นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้ร่วมเดินทางไปโรดโชว์กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทย
โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมไทยในการรองรับ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนจีน ซึ่งได้รับความความสนใจอย่างมากจากผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีนที่ต้องการขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย
ทั้งนี้ ได้มีการขอรับทราบแนวทางการส่งเสริมการลงทุน และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่มีอยู่ในประเทศไทย และที่จะติดตามเข้ามาลงทุน
นอกจากนี้ ยังได้ไปชมเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองหม่าอันซาน (Ma’anshan Economic and Technological Development Zone) ที่เมืองหม่าอันซาน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีนพื้นที่ 128 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม 176 แห่ง มี 3 อุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การผลิตวัสดุอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ อุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานทางเลือก
อย่างไรก็ดี กนอ. ได้เข้าเยี่ยมชมบริษัทชั้นนำที่มีความโดดเด่นด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต 4 แห่ง ได้แก่
นายวีริศ กล่าวอีกว่า กนอ.ยังได้เข้าพบนาย ซาง เชี่ยงเฉียน (Shan Xiangqian) รองผู้ว่าการมณฑลอานฮุย และนายเกอ บิน (Ge Bin) นายกเทศมนตรีเมืองหม่าอันซาน และคณะ เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน
และการจัดตั้งคณะทำงานร่วม 2 ประเทศ เพื่อสานต่อการดำเนินงานตาม MOU ระหว่าง กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กับกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่มีการลงนามในคราวการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ผ่านมา
“ได้เห็นการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองหม่าอันซาน เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหม่าอันซาน (Ma’anshan Economic and Technological) ที่ทำได้อย่างดี และตรงกับเป้าหมายของ กนอ.ที่เรากำลังดำเนินการอยู่ คือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate)"
อย่างไรก็ตาม หากมีนักลงทุนจากจีน หรือ จากเมืองหม่าอันซาน ต้องการขยายการลงทุนมายังประเทศไทย โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือตาม MOU ดังกล่าว กนอ.มีพื้นที่ที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับรองรับ โดยสามารถดำเนินงานร่วมกันได้ใน 3 ทางเลือกที่ กนอ.ได้ทำการศึกษาไว้
สำหรับ 3 ทางเลือกเพื่อการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง