นๆ
ธุรกิจใหม่ของบริษัท คือ Wave BCG ถือเป็น S-curve ใหม่ของบริษัท ให้บริการด้านการเป็นที่ปรึกษาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย Carbon Credits จัดหาและบริหาร Climate Project สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท สนับสนุนการขึ้นทะเบียน Carbon Credits การตรวจสอบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท การจัดหา Carbon Credit ให้องค์กรในไทยและ SEA รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้าน Climate Tech เเละ Sustainability Tech
วางเป้าหมายเป็นผู้นำการถือครองคาร์บอนเครดิตในปริมาณที่สูงที่สุดอันดับ 3 และวางเป้าสูงสุดในประเทศไทย และในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต ภายในปี 2566 คาดว่าจะถือครองใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนหรือ RECs(Renewable Energy Certificate) เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้าน RECs และภายในปี 66 มีแผนถือครองถึง 15 ล้าน RECs ในปี 2569
“Wave BCG จุดเด่นคือ REC เราศึกษาตลาดมาอย่างดี มั่นใจว่าเราจะเป็นท็อป 3 ที่ถือครองในประเทศ และปี 5 เราต้องการที่จะเป็นแวร์เฮาส์ที่ใหญ่ที่สุดในเซ้าท์อีส เอเซีย ส่วนกลยุทธ์ปีนี้ในส่วนของ Wave โฟกัสที่ 2 เป้าหมายหลัก คือ เป็นแวร์เฮาส์ที่ใหญ่ที่สุดในเซ้าท์อีส เอเซีย เพราะเริ่มมีดีมานด์เยอะ และไม่ใช่แค่ปีนี้ แต่เป็นปีหน้าและปีต่อๆไป พร้อมกับการเป็นผู้นำ เรื่องการเกษตรยั่งยืนชาวนา ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรยั่งยืน”
ผ่านมา WAVE BCG มีการพัฒนาโครงการต้นแบบการปลูกข้าวจำนวน 20 ไร่ ที่จังหวัด ปทุมธานี และมีแผนที่จะขยายถึง 10,000 ไร่ ภายในปีหน้าที่จังหวัดสุโขทัย โดย Spiro Carbon เป็นส่วนช่วยในด้านการรายงานผล ในการช่วยเหลือการเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว เพื่อผลักดันไปสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนเป็นศูนย์การปลูกข้าว
“การปลูกข้าวในปัจจุบันจะเป็นการปลูกแบบแช่น้ำในนา ซึ่งทำให้ต้นข้าวเน่า เกิดก๊าซมีเทนสู่อากาศ ก๊าซชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคาร์บอนอยู่ที่ประมาณ 30 เท่า เรามีการนำร่องปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งจะได้ผลผลิตที่เป็นข้าวคาร์บอนต่ำ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 2 พันไร่ ที่กำลังจะมีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ทั้งที่สุพรรณบุรี สามารถลดคาร์บอนได้เยอะ ขายได้และส่วนหนึ่งก็เป็นรายได้ให้ชาวนา ราคาอยู่ที่ 300 กว่าบาทต่อไร่”
ไม่เพียงเท่านี้เพื่อการจัดหาคาร์บอนเครดิต สำหรับการชดเชย ให้ผู้จัดงานบรรลุเป้าหมายของการเป็น Carbon Neutral Event จึงได้เริ่มจาก การจัดงานหรือ Event ในประเทศ งาน Expo งานคอนเสิร์ต ที่จะช่วยให้คำแนะนำการจัดงานให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) เช่น “สยามสงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2023”
“ผู้จัดงานเทศกาลดนตรี งานคอนเสิร์ต เริ่มมีมาตรการให้ผู้เข้าร่วมงานปฏิบัติตาม รวมไปถึงศิลปินบางวงเลือกจะทำการแสดงในงานจัดในรูปแบบของ Carbon Neutral เท่านั้น”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง